ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

จิตวิทยาพื้นฐาน

ลักษณะของจิตมนุษย์
การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์
ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
สิ่งแวดล้อม (Environment)
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์
หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับ
สาเหตุทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงออก
หลักพื้นฐานของการฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม

สิ่งแวดล้อม

 (Environment)

สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราและทำให้คนเราแตกต่างกัน ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู การคบเพื่อน การสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา ดินฟ้าอากาศ ที่อยู่อาศัยและอาหาร ลำดับการเกิด สื่อมวลชน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนเราแตกต่างกัน ดังนี้

  • สภาวะขณะอยู่ในครรภ์ มีผลต่อบุคลิกภาพมาก เช่น ถ้ามารดาบริโภคอาหารดี มีคุณค่า ถุงมดลูกดีอยู่สภาพสมบูรณ์ มีน้ำหล่อเลี้ยงดี เด็กเจริญเติบโต แข็งแรงดี ถ้ามารดาสุขภาพไม่ดี มีโรคแทรก เด็กจะมีร่างกายและพลานามัยไม่สมบูรณ์โรคบางชนิด เช่น หัดเยอรมันอาจทำให้เด็กพิการได้ แม้แต่ยาชนิดที่มารดารับประทานขณะตั้งครรภ์ก็มีผลต่อเด็ก เช่น ยากแก้แพ้บางชนิด ควินิน ฯลฯ อาจทำให้เด็กพิการได้ แม่ดื่มสุรา-สูบบุหรี่จัด ก็มีผลต่อสุขภาพของเด็ก ถ้าแม่อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด โกรธ กลุ้มใจ วิตกกังวล หวาดกลัว เด็กก็จะได้รับความกระทบกระเทือนด้วย เจตคติที่พ่อแม่มีต่อเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญพ่อแม่ที่อยากมีลูกก็จะชื่นชมตั้งใจเลี้ยงดูเอาใจใส่ทะนุถนอมอย่างดี
  • การเลี้ยงดูของบิดามารดา อาหารดี มีคุณภาพ อนามัยดี บำรุงรักษา ให้สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายได้สัดส่วนไม่เป็นโรคขาดสารอาหารถ้าเด็กได้รับความรักความเข้าใจ ความอบอุ่นจะทำให้เด็กเจริญเติบโตทั้งทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา แต่ถ้าเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป (Over Protection) ก็จะทำให้เด็กช่วยตัวเองไม่ได้ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวมีผลต่อคนในครอบครัวมาก คนชั้นสูงผู้ดีมีฐานะให้ความอบอุ่นและการอบรมศึกษาแก่ลูกได้ต่างกับคนจน
  • ลำดับที่ในการเกิด ทำให้คนเราแตกต่างกันได้หลายอย่าง ลูกคนกลางๆช่วยเหลือตัวเองดี เจริญเติบโตเร็วกว่าลูกคนโต แต่ลูกคนโตมีความรับผิดชอบสูงกว่า ส่วนลูกคนสุดท้องมีความรับผิดชอบไม่ดีนัก ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ เพราะมีคนอื่นคอยเอาอกเอาใจทำทุกอย่างให้

 

  • อาหารการกิน ถ้าขาดสารอาหารร่างกายก็ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร อาจทำให้ต่อมภายในไม่ทำหน้าที่ ร่างกายเจริญเติบโตได้ช้า บางคนเป็นโรคขาดอาหาร เป็นเด็กปัญญาอ่อน บางรายร่างกายอ่อนแอและทำให้จิตใจอ่อนแอไปด้วย คนที่รู้จักกินอาหารดีมีประโยชน์ร่างกายย่อมมีความสมบูรณ์แข็งแรง
  • ประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละคน ประสบการณ์ กับการเรียนรู้ทั้งสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แยกออกจากกันมิได้ ประสบการณ์เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และในเวลาเดียวกันนั้นผลจากการเรียนรู้ทำให้คนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ แต่ต้องอาศัยการจัดประสบการณ์ที่ดีพอจึงจะทำให้คนได้เรียนรู้เป็นผลสำเร็จ แต่ทุกคนไม่ได้รับประสบการณ์ที่เท่าเทียมกัน สิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน จึงมีโอกาสได้เรียนรู้ต่างกัน ฉะนั้นคนเราจึงมีความแตกต่างกัน
  • สภาพทางภูมิศาสตร์ ดินฟ้าอากาศของแต่ละท้องถิ่น ทำให้คนเติบโตและมีอุปนิสัยใจคอการดำเนินชีวิตต่างกัน เช่น คนที่อยู่ในเขตร้อนเหนื่อยง่าย คนในเขตหนาวต้องขยันหมั่นเพียร อดทน คนที่อยู่ในท้องถิ่นที่กันดาร สภาพภูมิศาสตร์เลวร้ายจนเกินความสามารถจะเอาชนะได้มักจะทำให้คนหมดอาลัยเกิดความหดหู่เบื่อหน่าย เกิดความท้อถอยไม่สู้ ถ้าสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยความสมบูรณ์ให้อย่างเต็มที่ ก็มักจะทำให้คนสบายเกินไป ไม่กระตือรือร้น - คิดอ่านสร้างสรรค์สิ่งบำบัดความต้องการนอกเหนือจากที่ธรรมชาติจัดสรรไว้ให้แล้ว อิทธิพลที่ทำให้ท้องถิ่นมี ความกระตือรือร้นมีความคิดสร้างสรรค์ท้าทายใช้สติปัญญาคอสภาพภูมิศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์หรือแห้งแล้งจนเกินไป
  • ระบบของสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ประเพณีของแต่ละท้องถิ่น นาฏศิลป์ประจำชาติ มารยาทในสังคม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การใช้ภาษา ฯลฯ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต แนวความคิดและอุดมคติ ทำให้พฤติกรรมของแต่ละสังคมแตกต่างกัน
  • อุบัติเหตุ ทำให้สมองหรือร่างกาย ได้รับความกระทบกระเทือนกลายเป็นคนปัญญาอ่อน พิการ
  • สื่อมวลชน ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ ฯลฯ มีอิทธิพลต่อเจตคติความสนใจ ความคิด ศีลธรรม ค่านิยม ประสบการณ์ นิสัยใจคอ จริต-กริยา มารยาท ฯลฯ ทำให้เกิดบุคลิกภาพและพฤติกรรมแตกต่างกัน

จิตวิทยา
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยากับผู้นำ
จิตวิทยาการเรียนรู้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย