ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประชุมพงศาวดาร

พระราชพงศาวดารเหนือ
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
ศิลาจารึก
พงศาวดารเขมร
พงศาวดารมอญพม่า
พงศาวดารล้านช้าง

พงศาวดารเขมร

 หน้า >>  1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18

เมื่อปี จ.ศ. 1231 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งพระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมพระอาลักษณ์ และกรมอักษรพิมพ์ ให้จัดหาหนังสือ เรื่องพระราชพงศาวดาร ลำดับกษัตริย์ในประเทศต่าง ๆ เป็นเครื่องประดับพระปัญญา และสำหรับแผ่นดินสืบไป พระเจ้าวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรโสภณ ได้จัดอาลักษณ์จำลองเรื่องพระราชพงศาวดาร ลำดับกษัตริย์ในประเทศต่าง ๆ ทูลเกล้า ฯ ถวายหลายภาษา เรื่องพระราชพงศาวดารฝ่ายประเทศสยาม ประเทศจีน ประเทศมอญ คือ เรื่องราชาธิราชนั้น ได้ฟังได้รู้เรื่องด้วยกันเป็นอันมาก แต่เรื่องราชพงศาวดารเขมรนี้ เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ขุนสุนทรโวหารในกรมพระอาลักษณ์ และพระยาธรรมาธิบดีพระเสนาพิจิตร หมื่นมหาสมุทร เป็นล่ามเขมรอยู่ในกรมมหาดไทย แปลเรื่องราชพงศาวดารเขมร เมื่อปี จ.ศ.1217 เสร็จแล้วเจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ในหอหลวง

พงศาวดารเขมรดังกล่าวเก็บความได้ดังต่อไปนี้

ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมนิพันธบท ทรงราชอยู่ในพระนครหลวง เมื่อปี จ.ศ.708 และสุรคต เมื่อปี จ.ศ.712 สมเด็จพระศรีจารผู้เป็นพระอนุชาได้ทรงราชย์ได้สามเดือนก็สุรคต พระบรมลำพงษ์ราชาผู้เป็นพระราชบุตรได้ทรงราชย์ ต่อมาในปี จ.ศ.714 พระเจ้ารามาธิบดีที่หนึ่งกรุงไทยยกทัพมาล้อมเมือง

จ.ศ.715 พระเจ้าลำพงษ์ราชาสุรคต พระเจ้ารามาธิบดีจึงตั้งพระราชบุตร ของพระเจ้าลำพงษ์ให้ทรงราชย์อยู่ในพระนครหลวง ทรงพระนามพระเจ้าปาสัตร จ.ศ.717 พระเจ้าปาสัตรสุรคต พระเจ้าปาอัศผู้เป็นพระอนุชาขึ้นครองราชย์ได้สามปีก็สุรคต พระเจ้ากระดมบองที่สี่ผู้เป็นพระราชบุตรผู้น้อย ขึ้นครองราชย์ในพระนครหลวง

จ.ศ.919 พระเจ้ารามาธิบดีกรุงไทย ยกกองทัพไปกวาดต้อนครัวเขมรเก้าหมื่นไปกรุงศรีอยุธยา พระศรีสุริโยปวงษ์ราชาผู้เป็นพระเจ้าหลานขึ้นทรงราชย์ในพระนครธมจน จ.ศ.728 สุรคต พระบรมรามทรงราชย์ ในพระนครธมจนถึงปี จ.ศ.732 ก็สุรคต พระเจ้าธรรมาโศกราชผู้เป็นพระอนุชาได้ทรงราชย์ในพระนครหลวง

จ.ศ.734 พระบรมราชาที่หนึ่งกรุงศรีอยุธยา ยกทัพมาล้อมเมืองอยู่เจ็ดเดือน ตีได้พระนครธม เมื่อปี จ.ศ.735 พระเจ้าธรรมาโศกราชสุรคต พระเจ้าบรมราชาจึงตั้งพระราชบุตรของพระเจ้าธรรมาโศกราช ชื่อพระยาแพรกขึ้นทรงราชย์ พระนามพระอินทราชา พระบรมราชาเจ้าพระยาญาติใช้ให้มหาดเล็กทั้งสองไปลอบฆ่าพระอินทราชาในปีเดียวกันนั้น แล้วพระบรมราชาเจ้าพระยาญาติทรงราชย์อยู่ในพระนครธม จนถึงปี จ.ศ.746 จึงได้ราชาภิเศก ทรงพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสุริโยปพันธ์ธรรมิกราชา

จ.ศ.750 พระองค์เสด็จมาสถิตย์อยู่ ณ เมืองพนมเพ็ญจัตุรจะราบเชียม จ.ศ.795 พระชนมพรรษาได้ 46 ปี พระองค์มอบเวนราชสมบัติให้พระนารายณ์รามาธิบดี ทรงราชย์ในพระนครพนมเพ็ญ จนถึงปี จ.ศ.799 ก็สุรคต พระเจ้าศรีราชาทรงราชย์ ครั้นมาถึงแผ่นดินพระสุริโยทัย พระราชาทั้งสองทำศึกกัน ต่อมาถึงแผ่นดินสมเด็จเจ้าพระยา ธรรมราชา ผู้เป็นพระราชบุตรพระบรมราชาเจ้าพระยาญาติ เจ้าพระยาธรรมราชานั้นเป็นบุตรออกคุณทรงพระอินทร์ เป็นพี่น้องกับพระยาเดโชที่อยู่กรุงศรีอยุธยา

จ.ศ.830 พระชันษาได้ 22 ปี จึงได้ทรงราชย์อยู่ในเมืองพนมเพ็ญ ได้ปราบดาภิเษก ทรงพระนาม พระบาทสมเด็จพระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี จ.ศ.838 ทรงราชย์ได้เก้าปี พระชันษาสามสิบ พระองค์แต่งให้พระเดชะไปขอกองทัพไทย พระเจ้ากรุงไทยยกทัพมาถึงตั้งสู้รบ จับได้สมเด็จพระเรียมกับสมเด็จพระภคินีโยนำไปกรุงศรีอยุธยา

จ.ศ.847 พระชันษาได้สี่สิบ มีพระราชบุตรองค์หนึ่งชื่อเจ้าพระยาจันทราชา พระองค์ทรงราชย์มาถึงปี จ.ศ.866 พระชันษาได้ห้าสิบแปดปีก็สุรคต สมเด็จเจ้าพระยางามขัติยราชา ทรงราชย์ต่อจากพระราชบิดาในเมืองปาสาณ ทรงพระนามสมเด็จพระศรีสุคนธบทราชาธิราช รามาธิบดี

อ่านต่อ หน้า 2 >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย