สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย

สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา
สมัยอยุธยาตอนต้น
สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
สมัยรัตนโกสินทร์
การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คณะราษฎร

สมัยรัตนโกสินทร์

ลักษณะการปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่ใช้อยู่ในสมัยอยุธยาเนื่องจากขณะนั้นเป็นระยะที่ไทยกำลังรวบรวมอาณาจักรขึ้นใหม่ พระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสิน) ทรงมีพระราชภาระในการปราบปรามบรรดาชุมนุมอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังกรุงศรีอยุธยาแตก รูปแบบการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยาคงใช้อยู่เรื่อยมา แม้แต่ในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น เพิ่มมีการปฏิรูปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าการปรับปรุงระเบียบแบบแผนการปกครองในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการวางแนวรากฐานเตรียมพร้อมไว้สำหรับการปฏิรูปมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาอารยธรรมตะวันตก เป็นเหตุให้ได้รับทราบถึงความเจริญก้าวหน้าในหลักการปกครองของตะวันตกและนำมาปรับปรุงในการปกครองของไทย



การที่รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองไปจากเดิมเป็นอย่างมาก เพราะทรงเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะรักษาเอกราชของบ้านเมืองไว้ได้ ในช่วงการขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตกเพราะในขณะนั้นประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงล้วนแต่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกทั้งสิ้น การปรับปรุงการปกครองให้ทันสมัยทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้ว สามารถปกครองดูแลพัฒนาบ้านเมืองเองได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ประเทศชาติมีรายได้ในการทำนุบำรุงบ้านเมืองมากขึ้น ทำให้สายตาของชาวต่างชาติมองประเทศไทยต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ และด้วยการวางวิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกต่างๆ อย่างเหมาะสม ยอมรับว่าชาวยุโรปเป็นชาติที่เจริญ ให้เกียรติและยกย่องพร้อมกับเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติต่างๆ อย่าง เพื่อให้เห็นว่าไทยไม่ใช่ชนชาติป่าเถื่อน เช่น ให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า นอกจากนั้น ยังยอมผ่อนปรนอย่างชาญฉลาด แม้จะเสียผลประโยชน์หรือดินแดนไปบ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย ยังสามารถรักษาส่วนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ประเทศไทยคงความเป็นชาติที่มีเอกราชมาได้ตลอด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย