ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ไทแสก

7

พิธีผู้ข้อมือ “กวนจ้ำ”

เมื่อได้เวลาพอสมควรแล้ว ผู้เฒ่าก็จะเรียกชาวไทแสกทุก ๆ คนมาร่วมพิธี ผูกข้อมือกวนจ้ำเพื่อเป็นสิริมงคล ให้ชีวิตรุ่งเรือง เมื่อผูกข้อมือให้พร “กวนจ้ำ” ผู้ใหญ่ก็ผูกข้อมือให้ผู้น้อย ผู้น้อยก็ผูกข้อมือให้ผู้ใหญ่ พิธีผูกข้อมือนี้เพื่อเป็นสิริมงคลให้ชีวิตรุ่งเรือง เป็นการแสดงความเคารพผู้อาวุโส ผู้อายุน้อยก็จะรับพรที่เป็นคำสั่งสอนจากผู้ใหญ่ส่วนผู้น้อยผูกข้อมือให้ผู้ใหญ่โดยการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปกปักรักษา คุ้มครอง ให้ผู้ใหญ่มีอายุยืนนาน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร แก่ลูกหลาน ๆ ตลอดไป

พิธีผูกข้อมือผู้สูงอายุ

ผู้นำหมู่บ้าน ปัจจุบันคือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านก็จะประชุมนัดหมายชาวไทแสกทุก ๆ คนร่วมขบวนทำพิธีผูกข้อมือผู้สูงอายุที่ไม่ได้มาร่วม “พิธีกินเตดเดน” ในวันนี้เมื่อนัดหมายเสร็จแล้ว ชาวไทแสกทุก ๆคน จะช่วยกันเก็บกวาดสัมภาระต่าง ๆ ให้สะอาดเรียบร้อยให้อยู่ในสภาพปกติ ก่อนแยกย้ายกันไปร่วมขบวน ชาวไทแสก ๆ คนจะเข้าไปกราบไหว้ลา “โองมู้”

เมื่อรวมกันเป็นรูปขบวนแล้ว ชาวไทแสกจะร่วมกันตีกลอง ร้องรำทำเพลงไปตามหมู่บ้านของชาวไทแสก เพื่อไปทำพิธีผูกข้อมือผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถลุกเดินไปไหนได้ เพื่อเป็นการให้กำลังใจ เป็นการแสดงความเคารพผู้สูงอายุที่มีอายุมาก ๆ ถ้าขบวนผ่านบ้านใคร จะมีผู้มอบสิ่งของแล้วแต่ศรัทธา เช่น เสื้อ ผ้าขาวม้า สิ่งของเครื่องใช้ ขนม นม หรือเงิน เพื่อนำไปมอบให้ผู้สูงอายุที่ไม่ผูกข้อมือเมื่อขบวนผ่านบางครอบครัวก็จะให้เป็นเหล้า เพื่อให้ขบวนครึกครื้นและสนุกสนานไปเรื่อย ๆ ในการรับสิ่งของบริจาค ชาวไทแสกจะมีคณะกรรมทำหน้าที่ และแบ่งแยกสิ่งของที่บริจาค มอบให้ผู้สูงอายุ มากน้อยตามมาตรฐานของบุคคลเพื่อเป็นน้ำใจจากลูกหลานชาวไทแสก เมื่อไปครบทุกครัวเรือนแล้ว คณะกรรมการหมู่บ้านจะแจ้งรายการบริจาค แจ้งรายการที่มอบให้ผู้สูงอายุ โดยการมอบสิ่งของนั้น คณะกรรมการหมู่บ้าน จะนำไปมอบให้ผู้สูงอายุ ในวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 รายรับที่ได้รับจากการบริจาคส่วนหนึ่งมอบเป็นเงินกองกลาง เพื่อนำไปบูรณะสถานที่ “ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้” ต่อไปพีธีกินเตดเดนของชาวไทแสกก็เป็นอันเสร็จพิธี

อีสานเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมมาแต่โบราณ นับพันปีแล้ว โดยประเพณี อันเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนา ที่ยังเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ ถือเป็นประเพณีพิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากแรงศรัทธา พิธีกรรมที่เกิดจากแนวคิดความเชื่อภายในท้องถิ่น “ศาลโองมู้” จึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจเป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาของผุ้คนที่บ้านอาจสามารถ และหมู่บ้านใกล้เคียง พิธี “การบ๊ะ” นี้เป็นความเชื่อที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 แต่เชื่อว่ามีอำนาจเหนืออิทธิ์ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ มนุษย์เราจึงแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นในลักษณะชองการกราบไหว้ บูชา หวงแหน เคารพ ยำเกรง และพักพิงส่วนใหญ่ “โองมู้” สร้างคุณประโยชน์ในแง่ของการปกปักรักษา คุ้มกัน และอำนวยโชคลาภมาสู่มนุษย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนามนุษย์ให้เจริญขึ้นในทางจิตใจ



การทำพิธี “บ๊ะ” ต่อ “โองมู้” นี้เป็นการฝึกให้มีความอดทนสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ตามที่ได้ทำ “พิธีบ๊ะ” เอาไว้เป็นการฝึกให้เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นกำลังใจ กำลังกาย ในการต่อสู้ให้มีพละกำลังที่มุ่งมั่น ปฏิบัติให้ได้ดังคำปฏิญาณ

ผู้สูงอายุ จะแนะนำลูกหลานชาวไทแสกอยู่เสมอว่า ให้เคารพนับถือ “โองมู้” เพราะ “โองมู้” เป็นบรรพบุรษของชาวไทแสก ลูกหลานจะไปศึกษาต่อต่างจังหวัดหรือจะเดินทางไกลหรือจะปฏิบัติในสิ่งใดที่เป็นการเสี่ยงภัย อันตราย ให้ลูกหลานทำพิธีกราบไหว้ หรือมาทำพิธี “บ๊ะ” ต่อ “โองมู้” เป็นการแสดงความสื่อสัตย์กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ จะกระทำการใด ๆ ให้มีสติไม่อยู่ในความประมาทดังคำโบราณของชาวไทแสกที่สอนลูกหลานเสมอว่า

ผู้น้อยให้นับถือผู้ใหญ่
(พัน หลึก แต๊ก เห่อ หนับ ทีอ อุน บิ๊ก)

เป็นบ่าวให้เชื่อฟังเจ้านาย
(พัน ห่อย เห่อ เหยี่ย เจ่า เหยี่ย นาย)

ถ้าอยากสบายใจสบายกายให้มีความซื่อสัตย์
(หมั่น เห่อ สบ่าย จํอ สบำยตรุ่ทัว เห่อมี เจี้ยน ย่อ ตร่าว แซ๊ด)

หมั่นฝึกหมั่นหัดจะได้ร่ำได้รวย
(เสี่ยง ดู๊ เสี่ยง หมั่น จั่ง ได่ มี น๊บ มี แย็น)

จึงมีพีธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในรูปแบบที่ชาวบ้านยึดถือ จึงทำให้เกิดการสร้างระเบียบประเพณีขึ้นมา และสร้างค่านิยมบนพื้นฐานความเชื่อของศาสนา อาชีพและสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดโลกทัศน์ ของชาวบ้าน เมื่อได้กราบไหว้แล้วจะเกิดความสุขกายสบสายใจ ถือเป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่คนในสังคมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา แบบแผนดังกล่าวเป็นสิ่งนำมาซึ่งความพึงพอใจ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม นั่นคือ วัฒนธรรมประเพณีของชาวไทแสก

“พิธีกินเตดเดน” ของชาวไทแสก ก็คงจะให้แนวคิดแก่ท่านผู้สนใจอยู่บ้าง ถ้าต้องการรู้จักชาวไทแสกมากกว่านี้ คณะเราก็ขอเชิญชวนทุก ๆ ท่าน ไปพบไปพูดคุยกับชาวไทแสกได้เลยชาวไทแสกทุก ๆ คนยินดีให้การต้อนรับทุก ๆ ท่านด้วนความจริงใจ โดยเฉพาะถ้าต้องการจะศึกษา “พิธีกินเตดเดน” อย่าลืม ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวไทแสกจะทำพิธีกันทุก ๆ ปี

พิธีบวงสรวง “โองมู้” โดยการแสดงแสกเต้นสาก
ในสมัยก่อนการเต้นสากชองชาวแสก ถือว่าเป็นการละเล่นประจำเฉพาะพิธีบวงสรวง “โองมู้” ในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ชาวแสก เรียกว่า “พิธี-กิน-เตด-เดน” จะมีการแสดง “แสกเต้นสากถวายโองมู้” โดยใช้ไม้สากตีกระทบกันเป็นจังหวะ สากที่ใช้ตีในการเต้นสากก็คือไม้สากที่เป็นสากตำข้าวในใสมัยโบราณ แต่ขนาด ยาวกว่าตรงกลางเรียวเล็ก ไม้รองพื้นสากจะใช้ไม้อะไรรองก่อนก็ได้มีจำนวน 1 คู่ ขอให้มีขนาดเท่ากัน

อ่านหน้าถัดไป >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย