ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม

ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ (Structural – Functional Theory)
ทฤษฎีการขัดแย้ง (Conflict Theory)
ทฤษฎีปริวรรตนิยม (Exchange Theory)
ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology)
สังคมวิทยากับการศึกษา (Sociology of Education)

ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์

(Symbolic Interactionism)

ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism) เป็นทฤษฎีหลักอีกทฤษฎีหนึ่งของสังคมวิทยา ทฤษฎีนี้เริ่มด้วยความคิดเรื่องการกระทำระหว่างกัน (Interactionism) และสัญลักษณ์ (Symbol) ซึ่งเป็นหัวใจแล้วจึงขยายวงออกไปถึงมนุษย์แต่ละคน ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมและสภาพของสังคมมนุษย์ ทฤษฎีนี้นับเป็นทฤษฎีประเภทจุลภาค เพราะ ให้ความสำคัญต่อมนุษย์แต่ละคน ทฤษฎีนี้เข้ามาช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ (จิตใจตัวตน หรืออัตตา บุคลิกภาพ) และสังคมครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น

การกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์และการกระทำระหว่างกันทางสังคม

สิ่งที่ควรทำความเข้าใจเบื้องต้น คือ การกระทำระหว่างกันทางสังคมและการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ การกระทำระหว่างกันทางสังคม (Social Interaction) หมายถึง การกระทำของบุคคลที่มีผลอย่างหนึ่งต่อความคิดหรือการกระทำของบุคคลอีกคนหนึ่งไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การโฆษณาสินค้าในโทรทัศน์ ดังนั้นการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism)

นอกจากนั้น นักสังคมวิทยายังได้แบ่งแยกการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ ออกจากการกระทำระหว่างกันทางพฤติกรรม (Behavioral Interactionism) โดยการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์มีการถ่ายทอดความคิดด้วจย ส่วนการระทำระหว่างกันทางพฤติกรรมไม่มีการถ่ายทอดความคิด การเข้าใจกันระหว่างคู่สัมพันธ์จะอาศัยพฤติกรรมที่แสดง (Overt Behaviors) เท่านั้น การกระทำระหว่างกันทางพฤติกรรมเป็นการกระทำระหว่างกันของสัตว์โลกโดยทั่วไป ในขณะที่การกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ เป็นของมนุษย์แต่สำหรับมนุษย์จะใช้การกระทำระหว่างกันทั้งสองอย่างผสมกันในการเข้าใจกัน คือ อาศัยพฤติกรรมที่แสดงออกเป็นสื่อในการรู้ความหมายของคู่สัมพันธ์ เนื่องจากการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ต้องมีการสื่อความคิดกันเช่นนี้ จึงทำให้นักสังคมวิทยาใช้คำนี้กับคำว่า การสื่อสาร (Communications) แทนกันอยู่เสมอ ถือว่ามีความหมายเหมือนกัน ซึ่งบางทีก่อให้เกิดปัญหาได้เหมือนกัน เพราะความหมายของการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ เช่น เมื่อใช้คำว่าการสื่อสารกับกรณีนักล้วง ปฏิบัติการล้วงกระเป๋าผู้โดยสารรถเมล์หรือกรณีกองทหารบุกเข้าโจมตีศัครู แทนที่จะใช้คำว่า การกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์

คติการกระทำระหว่างกัน (Interactionism)

ศัพท์ไทยสำหรับ Interactionism ที่ใช้นี้คือ คติการกระทำระหว่างกัน จะเข้าใจง่ายกว่า คำที่ปะทะสังสันทร์นิยมหรือปฏิพนธ์นิยม หรือคำภาษาแขกอื่นๆซึ่งดูขลังนั้น แต่จะต้องมีตีความหรือแปรไทยเป็นไทยกันอีก จึงได้เลือกใช้คำไทยแทน โดยหวังว่า เมื่อใช้กันนานจะติดปากเอง

ผู้ถือคติการกระทำระหว่างกัน (Interactionist) มักมีคำถามต่อไปนี้นำทาง ในการสร้างความคิดเชิงทฤษฎีซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับนักการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ หรือทฤษฎีการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ คือ มนุษย์คิดว่า มนุษย์คนอื่นเป็นอย่างไร สร้างสรรค์สังคมขึ้นมาอย่างไร บำรุงรักษาสังคมไว้ได้อย่างไร หรือเปลี่ยนแปลงสังคมไปอย่างไร สังคมและบุคลิกภาพของบุคคลที่เป็นสมาชิกของสังคมทั้งหลายสะท้อนปรากฏการณ์ในสังคมชั้นเหนือผูกพันกัน แต่ขณะเดียวกันก็มีลักษณะของตนเองได้อย่างไร ในที่นี้จะนำความคิดของ George Herbert Mead, Jacob Moreno และ Ralph Linton มาแสดงเป็นคำตอบส่วนใหญ่ของคำถาม

จิต อัตตา และสังคม

เริ่มต้นด้วยความคิดของ Mead เป็นนักปรัชญาชาวอเมริกัน แต่มีชื่อเสียงทางด้านสังคมวิทยา ในฐานะผู้วางรากฐานทฤษฎีแม่บท ชื่อการกระทำระหว่างกันทางสัญลักษณ์ เนื้อหาสาระความคิดของเขาได้มาจากหนังสือ Mind, Self and Society (1943) ซึ่งเป็นหนังสือรวมคำบรรยายของเขาที่มีผู้จัดพิมพ์ขึ้นภายหลังจากที่เขาได้เสียชีวิตแล้ว ตอนเขามีชีวิตอยู่เขาไม่เคยพิมพ์หนังสือเป็นเล่มเลยแม้แต่เล่มเดียว

ความคิดภูหลัง สิ่งประดิษฐ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือไม่ใช่วัตถุ เช่น ความคิด ความรู้ต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องมีการสะสมความรู้มาก่อนล่วงหน้าทั้งสิ้น ความคิดของ Mead เกี่ยวกับการกระทำระหว่างก็ไม่ต่างสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ สำหรับยุโรปมี George Simile ได้คิดถึงเรื่องนี้อย่างจริงจังมาก โดยเขาใช้คำว่า Sociability แทนคำว่า Interaction ข้อคิดข้อเขียนของเขา ทำให้ความคิดเรื่องการกระทำระหว่างกันมีฐานะสูงขึ้นจากการเป็นเพียงเรื่อง “รู้รู้กันอยู่” (ทำนองเรื่องสามัญสำนึก Take-for-Granted) ซิมเมล ชี้แจงว่า โครงสร้างมหภาคและกระบวนการมหภาคที่ทฤษฎีหน้าที่นิยมและทฤษฎีขัดแย้งได้พูดไว้ เช่น ชนชั้น รัฐ ครอบครัว ศาสนา พัฒนาการ เป็นต้น ในท้ายสุดเป็นเพียงภาพสะท้อนของการกระทำระหว่างกันของบุคคลนั้นเอง ในเบื้องแรก การกระทำระหว่างกันเหล่านี้ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคมระดับสูงขึ้น (กว่าระดับบุคคลที่เรียกว่า Emergent Social Phenomena)

ผลต่อมาคือ เมื่อเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมระดับสูงขึ้นมาแล้ว ทำให้เป็นความรู้พื้นฐานในการทำความเข้าใจกระบวนการการกระทำระหว่างกันที่เกิดขึ้นในระยะแรก และต่อมาส่งผลให้มีความยั่งยืนต่อไปได้ ต่อจากนั้นซิมเบลได้ขยายความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของการกระทำระหว่างกันอีกหลายอย่างที่เป็นพื้นฐานให้แก่ความคิดของนักการกระทำระหว่างกันรุ่นหลัง กระนั้นก็มีความคิดของซิมเบลก็ยังไม่เป็นระเบียบ หมวดหมู่กว้างขวางเพียงพอที่จะเป็นรากฐานสมบูรณ์ ให้กับทฤษฎีการกระทำระหว่างกันได้ ความคิดทำนองนั้นได้รับการพัฒนาขึ้นภายหลังในสังคมอเมริกัน โดยนักคิดอเมริกัน เช่น William James, Charles Horton Cooley, James Mark Balwin และ John Dewey เป็นต้น

ได้แสดงให้เห็นว่า การกระทำระหว่างกันของบุคคลหล่อหลอมโครงสร้างทางสังคมอย่างไร และในทางกลับกัน ได้แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างทางสังคมในฐานะที่เป็นข่ายงาน (Network) ของการกระทำระหว่างกันมีอิทธิพลหล่อหลอมปัจเจกชนได้อย่างไร โดยบุคคลเหล่านี้ได้ช่วยกันขยายความคิดของซิมเบลด้านต่างๆให้ละเอียดกว้างขวางขึ้น ต่อมา Mead จึงได้จัดรูปแบบความคิดที่กระจัดกระจายกันเหล่านั้นให้เป็นระเบียบเป็นพื้นฐานสำหรับปริทรรศน์ทางการกระทำระหว่างกันได้ โดย Mead เป็นผู้เชื่อมโยงความคิดเรื่องจิตมนุษย์ อัตตามนุษย์และโครงสร้างของสังคมเข้ากับกระบวนการกระทำระหว่างกันทางสังคม

รู้สึกว่า Mead จะสังเคราะห์สังกัปเหล่านี้ ด้วยฐานคติที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ความอ่อนแอทางชีววิทยาของเผ่าพันธุ์มนุษย์เป็นสาเหตุให้มนุษย์ต้องรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม เป็นสังคม เพื่อจะสามารถมีชีวิตรอด ประการที่สอง มนุษย์คัดเลือกเก็บรักษาการกระทำระหว่างกันที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งส่งผลให้มีชีวิตอยู่รวดด้วยเอาไว้ขณะเดียวกันก็สละละทิ้งการกระทำระหว่างกัน ที่ไม่ส่งเสริมความสัมพันธ์เช่นว่านั้นทิ้งไปเสีย จากฐานคติสองประการนี้ทำให้ Mead สร้างสังกัปเรื่อง “คนอื่น” เพื่อเป็นเครื่องระบุหรือทำให้เกิดจิต อัตตา และสังคม รวมทั้งเป็นเครื่องบำรุงรักษาสิ่งเหล่านั้นให้คนอยู่ต่อไปด้วย

จิตมนุษย์ Mead มีความเห็นว่า ลักษณะเด่นของจิตมนุษย์มี 3 ประการ คือ

  1. จิต มีความสามารถใช้สัญลักษณ์กำหนดสิ่งต่างๆในสภาพแวดล้อม ทำให้สามารถ “รู้จัก” สิ่งต่างๆ เหล่านั้น
  2. จิตสามารถฝึกซ้อมแนวการกระทำต่อสิ่งต่างๆ ดังกล่าว แนวทางต่างๆก่อนที่จะได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆดังกล่าว แนวทางต่างๆก่อนที่จะได้ลงมือกระทำจริง
  3. จิตสามารถหักห้ามแนวการปฏิบัติที่ไม่เหมาะไม่ควร

การฝึกซ้อมในใจตามข้อ 2 ก่อนที่จะได้มีการปฏิบัติจริง Mead เรียกกระบวนการใช้สัญลักษณ์หรือใช้ภาษานี้ว่า “การฝึกซ้อมในใจ” (Imaginative Rehearsal) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความคิดเกี่ยวกับจิตมนุษย์ของเขาว่า จิตเป็นกระบวนการไม่ใช่เป็นโครงสร้าง ความคิดเรื่องการฝึกซ้อมในใจนี่เองเป็นความคิดสำคัญทำให้ Mead อธิบายการเกิดขึ้นของกลุ่มที่เป็นระเบียบ (Oganized Group) และการดำรงอยู่ได้ของกลุ่มเหล่านี้ เพราะจิตจะเลือกสรรแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมความร่วมมือและการปรับตัว จึงจะทำให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้

ความคิดเรื่องจิตเป็นเรื่องสำคัญในทัศนะของ Mead เพราะ ถ้าไม่มีจิตแล้วอัตตาและสังคมก็จะไม่เกิด แต่ Mead ก็ไม่ได้สนใจเรื่องจิตของคนที่โตแล้ว เขาสนใจเฉพาะการเกิดของจิตของมนุษย์ในวัยทารกและวัยเด็ก Mead เชื่อว่า จิตเป็นผลผลิตของสังคม (Social Product) คือ ไม่ได้มีมาแต่กำเนิดจิตเกิดจากการที่มนุษย์สัมพันธ์กัน โดยขั้นแรกของทารกที่เกิดมาจะมีความสัมพันธ์กับผู้ใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ พี่และคนใกล้ชิดอื่นๆ ทารกจะเลือกสรรท่าทาง (Gesture) ต่างๆที่เขาแสดงออกไปอย่างเดาสุ่มกับบุคคลเหล่านั้น ที่ทำให้บุคคลเหล่านั้นกระทำตอบในทางบวก การเลือกสรรเช่นนั้น อาจเป็นได้ทั้งโดยการสอนของบุคคลเหล่านั้นหรือเลือกเดาสุ่มเอาเอง การเลือกท่าทางเช่นนี้ ดำเนินเรื่อยไปจนกระทั่งพบ “ความหมายทั่วไป” (Common Meaning) ของท่าทางเหล่านั้นที่เข้าใจตรงกัน ทั้งทารกและผู้แวดล้อม จากนั้นท่าทางต่างๆก็จะมีความหมายถึงสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะขึ้น ผู้มีความสัมพันธ์กับมีแนวโน้มที่จะมีปฏิกิริยาต่อท่าทางเหล่านั้น ทำนองเดียวกัน Mead ให้ชื่อท่าทางที่มีความหมายทั่วไปนี้ว่า “ท่าทางตามประเพณี” (Coventional Gesture) ท่าทางตามประเพณีนี้จะก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพสำหรับการกระทำระหว่างกันมากขึ้น เพราะมีความหมายตายตัว ดังนั้นจึงกระตุ้นให้ผู้เข้าสัมพันธ์ต้องปรับตัวระหว่างกันมากขึ้น เป็นผลให้เพิ่มความสามารถของบุคคลมากขึ้น

ความสามารถใช้และตีท่าทางตามประเพณี ที่มีความหมายทั่วไปของมนุษย์นี้ เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการพัฒนาจิต อัตตา และสังคม กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รับรู้และตความท่าทางแล้วก็แสดงว่า มนุษย์มีความสามารถ “สวมบทบาทของผู้อื่น” (เอาในเขามาใส่ใจเรา Take the role of the Other) เพราะ เมื่อมาถึงตอนนี้ เขาสามารถนึกคิดตามแนวของผู้ที่เขาต้องร่วมมือเพื่อการอยู่รวดได้ เมื่อสามารถอ่านและตีความท่าทางตามประเพณีที่ไม่ได้แสดงออกมาอย่างเปิดเผยได้ บุคคลก็สามารถฝึกซ้อมแนวปฏิบัติตอบในใจ เพื่อเลือกแนวทางที่จะได้รับความร่วมมือจากผู้อื่นก่อนเอาใจเขามาใส่ใจเราได้ ดังนั้น การที่บุคคลสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราได้ จึงเป็นการเพิ่มความความเป็นไปได้ จึงเป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ในการกระทำระหว่างกันที่ประสานร่วมมือกัน

โดยสรุป เมื่อบุคคลได้พัฒนาความสามารถ 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ

  1. ความสามารถในการเข้าใจท่าทางตามประเพณีนี้ได้
  2. สามารถใช้ท่าทางต่างๆเหล่านี้ เข้าใจท่าทางของคนอื่นได้
  3. สามารถฝึกซ้อมแนวทางปฏิบัติตามทางเลือกต่างๆในใจได้

Mead เชื่อว่าบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตนั้นมี “จิต” แล้ว

อัตตา ทางสังคม เมื่อมนุษย์สามารถให้ความหมายกับสิ่งต่างๆและบุคคลอื่นในสภาพแวดล้อมได้แล้ว เขาก็สามารถให้ความหมายกับตัวของเขาได้เสมือนเป็นสิ่ง หรือบุคคลอื่นเหมือนกัน ดังนั้น การตีความหมายของท่าทางต่างๆ จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้เกิดการประสานงาน ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่จะสามารถนำมาประเมินผลตนเองได้ด้วย การประเมินผลตนเองขึ้นอยู่กับกระบวนการของจิต Mead กล่าวว่าเมื่อบุคคลได้ “ภาพตนเอง” (Self-Image) จากสายตาของคนอื่นที่สัมพันธ์กับตนระยะหนึ่ง ภาพตนเองที่มีลักษณะชั่วคราวนี้จะค่อยๆฝังลึก จนในที่สุดจะกลายเป็น “ความคิดเกี่ยวกับตนเอง” (Self-Conception) ที่เป็นเสมือนวัตถุอย่างหนึ่งที่มีความสม่ำเสมอ เป็นบุคคลประเภทหนึ่งที่มีท่าทีความโน้มเอียงที่จะชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Disposition) ที่ประสานสอดคล้องกัน มั่นคงถาวรของตนขึ้น กลายเป็นอัตตาของบุคคลนั้น Mead เลือกแสดงขั้นตอนสำคัญ ในกระบวนการพัฒนาอัตตา 3 ขั้นตอนด้วยกัน โดยแต่ละขั้นตอนจะแสดงทั้งการเปลี่ยนแปลงภาพตัวเองที่ลักษณะชั่วคราวและการลงรากฝังลึกลงไป ในความรู้สึกของความคิดเกี่ยวกับตนเองด้วย คือ ประการที่ 1 ขั้นเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Role-Taking) ซึ่งการสมบทบาทของผู้อื่น Mead เรียกว่า ขั้นการเล่นบท (Play Stage) ในขั้นนี้เป็นขั้นที่มนุษย์ยังเป็นเด็กทารก มีความสามารถในการเล่นบทได้จำกัดเพียงคนสองคน ภาพของตนเองก็ยังจำกัดไม่ฝันเน้นแต่อย่างใด ขั้นที่ 2 ขั้นเกมกีฬา (Game Stage) ช่วงนี้ร่างกายของเด็กเจริญวัยขึ้นแล้ว สามารถสวมบทบาของผู้อื่นได้มากขึ้น ตัวอย่าง เช่น การประสานร่วมมือกับผู้ได้มากขึ้น ร่วมกิจกรรมที่มีการประสานงานกันอย่างมีระเบียบมากขึ้น (Mead ชอบเทียบเคียงขั้นนี้กับทีมฟุตบอล) โดยบุคคลจะต้องสวมบทของนักฟุตบอลคนหนึ่ง เล่นฟุตบอลประสานกับคนอื่น (ให้ได้ชัยชนะทีมคู่ต่อสู้และชนะใจคนดู) ขั้นสุดท้ายเป็นขั้นที่บุคคลสามารถสวมบทบาทของบุคคลทั่วไป (Generlized Other) หรือกลุ่มท่าทีของสังคม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ Mead เห็นว่าบุคคลสามารถยึดถือปริทรรศน์ทั่วไปของชุมชน หรือความเชื่อทั่วไป ค่านิยม บรรทัดฐานของสังคมหนึ่งในการกระทำระหว่างกันด้านต่างๆได้ ซึ่งหมายถึง มนุษย์สามารถทั้ง 1) เพิ่มความเหมาะสมในการตอบโต้กับผู้อื่น ในการกระทำระหว่างกันมากขึ้น และ 2) ขยายขอบเขตภาพตนเองจากความสามารถในการสวมบทบาทของบุคคลจำนวนมากขึ้นอยู่เสมอ และการขยายวงจำนวนคนที่บุคคล สวมบทบาทนี่เอง ที่เป็นขั้นตอนของพัฒนาการของอัตตาขั้นต่างของมนุษย์

สังคมมนุษย์

ตามทัศนะของ Mead สังคม หรือคำที่เขา เรียกว่า “สถาบัน” คือ การกระทำระหว่างกันที่จะจัดระเบียบแล้วและมีแบบแผนของบุคคลต่างๆ การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพราะ “จิต” ถ้าไม่มีจิตเสียแล้ว บทบาทและการคิดหาทางเลือกต่างๆของกิจกรรม ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ Mead ย้ำว่า

ผลกระทบทันทีของการยึดถือบทบาท คือการ สามารถควบคุมลักษณะการโต้ตอบของเขาเอง การควบคุมการโต้ตอบของเขาเองได้เกิดจากความสามารถของบุคคล ในการสวมบทบาท (นึกถึง) ของผู้อื่นได้ เพราะ การควบคุมการโต้ตอบของเขานี่เองที่ทำให้บุคคลสามารถเข้าใจผู้อื่นและปฏิบัติตอบได้อย่างถูกต้องในกลุ่มที่เขาสังกัดอยู่

นอกจากนั้น สังคมยังต้องขึ้นกับอัตตา (Self) ด้วย เพราะ อัตตาเกิดจากทัศนะของ Generalized Other หากไม่สามารถมองเห็นและประเมินค่าตนเอง จากสายตาคนอื่นแล้วการควบคุมทางสังคมก็จะอาศัยเพียงการประเมินตน จากบทบาทของตนเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถประสานกิจกรรมที่แตกต่างๆได้

ยิ่งกว่านั้น สังกัปเรื่อง จิตและอัตตา ยังช่วยให้ Mead สามารถมองสังคมในสภาพที่เปลื่ยนไปมาและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้ด้วย เพราะ การแทรกบทบาทและเลือกบทบาทหรือแนวทางการปฏิบัติ ทำให้บุคคลสามารถปรับตัวได้ตลอดเวลาที่มีการโต้ตอบกับผู้อื่น (Response) นอกเหนือจากนั้น การถือเอาอัตตาเป็นวัตถุอย่างหนึ่งในกระบวนการกระทำของสังคม ทำให้บุคคลสามารถประเมินค่าอัตตาในสายตาของผู้อื่นได้ด้วย หลักจากนั้น ก็สามารถวางแผนการโต้ตอบได้ ปริทรรศน์เช่นนี้ เน้นลักษณะสังคมและแบบแผนขององค์การสังคมว่า เป็นทั้งการสืบเนื่องและเปลี่ยนแปลงตามความสามารถในการปรับตัวของจิต และการต่อรองของอัตตา ในส่วนนี้ Meadกล่าวว่า “สถาบันของสังคมก็คือ รูปแบบที่เป็นระเบียบของกลุ่มหรือกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการจัดระเบียบจนบุคคลสมาชิกของสังคม สามารถปฏิบัติตนได้สมบูรณ์ ด้วยการถือลักษณะท่าทางของผู้อื่นที่มีต่อกิจกรรมเหล่านี้…….แต่ก็ไม่มีเหตุผลใดหรือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นอย่างไร ที่สถาบันสังคมจะต้องบีบบังคับหรืออนุรักษ์นิยมอย่างมากมายหรือไม่ยืดหยุ่น ไม่ก้าวหน้า ไม่ส่งเสริมบุคคลแทนที่จะทำให้เสียกำลังใจ”

ข้อความเหล่านี้ แสดงถึงการไม่ชอบลักษณะความเข้มงวด การบีบบังคับของสังคม Mead ซึ่ง Mead เชื่อว่าสังคมเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้น จากการปรับตัวระหว่างการกระทำระหว่างกับของมนุษย์ (ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อน) ดังนั้น สังคมอาจถูกสร้างขึ้นใหม่เปลี่ยนแปลงไปตามจิตและอัตตาจะเห็นควร Mead มักจะเดินล่วงหน้าผู้อื่น ไปก้าวหนึ่งเสมอด้วยการกล่าวว่า สังคมไม่เพียวแต่มักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยเท่านั้น แต่ทำนายล่วงหน้าไม่ได้ด้วยแม้คนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง เพื่อประกอบการอธิบายเรื่องนี้ Mead จึงได้สร้างสังกัปเรื่อง I และ Me แล้ว

โดยสรุป สำหรับ Mead สังคม คือ แบบแผนที่ประสานสอดคล้องกันของกิจกรรมที่มนุษย์ก่อขึ้น ซึ่งดำรงรักษาไว้ เปลี่ยนแปลงไปตามกำหนดระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ระหว่างบุคคลหรือแต่ละคน ทั้งการบำรุงรักษาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมกระทำผ่านกระบวนการของจิตและอัตตา

แม้สาระในแนวความคิดของ Mead จะมีอิทธิพลต่อสังคมวิทยามาก่อน แต่สาระความคิดนั้นก็ยังมีข้อบกพร่องในทางทฤษฎีอยู่บ้าง ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ความไม่กระจ่างในลักษณะของสังคม และความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับสังคม Mead ถือว่า สังคมเป็นกิจกรรมที่ได้รับการจัดระเบียบแล้ว ควบคุมโดยบุคคลสำคัญต่างๆและเป็นแหล่งที่บุคคลจะปรับตัวและร่วมมือระหว่างกัน การปรับตัวและการประสานงานเช่นนั้นก่อให้เกิดขึ้นได้ เพราะจิตและอัตตา กล่าวคือ ขณะที่จิตใจและอัตตาเกิดจากสังคม แต่การบำรุงและการเปลี่ยนแปลงสังคมกันเป็นผลของกระบวนการของจิต และอัตตา จะชี้ให้เห็นกระบวนการสำคัญในการบำรุงรักษาความสัมพันธ์นั้น แต่สังกัปเหล่านั้นก็ไม่ได้ช่วยในการวิเคราะห์แบบแผนขององค์การสังคมแบบต่างๆที่บุคคลได้เข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะต่างๆ การกล่าวเพียงว่า “สังคม” เป็นกิจกรรมประสานกันและกิจกรรมเหล่านั้นดำรงอยู่และเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยบทบาทและการประเมินตนของบุคคล ช่วยให้ภาพความคิดเพียงกว้างเท่านั้น

สิ่งที่ยังขาดอยู่ในความคิด Mead ได้มีการเพิ่มเติมเมื่อราว 4 ทศวรรษนี้ เมื่อนักวิจัยและนักทฤษฎีได้เริ่มปรับปรุงเสริมเติมแต่งทฤษฎีของ Mead ตอนแรกได้มีการคิดค้นข้อความที่สั้น ชัดเจนและไม่เป็นงูกินหางมาแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคมขึ้น ประกอบด้วยสังกัปต่างๆแสดงให้เห็นส่วนต่างๆที่เป็นพื้นฐาน ในการสร้างสังกัปสังคม จึงได้ทำให้ความคิดของ Mead มีความกระจ่างชัดเจนขึ้น

บทบาท สถานภาพ สังคม และปัจเจกชน

อาศัยแรงกระตุ้นจากความคิดของ Mead นั่นเอง Jacop Moreno จึงได้สร้างสังกัปการแสดงบทบาท (Role Playing) ขึ้นในหนังสือ Who Shall Survice และในวารสารหลายฉบับที่เขาได้ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐฯ Moreno เริ่มชี้ให้เห็นว่า องค์การสังคมประกอบด้วยบทบาทจำนวนหนึ่ง (Network of Role) ซึ่งบังคับและให้แนวทางการแก่การกระทำแรกๆ เขาได้แยกบทบาทต่างๆออกจากกัน คือ

  • Psychosomatic Role บทบาทเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นทางชีวภาพ เป็นบทบาทที่ผู้แสดงๆไม่รู้ตัวแต่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสังคม
  • Psychodramatic Rold บทบาทตามสภาพสังคมบุคคลแสดงบทบาทตามคาดหวังของสภาพสังคมเฉพาะ
  • Social role บทบาทที่ปัจเจกชนปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคม เช่น กรรมการ ชาวพุทธ แม่ พ่อ เป็นต้น

สิ่งที่ได้จากแนวคิดนี้ คือการ ได้เค้าโครงสร้างทางสังคมที่ประกอบด้วยบทบาทต่างๆในเนื้อหาไม่ได้อะไรมาก เค้าโครงนี้ทำให้ขยายความคิดเรื่องสังคมที่เป็น ชัดเจนขึ้น

หลังจาก Moreno แล้วไม่นานนัก Linton นักมนุษย์วิทยาก็ได้ขยายลักษณะขององค์การสังคมและบุคคลที่เป็นสมาชิกออกไปอีก โดยพูดถึงบาบาท สถานภาพและบุคคล แยกต่างหากจากกัน

จากข้อความนี้ ทำให้ความสำคัญ ทำให้ความที่สำคัญกระจ่างยิ่งขึ้นมาถึงตอนนี้ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยหน่วยสำหรับวิเคราะห์หลายประการ

  1. ตำแหน่งต่างๆ ชุดหนึ่ง(A Network of Positions)
  2. ระบบความคาดหวังที่สอดคล้องกัน
  3. แบบแผนของพฤติกรรม ตามความคาดหวังของตำแหน่ง

แม้สิ่งเหล่านี้จะดูเล็กน้อย น่าจะชัดเจนในทฤษฎีแล้วแต่ขยายความ ทฤษฎีSymbolicinteractionism หลายอย่าง คือ

  1. ทำให้แนวคามคิดเรื่องสังคมของทฤษฎีนี้กระจ่างขึ้น บอกลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง รวมทั้งความคาดหวังที่ติดอยู่ด้วยกัน
  2. สามารถแยกสังกัปจิตและอัตตาของ Mead ออกจากโครงสร้างสังคม (Position & Expectations) และพฤติกรรม (บทบาท)
  3. เมื่อสามารถแยกกระบวนการถือเอาบทบาท และการเลือกแสดงบทออกจากทั้งโครงสร้างและพฤติกรรมได้แล้ว ก็สามารถจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคมได้อย่างชัดเจน เพราะ การแสดงบทบาทเป็นการแสดงตามความคาดหวังของสถานภาพต่างๆ ส่วนตัวบทบาทเป็นรูปแบบของการคาดหวังที่เกิดจากการต่อรองกับอัตตา

Moren Linton จึงทำให้เห็นลักษณะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจิต อัตตา ปละสังคม ชัดเจนขึ้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย