สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองอเมริกา

ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์

กลุ่มผลประโยชน์ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่

  • กลุ่มเรียกร้องความเท่าเทียมกันของสิทธิสตรี ซึ่งความเคลื่อนไหวจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหย่าร้าง หรือกลุ่มที่เรียกร้องสิทธิของพวกรักร่วมเพศ โดยเรียกร้องให้เลิกต่อต้านกีดกันพวกตน
  • กลุ่มเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการทำแท้ง
  • กลุ่มรณรงค์เพื่อการรักษาและป้องกันสภาพแวดล้อม
  • กลุ่มอนุรักษ์นิยม

คุณลักษณะเฉพาะของกลุ่ม

  • องค์การแรงงาน เป็นองค์กรที่ผู้ใช้แรงงานร่วมกันก่อตั้ง เป็นกลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่ มีอำนาจต่อรองสูง
  • องค์การธุรกิจ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่มีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทางธุรกิจของตน
  • องค์การเกษตร เป็นองค์กรที่พยายามผลักดันให้รัฐบาลประกันราคาที่เป็นธรรมแก่เกษตรกร
  • กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • กลุ่มเรียกร้องความเสมอภาค
  • กลุ่มพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะ
  • สมาคมวิชาชีพ

คณะกรรมการปฏิบัติการทางการเมือง (Political Action Committee –PACs)

เป็นองค์กรที่มีมุ่งเน้นการปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริง คือจะเน้นการปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางกรเมืองที่ต้องการโดยเร็ว และเป็นแหล่งระดมเงินทุนขนาดใหญ่ในการรณรงค์ทางการเมืองในระดับมลรัฐ

กลุ่มผลประโยชน์ระดับท้องถิ่น จะมีบทบาทสำคัญมากกว่ากลุ่มผลประโยชน์ในระดับมลรัฐหรือระดับประเทศ ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์ระดับท้องถิ่นจำแนกได้คือ

  • สมาคม ก่อตั้งเพื่อบริการชุมชน มากกว่าจะเป็นองค์การเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
  • กลุ่มผู้เสียภาษี เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเรียกร้องให้มีอัตราภาษีที่ต่ำลง
  • กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มที่ต้องการความเจริญทางด้านค้าและการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • กลุ่มเพื่อนบ้าน เป็นการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเดียวกันเพื่อต่อต้านโครงการที่จะเปลี่ยนพื้นที่ในเขตที่ตนอยู่อาศัยเป็นแหล่งธุรกิจและมีปัญหาอื่นตามมา

ความสำคัญและประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ต่อการเมืองอเมริกาในอเมริกากลุ่มการเมืองจะมีความสำคัญในหลายๆ ด้าน ได้แก่

  • เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนในทางการเมือง
  • การเป็นตัวแทนในการเรียกร้อง โดยกลุ่มผลประโยชน์จะเป็นตัวแทนในการเรียกร้อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนหรือการคัดค้านนโยบายที่มีผลต่อสังคมส่วนรวม
  • การเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนกับรัฐบาล โดยกลุ่มผลประโยชน์จะเป็นผู้ประสานประโยชน์ให้กับฝ่ายต่างๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับฝ่ายรัฐบาล
  • การตรวจสอบการดำเนินงานของกลุ่มผลประโยชน์อื่นและของรัฐบาล เพื่อให้กลุ่มต่างๆ และรัฐบาลทำงานด้วยความระมัดระวัง

ประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ต่อสังคมพหุนิยม

  • ช่วยประสานประโยชน์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล
  • ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับปัจเจกบุคคล คือ ช่วยให้ความต้องการของปัจเจกบุคคลมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นจากการมีกลุ่ม เพราะกลุ่มเป็นจุดที่จะประสานความร่วมมือของผู้ที่คาดหวังเรื่องเดียวกัน
  • ช่วยลดความขัดแย้ง คือ ประชาชนจะเข้าเป็นสมาชิกหลายกลุ่ม ทำให้สมาชิกเหล่านี้พยายามที่จะหาทางประสานผลประโยชน์และลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกอยู่

ผลประโยชน์ของกลุ่ม มาฮูด ได้อธิบายว่า ผลประโยชน์ของกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะของกลุ่ม ที่เป็นประโยชน์ รูปธรรม และนามธรรมไว้ คือ

ประโยชน์รูปธรรม
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่มจัดตั้งเพื่อจัดหาผลประโยชน์ ความมั่งคั่งร่ำรวยให้กับสมาชิก เช่น กลุ่มธุรกิจการค้า กลุ่มสหภาพแรงงาน เป้าหมายในเรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ ภาษี

ประโยชน์นามธรรม
ผลประโยชน์ที่เป็นทางการ โดยจะเรียกร้องเรื่องสถานภาพส่วนบุคคลและการยอมรับของสังคม และความพึงพอใจส่วนบุคคล

มาฮูด ได้อธิบายถึงผลประโยชน์ที่มีวัตถุประสงค์ต่อคนส่วนรวมที่เป็นประโยชน์รูปธรรม และนามธรรมไว้ คือ

ประโยชน์รูปธรรม
ผลประโยชน์ด้านนโยบาย มุ่งเน้นการกำหนดนโยบาย หรือการบัญญัติกฎหมายเพื่อการอยู่ดี กินดี และการสงบเรียบร้อยทางสังคม เช่น การต่อต้านการสูบบุหรี่ การควบคุมอาวุธ การทำแท้งเสรี

ประโยชน์นามธรรม
ผลประโยชน์เฉพาะเจาะจง เป็นการเรียกร้องเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น การจัดการมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ

บทบาทและกลยุทธ์ในการกดดันทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ วิธีการที่กลุ่มผลประโยชน์ใช้ในการแทรกแซง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ

  1. การเข้าร่วมรณรงค์ในสังคม โดยการเข้ามีส่วนร่วมทำประโยชน์เพื่อสังคม
  2. การล็อบบี้ คือการที่นักล็อบบี้เข้าไปติดต่อกับฝ่ายรัฐบาล โดยการเข้าไปเสนอข้อเรียกร้องกลุ่ม หรือให้คำแนะนำ และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เพื่อขอความร่วมมือจากฝ่ายรัฐบาลให้ออกเสียงสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดนโยบายที่กลุ่มตนต้องการ
    การล็อบบี้โดยตรง โดยการให้นักล็อบบี้เข้าไปติดต่อกับสมาขิกสภานิติบัญญัติโดยตรง
    การล็อบบี้ทางอ้อม โดยนักล็อบบี้จะทำงานผ่านตัวกลางคือ นักการเมือง ให้นักการเมืองเป็นผู้วิ่งเต้นช่วยเจรจากับสมาชิกสภานิติบัญญัติแทน
    การล็อบบี้จการประชาชนโดยการรณรงค์ให้เขียนจดหมายเสนอข้อเรียกร้องและการประท้วงซึ่งวิธีการล็อบบี้จากประชาชน มักจะใช้ร่วมกับการล็อบบี้โดยตรง
    การรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสาร เป็นการแจ้งข้อมูลต่างๆ ให้สาธารณะชนทราบเพื่อจูงใจหรือให้สนับสนุนกลุ่มตน ซึ่งการใช้ประชาสัมพันธ์ การพบปะ การแจกใบปลิว การโฆษณา การสนับสนุน การวิจัย การเสนอข้อมูลสถิติ
    การร่วมมือระหว่างกลุ่ม ใช้ในบางโอกาส
  3. การติดสินบน
  4. การให้เงินสนับสนุน ในทางกฎหมายกลุ่มผลประโยชน์สามารภบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งโดยมิได้เรียกร้องข้อผูกมัดใดๆ แต่เป็นการสร้างความผูกพันธ์ให้เกื้อกูลกันต่อไป
  5. การดำเนินงานของคณะกรรมการการปฏิบัติงานทางการเมือง

การดำเนินงานของกลุ่มผลประโยชน์ที่ใช่ในการผลักดันข้อเรียกร้องของตน

การดำเนินงานของกลุ่มผลประโยชน์ที่ใช้ในการกดดันรัฐบาล ขึ้นกับวัตถุประสงค์ ความร่วมใจของสมาชิก สถานะทางการเงิน ชื่อเสียงการยอมรับนับถือของกลุ่ม คุณภาพของผู้นำ ความเกี่ยวพันกับนักการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอื่น ยิ่งภาครัฐมีความซับซ้อนทันสมัยมากเพียงใด กลุ่มต้องใช้กลยุทธ์ที่ต้องอาศัยความชำนาญมาก

1. การเข้าแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ

โดยการแสวงหาสมาชิกสภานิติบัญญัติทที่สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับตนให้นักล็อบบี้เข้าไปติดต่อ ให้นักล็อบบี้เสนอข้อเรียกร้องหรือคำแนะนำ

2. การเข้าแทรกแซงฝ่ายบริหาร

ซึ่งฝ่ายนี้จะเป็นฝ่ายที่ยื่นข้อเสนอนโยบายและแผนการใช้จ่ายเงินเข้าสภา

3. การเข้าแทรกแซงฝ่ายตุลาการ

เนื่องจากฝ่ายตุลาการเป็นฝ่ายที่วินิจฉัยให้เป็นไปตามกฎหมายและต้องคงไว้ซึ่งความเป็นกลาง การตัดสินใจต่างๆ ต้องปราศจากความลำเอียง กลุ่มผลประโยชน์จะเข้าแทรกแซงในรูปแบบที่เรียกว่า “Friend of the court” โดยการเข้าผลักดันผ่านวารสารสิ่งพิมพ์ทีเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย ไม่ว่าจะเข้าแทรกแซงกลุ่มใด ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ

  • ต้องการมีโอกาสเสนอความต้องการของกลุ่ม
  • ต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
  • ต้องการรับรู้ข่าวสารของแต่ละกลุ่ม และต้องการรู้ว่าใครเป็นมิตร เป็นศัตรู และเป็นกลาง
  • ต้องการให้สมาชิกของฝ่ายนั้นออกเสียงสนับสนุนนโยบายที่ตนเรียกร้อง

การปฏิวัติในสหรัฐอเมริกา
การเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกาในฐานะอาณานิคม
สถาบันการเมืองและสถาบันทางสังคมของชาวอาณานิคม
แนวความคิดทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญ
หลักการรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายบริหารถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ
ระบบสหพันธรัฐ
สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันบริหาร
สถาบันตุลาการ
กลุ่มผลประโยชน์
หน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัฒนธรรมทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมืองของอเมริกา
ระบบราชการ
ความสัมพันธ์ของระบบราชการกับระบบการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย