ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

จังหวัดชายแดนภาคใต้สมัยอยุธยา

การปกครองของสยามต่อปัตตานีและหัวเมืองประเทศราชฝ่ายใต้ในสมัยอยุธยากล่าวโดย ทั่วไปแล้วเป็นการปกครองอยู่ห่างๆมิได้เข้าไปแทรกแซงในกิจการของเมืองเหล่านั้นเลย ทั้งนี้เนื่องจาก หัวเมืองเหล่านั้นอยู่ห่างไกลจากกรุงศรีอยุธยา การคมนาคมไม่สะดวก อีกทั้งชาวเมืองก็ไม่ชอบ ให้รัฐบาลสยามเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิดหัวเมืองมลายูต่างก็มีเสรีภาพในการปกครองและการบริหารงาน ในทุกด้าน รวมทั้งด้านกฎหมาย ประเพณีศาสนา ในฐานะหัวเมืองประเทศราชเมืองมลายูเหล่านั้น ต้องส่งเครื่องบรรณาการ ซึ่งชาวมลายูเรียกว่า “บุหงามัส” หรือดอกไม้เงินดอกไม้ทองทุก ๆ 3 ปี ทั้งเวลาที่กรุงศรีอยุธยามีศึกสงครามจะต้องจัดส่งกำลังคน ศัตราวุธและเสบียงอาหารไปช่วยเหลือ

ในบันทึกคำให้การของชาวจีนที่เป็นลูกเรือปัตตานี ฉบับลงวันที่ 23 เดือน 6 พ.ศ.2233 (ค.ศ. 1690) กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปัตตานีกับสยามสมัยอยุธยา หลังจากปัตตานีเป็น อิสระจากมัชปาหิตและมะละกา ข้อความตอนหนึ่ง ระบุว่า

“ปัตตานี ซึ่งเดิมเป็นของชวา นั้น ได้กลายเป็นประเทศราชของอยุธยาและส่งเครื่องราช บรรณาการให้อยุธยาเป็นเวลาช้านานแล้ว ประเทศนี้มีกษัตริย์เป็นสตรีมาแต่โบราณกาล มีดินแดน กว้างใหญ่บริเวณพระราชวังมีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก”

ในบันทึกเรื่องประวัติมณฑลปัตตานี ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัตตานีกับสยาม สมัยอยุธยาในลักษณะของเมืองประเทศราชที่ขึ้นต่อสยาม ดังที่ปรากฏในข้อความตอนหนึ่งว่า

“เจ้าเมืองปัตตานีดำริให้สร้างเมืองแห่งอื่น ๆ ให้เป็นเมืองขึ้นของปัตตานี จึงได้ไปจัดสร้าง เมืองประเสมัชหรือเมืองทรายทอง เนื่องจากได้ไปพบสถานที่ริมทะเลแห่งนั้นมีทรายสีแดงสุกใส งามเหมือนสีทองคำ เมื่อความทราบถึงเจ้าเมืองไทรบุรี จึงทรงมีหนังสือตักเตือนมาว่าชื่อเมือง ทรายทองไปพ้องกับเมืองของไทยที่เป็นราชธานีอยู่ในเวลานั้นจึงไม่เป็นการสมควร ถ้าพระเจ้ากรุงไทย ได้ทรงทราบก็จะเป็นที่ขัดเคืองว่าไม่เคารพนับถือ และตั้งแต่ครองเมืองปัตตานีมาก็ยังหาได้แต่ง เครื่องราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองนำเข้าไปยังเมืองไทรบุรีเพื่อส่งเข้าไปยังกรุงไทยไม่ เพื่อขอความคุ้มครองป้องกันเมืองปัตตานีที่ได้สร้างขึ้นใหม่เป็นสุขสืบไป ตามคำสั่งที่บิดาเราสั่งไว้ ครั้งเมื่อเจ้าเมืองปัตตานีได้ทราบจากหนังสือของเข้าเมืองไทรบุรีจึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ เป็นชื่อเมือง “กะลันตัน” แล้วก็ได้จัดส่งเครื่องบรรณาการดอกไม้ทองดอกไม้เงิน นำไปยังเมือง ไทรบุรีเพื่อนำส่งถวายพระเจ้ากรุงไทย ขอเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกับกรุงไทยต่อไป โดยจัดส่ง 3 ปีต่อครั้งเสมอมามิได้ขาด”

<<< ย้อนกลับ || อ่านต่อหน้า 3 >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย