สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ความรู้เรื่องกฎหมาย

กฎหมายเกี่ยวข้องกับชื่อบุคคล

กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล บุคคล (บุคคลธรรมดา) ตามปกติต้องมี “ชื่อตัว” และ “ชื่อสกุล” เพื่อกำหนดว่าบุคคลนั้นคือใคร ซึ่งต่อไปก็จะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคลนั้นอีกว่า เขามีภูมิเนาอยู่ที่ไหน และมีสถานะเป็นชายหรือหญิง เป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะ เป็นโสดหรือมีคู่สมรสแล้ว เป็นต้น “ชื่อบุคคล” จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังปรากฏในพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2530) ที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับชื่อบุคคลไว้โดยเฉพาะ รายละเอียดดังนี้

1. บุคคลผู้มีสัญชาติไทย ต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล และจะมีชื่อรองก็ได้

2. หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง ดังนี้

  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินิหรือ ราชทินนาม (นามบรรดาศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน)
  2. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  3. ชื่อหนึ่งให้มีคำรวมกันได้ไม่เกิน 5 พยางค์ (เดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3 พยางค์)
  4. ต้องมีที่มาหรือมีความหมายที่ดี ซึ่งความหมายในที่นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะที่ปรากฎในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานเท่านั้น แต่ให้หมายรวมถึงพจนานุกรมทั่วไปที่ใช้กันอยู่

 

3. หลักการตั้งชื่อสกุล มีดังนี้

  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชนิ
  2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตนของผู้บุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
  3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตนของผู้บุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
  4. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  5. ต้องมีพยัญชนะไม่เกินกว่า 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล

4. หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับชื่อบุคคล

  1. ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลจะอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยใช้ชื่อสกุลของตนก็ได้ และจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อนายทะเบียนท้องที่ออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้ก็ได้และจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อนายทะเบียนท้องที่ออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้
  2. หญิงมีสามี ให้ใช้ชื่อสกุลของสามี
  3. หญิงหม้ายโดยการหย่าให้กลับใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
  4. หญิงม่ายโดยความตายของสามีจะใช้ชื่อสกุลของสามี หรือใช้ชื่อสกุลเดิมของตนก็ได้

5. การค้นหาตัวบุคคล

การตรวจค้นหาตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง ลูกหนี้หรือผู้ต้องหา หรือจำเลยที่ กระทำความผิดอาญา ทางราชการมีสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อบุคคล (ชื่อตัวและชื่อสกุล) ที่อยู่และสถานะต่าง ๆ ทางทะเบียนราษฎรของบุคคลทั่วประเทศไว้ครบถ้วน โดยเก็บและรวบรวมข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ไปติดต่อค้นหาบุคคลที่ต้องการได้ โดยการแจ้งชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลนั้น เจ้าหน้าที่สามารถตรวจค้นให้ท่านได้ นอกจากนี้สำนักงานเขตต่าง ๆ ของ กรุงเทพมหานครบางเขน ก็สามารถจะให้บริการได้

กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายอาญา
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายเกี่ยวข้องกับชื่อบุคคล
กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว
กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก
กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย