สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองอเมริกา

วัฒนธรรมทางการเมือง

 (Political Culture)

วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง แบบแผนพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อระบบการเมืองและองค์ประกอบต่างๆ ทางการเมือง ซึ่งเป็นผลมาจากระบบความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติของบุคคลที่ได้รับการปลูกฝัง อบรม และถ่ายทอดสืบต่อกันมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

วัฒนธรรมทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งในการศึกษาระบบการเมืองและกระบวนการทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ

ประเภทของวัฒนธรรมทางการเมือง แบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ (Parochial Political Culture) เป็นวัฒรธรรมทางการเมืองของบุคคลที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ไม่รับรู้การปฏิบัติงานขององค์กรทางการเมือง (แสดงถึงการที่ประชาชนมีสำนึกทางการเมืองน้อยขาดการมีส่วนร่วม) พบในสังคมที่ล้าหลัง
  2. วัฒนธรรทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subjective Political Culture) เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลที่ยอมรับอำนาจของรัฐ แต่ไม่สนใจเข้าร่วมการเมือง มักปรากฏในสังคมที่มีพัฒนาการก้าวหน้า
  3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participative Political Culture) เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลที่สนใจการเมือง ในใจเข้าร่วมทางการเมือง มักปรากฏในสังคมที่มีระดับการพัฒนาทางการเมืองสูง

ในปัจจุบันวัฒนธรรมทางการเมืองมีลักษณะผสมผสานมี 3 ลักษณะคือ

  1. วัฒนธรรมทางการเมืองมีลักษณะแบบคับแคบผสมแบบไพร่ฟ้า ประชาชนยอมรับอำนาจ รัฐบาล แต่ไม่สนใจเข้าร่วมทางการเมือง
  2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบผสมการมีส่วนร่วม มักปรากฏในสังคมหลายเชื้อชาติ
  3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมการมีส่วนร่วม เช่น ในสังคมไทย

ความสำคัญของวัฒนธรรมทางการเมือง

  • เป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความชอบธรรมทางการเมือง ให้กับระบบการเมืองไม่ว่าระบบการเมืองนั้นจะมีลักษณะเป็นแบบเผด็จการ หรือประชาธิปไตย ซึ่งจะทำให้ระบบการเมืองนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้อย่างราบรื่น
  • เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นหรือริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น เป็นวัฒนธรรมทางการเองของชนชั้นผู้นำที่เห็นว่าระบบการเมืองของสังคมที่ตนอยู่ล้าหลัง ต้องเปลี่ยนแปลง

กระบวนการหล่อหลอมวัฒนธรรมทางการเมือง

รากฐานทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายประการที่ช่วยในการสั่งสมให้ชาวอเมริกามีความรู้สึก ทัศนคติ ค่านิยมต่อระบบการเมืองของประเทศโดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ สังคมและเศรษฐกิจ

เสรีภาพ เป็นปัจจัยหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเป็นพื้นฐานของการก่อตั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสรีภาพในทัศนะของชาวอเมริกาสามารถจำแนกได้ 3 ประการคือ

  1. เสรีภาพในด้านโอกาสซึ่งสัมพันธ์กับความคิดในเรื่องความเท่าเทียมกัน
  2. เสรีภาพในการกระทำเหมือนผู้อื่น โดยเน้นเสรีภาพในการบริโภค
  3. เสรีภาพในการต่อต้านรัฐบาล ในกรณีที่ประชาชนถูกข่มเหง

ความเสมอภาค หมายถึงความเท่าเทียมกันในโอกาสเป็นสำคัญ โดนเชื่อว่าความเสมอภาคในโอกาสจะเป็นตัวเลื่อนฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม

ปฏิบัติการนิยม หมายถึง การให้ความสนใจในเรื่องการปฏิบัติ โดยเน้นประสิทธิภาพและประโยชน์เฉพาะหน้า คือ รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยความสามารถของตนเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ความเป็นปัจเจกชน คือเป็นเรื่องของการเคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล

ความเป็นประชาธิปไตย

อเมริกาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยยึดหลักสำคัญคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน บุคคลมีความเสมอภาค มีสิทธิและหน้าที่และเสรีภาพทางการเมือง ชาวอเมริกันจึงมีทัศนะคติและความเชื่อสอดคล้องกับหลักสำคัญการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังปรากฏในคำประกาศอิสระภาพ ในปี ค.ศ. 1776 ดังนี้

  • ความเสมอภาคทางการเมือง
  • การสนองความต้องการของประชาชน
  • เสรีภาพของปัจเจกชน

รัฐบาลต้องมีอำนาจหน้าที่จำกัด เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ของรัฐบาลได้เท่านั้น รัฐบาลไม่ควรมีอำนาจมากจนกระทบกระเทือนถึงสิทธิหน้าที่ของเมือง ซึ่งกลไกใหญ่ที่จะทำให้รัฐบาลมีอำนาจจำกัดจึงถูกกำหนดขึ้นได้แก่

  • หลักพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วยรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ โดยรัฐธรรมนูญจะกำหนดหน้าที่ของแต่ละฝ่ายไว้
  • หลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย
  • หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอำนาจ
  • หลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน

การปฏิวัติในสหรัฐอเมริกา
การเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกาในฐานะอาณานิคม
สถาบันการเมืองและสถาบันทางสังคมของชาวอาณานิคม
แนวความคิดทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา
รัฐธรรมนูญ
หลักการรัฐธรรมนูญ
ฝ่ายบริหารถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ
ระบบสหพันธรัฐ
สถาบันนิติบัญญัติ
สถาบันบริหาร
สถาบันตุลาการ
กลุ่มผลประโยชน์
หน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัฒนธรรมทางการเมือง
อุดมการณ์ทางการเมืองของอเมริกา
ระบบราชการ
ความสัมพันธ์ของระบบราชการกับระบบการเมือง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย