วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ร่างกายของเรา

13

การสร้างน้ำปัสสาวะ

การสร้างน้ำปัสสาวะ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้

  1. กระบวนการกรอง เกิดขึ้นที่โกลเมอรูลัส ทำให้สารที่มีโมเลกุลเล็กซึมผ่านมาพร้อมกับน้ำ เช่น แร่ธาตุ กลูโคส ยูเรีย กรดยูริก ปกติไตจะกรองเลือดได้ประมาณ 180 ลิตร/วันและถูกดูดกลับ เหลือออกเป็นปัสสาวะประมาณ 1 cc/นาที หรือประมาณ 1,440 cc/วัน
  2. กระบวนการดูดกลับเกิดขึ้นที่ท่อไตส่วนต้น และมากที่สุดที่ Loop of Henle สารที่ดูดกลับหมดได้แก่ กลูโคส วิตามิน C แร่ธาตุบางชนิด สารที่ดูดกลับหมดได้แก่ น้ำ เกลือ สารที่ไม่ดูดกลับเลยคือ โปรตีนอินนูลิน(Innulin) สารที่มีการดูดกลับเป็นส่วนน้อย ได้แก่ ยูเรีย ฟอสเฟต ซัลเฟต ศูนย์ควบคุมการดูดกลับมาจากฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองส่วนท้ายมากับกระแสเลือดชื่อ แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (Antidiuretic Hormone; ADH) โดย ADH จะกระตุ้นให้รูระหว่างเซลล์ของท่อไตขยายขึ้นให้สารที่มีโมเลกุลเล็กกลับนำไปใช้ในร่างกายใหม่ ถ้าขาด ADH จะไม่เกิดกระบวนการดูดกลับคือจะปัสสาวะบ่อย จะเกิดโรค เบาจืด
  3. กระบวนการหลั่งสารเพื่อให้เกิดการดูดกลับสมบูรณ์ เกิดขึ้นที่รอบๆ หน่วยไต สร้างสารต่าง ๆ เติมเข้าไปในพลาสมาที่กรองได้ เพื่อปรับ pH และความเข้มข้นของปัสสาวะ สารเหล่านี้ได้แก่ K+ (โปแตสเซียมอิออน), H+ (ไฮโดรเจนอิออน), กรดยูริก ทำหน้าที่ปรับความสมดุลในน้ำปัสสาวะ

 

ลักษณะเนื้อเยื่อบางส่วนในไต ท่อไตประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบเคลื่อนตัวแบบเพอริสตัลซิส เพื่อบีบตัวส่งน้ำปัสสาวะตกลงสู่ท่อปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบอยู่หลังกระดูกหัวเหน่า อยู่ด้านหลังมดลูกมีหน้าที่สะสมน้ำปัสสาวะ ความจุประมาณ 150-500 cc เมื่อกระเพาะปัสสาวะตึง ก็จะบีบตัวให้ปวดปัสสาวะ โดยตรงโคลนของท่อปัสสาวะจะมีหูรูดโดยขึ้นอยู่กับอำนาจของาจิตใจ ปัสสาวะจะถูกขับออกทางท่อปัสสาวะ ในหญิงยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ชายประมาณ 8 นิ้ว 1 วันจะขับถ่ายประมาณ 500-1,500 cc

การกำจัดของเสียที่ผิวหนัง ผิวหนังประกอบด้วย cell 2 ชั้นคือ- cell ผนังกำพร้า cell หนังแท้และแต่ถ้าเกิดจากขบวนการกำจัดของเสียจะมีชั้นพื้นฐานคือ ชั้นของไขมัน ดังนี้

  1. หนังกำพร้า ประกอบด้วยเยื่อบุผิวที่ตามแล้วเรียงเป็นชั้น ประกอบด้วยสาร เมลานิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเม็ดสี หรือรงควัตถุ(Pigment) ทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย
  2. หนังแท้ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ cell ร่างกาย ยืดหยุ่นได้ดี ประกอบด้วยต่อมเหงื่อ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เส้นเลือดฝอย
  3. ชั้นเนื้อเยื่อพื้นฐาน (ชั้นไขมัน) เป็นชั้นที่ประกอบด้วย cell ไขมัน หรือเรียกว่า Adipose cell ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น

การกำจัดของเสียเกิดขึ้นที่ชั้นหนังแท้ และชั้นไขมัน โดยปล่อยมาตามท่อเล็ก ๆ เรียกว่า “รูขุมขน” ของเหลวที่ขับออกมาเรียกว่า “เหงื่อ” ประกอบด้วยน้ำ แร่ธาตุ ยูเรีย กลิ่นตัว เหงื่อจะระเหยออกจากร่างกายโดยพาเอาความร้อนออกไปด้วย ทำให้ร่างกายรู้สึกเย็น ชนิดของต่อมเหงื่อ ต่อมเหงื่อถูกควบคุมการทำงานโดยการทำงานของศูนย์ควบาคุมอุณหภูมิในสมอง แบ่งเป็น 2 ชนิด

- ต่อมเหงื่อเล็ก ๆ อยู่บริเวณผิวหนังทั่วร่างกาย ยกเว้นริมฝีปาก อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน
- ต่อมเหงื่อใหญ่ เช่นรักแร้ รอบๆ สะดือ รอบๆ หัวนม จมูก แผ่นหลัง อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน

ส่วนประกอบของเหงื่อ

1. น้ำ 99 %
2. แร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ เกลือ ยูเรีย น้ำตาล กรดอะมิโนบางชนิด สารทำให้เกิดกลิ่น ประมาณอีก 1%

การกำจัดของเสียที่ลำไส้ใหญ่
จะมีการบีบตัวเพื่อให้อาหารที่ไม่มีประโยชน์แล้ว ซึ่งเรียกว่า อุจจาระ ออกสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก

เมื่ออุจจาระตกอยู่ในลำไส้ใหญ่นานวัน น้ำในอุจจาระจะถูกดูดซึมกลับไป ทำให้อุจจาระแข็ง เกิดความลำบากในการถ่าย อาการนี้เรียกว่า ท้องผูก

ระบบประสาท

ทำหน้าควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย เช่น การหายใจ การตอบสนอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเจริญ ฯลฯ ประกอบ ด้วย สมอง ไขสันหลัง และ เส้นประสาท

-------------   อ่านต่อ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย