สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

รัฐธรรมนูญ (Constitution)

ที่มาของรัฐธรรมนูญ

อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญหรือที่มาของรัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในโลกปัจจุบันนี้อาจได้มาใน 5 วิธีด้วยกัน คือ

1. การวิวัฒนาการรัฐธรรมนูญ
2. ประมุขของรัฐจัดให้มีขึ้น
3. ประชาชนเป็นผู้จัดให้มีขึ้น
4. ผู้ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นผู้จัดให้มีขึ้น
5. ผู้มีอำนาจภายนอกรัฐจัดให้มีขึ้น

1.การวิวัฒนาการรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญของอังกฤษซึ่งเป็นแม่บทการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันและเป็นรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีนั้น เป็นตัวอย่างที่ดีของรัฐธรรมนูญที่มีประวัติความเป็นมาโดยการวิวัฒนาการ กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยในสมัยแรก ๆ ของประเทศอังกฤษที่องค์พระมหากษัตริย์ ต่อมาได้ก่อเกิดการวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญอังกฤษนั้นพร้อม ๆ กันกับการวิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย และได้ใช้เวลาหลายร้อยปีโดยเริ่มจากกฎบัตรแม็กนาคาร์ตา (Magna Cata) ซึ่งกระทำขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 กล่าวได้ว่ากฎบัตรนี้เป็นสัญญาระหว่างพระเจ้าจอห์นและพวกบารอนซึ่งพระเจ้าจอห์นได้ยอมลงพระปรมาภิไธยภายหลังที่พระองค์ทรงพ่ายแพ้ในการรบพุ่ง กฎบัตรแม็กนา คาร์ตาได้กำหนดถึงองค์การและอำนาจของสภาใหญ่ หลังจากนั้นเป็นต้นมาอำนาจของพระมหากษัตริย์อังกฤษก็ค่อย ๆ ถูกจำกัดลง จนในที่สุดอังกฤษก็ได้มีรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช ้ในการปกครองประเทศ โดยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

2. ประมุขของรัฐเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ประมุขของรัฐในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์อาจเป็นผู้จัดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นเองตามพระราชประสงค์โดยที่ประชาชนไม่ได้ร้องขอบังคับ เพราะเมื่อพระองค์ทรงเล็งเห็นว่า ถึงเวลาสมควรแล้วที่ประชาชนของประเทศที่จะได้มีสิทธิมีส่วนในการปกครองประเทศจึงได้มอบรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าประมุขของรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิ -ราชย์มีความรู้สึกว่า ระบอบการปกครองแบบนี้ไม่สามารถจะใช้ได้อีกต่อไป เนื่องจากประชาชนได้รับการศึกษามากขึ้น มีโลกทัศน์กว้างไกลรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนในทางการเมืองการปกครองมากขึ้น จึงยอมยกรัฐธรรมนูญให้ประชาชนก่อน เพื่อเป็นการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการปฏิวัติในภายหลังและวิธีนี้ก็จะช่วยให้ประมุขของรัฐเป็นที่เคารพและยำเกรงของประชาชนต่อไป ตัวอย่างของรัฐธรรมนูญประเภทนี้ได้แก่ รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นซึ่งจัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1989 รัฐธรรมนูญของโมนาโคซึ่งจัดให้มีขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1911 และของประเทศเอธิโอเปียซึ่งจัดให้มีขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1931 เป็นต้น

3. ประชาชนเป็นผู้จัดให้มีขึ้น การจัดทำรัฐธรรมนูญประเภทนี้มักเกิดขึ้นเมื่อประชาชนร่วมกันก่อการปฏิวัติและเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองได้สำเร็จ อำนาจสูงสุดในการปกครอง ย่อมเป็นอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง การจัดทำรัฐธรรมนูญของประเทศเหล่านี้จะไม่มีประมุขของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ประชาชนหรือผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาจะเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการที่จะวินิจฉัยว่า จะให้ใครหรือองค์กรใดเป็นผู้รับมอบหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ โดยทั่วไปประชาชนจะจัดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วยผู้แทนซึ่งประชาชนเลือกตั้งมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแทนประชาชนโดยเฉพาะ หรือไม่ก็ประชาชนจะเป็นผู้ให้ความยินยอมให้ร่างรัฐธรรมนูญหรือองค์กรใดองค์หนึ่งร่างขึ้นโดยวิธีลงคะแนนเสียงประชามติ (Referendum) ประเทศที่จัดให้มีรัฐธรรมนูญประเภทนี้ เช่น รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นผลมาจากชาวอ เมริกาปฏิวัติแยกตัวจากอังกฤษในปี 1776 รัฐธรรมนูญของรัสเซีย ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นผลมาจากชาวรัสเซียปฏิวัติยึดอำนาจจากพระเจ้า นิโครลัสในปี 1917 และรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ. 1791 ซึ่งเป็นผลมาจากชาวฝรั่งเศสปฏิบัติยึดอำนาจจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในปี 1789 เป็นต้น

4. ผู้ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นผู้จัดให้มีขึ้น การจัดให้มีรัฐธรรมนูญประเภทนี้ เมื่อเกิดมีการปฏิวัติหรือรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองสำเร็จผู้ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดในประเทศ ซึ่งมีอำนาจในการที่จะวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความต้องการแห่งคณะของตนและมีอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะปฏิวัติหรือรัฐประหารนั้น เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศพม่า เป็นต้น

5. ผู้มีอำนาจนอกรัฐจัดให้มีขึ้น การจัดรัฐธรรมนูญประเภทนี้ เกิดขึ้นเมื่อรัฐผู้ครอบครองอาณานิคมจะให้เอกราชกลับคืนแก่รัฐในอาณานิคม ในกรณีเช่นนี้ส่วนมากแล้วรัฐเจ้าอาณานิคมมักจะตกลงเป็นเงื่อนไขก่อนเสมอว่า รัฐใต้อาณานิคมจะต้องจัดทำรัฐธรรมนูญซึ่งรัฐเจ้าอาณานิคมรับรองเท่านั้น เช่น ประเทศอังกฤษให้เอกราชแก่มาลายูในปี 2500 และสิงคโปร์ในปี 2506 ในกรณีเช่นนี้อาจถือได้ว่า รัฐเจ้าอาณานิคมอยู่ในฐานะผู้จัดให้มีรัฐธรรมนูญ

ความหมายของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญ (Classification of Constitution)
วิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ที่มาของรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์และความจำเป็นของการมีรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทย(ฉบับแรก-ฉบับปัจจุบัน)
ประวัติรัฐธรรมนูญไทย
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
สรุปและวิเคราะห์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย