สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

มติมหาชน (Public Opinion)

ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยย่อมจะมีบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญในการให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนของประเทศในการแสดงมติมหาชน เช่น การให้สิทธิเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามลักษณะของกลุ่มชนที่มีแนวความคิดเหมือนกัน มีผลประโยชน์คล้ายคลึงกัน การให้สิทธิในการเลือกตั้งซึ่งถือว่าเป็นลักษณะบทบาทหนึ่งของการแสดงมติมหาชน คือทำให้เราทราบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการพรรคการเมืองพรรคใดหรือผู้ลงรับสมัครคนไหน ในอันที่จะเข้าไปร่วมบริหารประเทศ เพราะหลักของการบริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องบริหารประเทศให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ และหลักการนี้ได้ถือกันมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้วว่า “มติมหาชนคือเสียงสวรรค์” (Vox populi Vox Dei)

1 ความหมายของมติมหาชน

มติมหาชนมีนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ได้ให้ทัศนะความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้

1. ความหมายอย่างกว้าง ๆ ของมติมหาชน หมายถึง การที่ประชาชนมีส่วนในการปกครองประเทศทางหนึ่งด้วยการเสนอแนะ ควบคุม วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐ
2. มติมหาชน หมายถึง การแสดงออกซึ่งท่าทีความเชื่อของสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความสนใจต่อปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
3. มติมหาชน หมายถึง กระแสความคิดเห็นที่เกิดขึ้นจากการที่กลุ่มชนมีปฏิกิริยา หรือเห็นพ้องต้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

จากความหมายของมติมหาชนจากนักปราชญ์ทั้งสามท่านได้ให้ไว้แล้วนั้นพอจะสรุปได้ว่า มติมหาชนก็คือการที่ประชาชนจำนวนมากได้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็น และการลงมติว่าเรื่องนั้น ๆ ควรจะว่าอย่างไรในรูปลักษณะที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย การแสดงมติมหาชนมีทั้งในประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการ ในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคจากกฎหมายโดยถ้วนหน้ากันอยู่แล้ว การแสดงออกของประชาชนถือว่าเป็นสิทธิอันหนึ่งของประชาชนและเป็นประโยชน์ต่อรัฐอีกด้วย ส่วนประเทศที่ปกครองในระบอบเผด็จการย่อมมีการแสดงมติมหาชนเช่นกัน แต่โดยปกติแล้วรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจในทางการเมืองจะชักจูงให้ประชาชนแสดงมติมหาชนในลักษณะที่สนับสนุนตนจึงเป็นลักษณะการแสดงมติมหาชนจอมปลอม ฉะนั้นการแสดงมติมหาชนที่จะเป็นผลและทราบเจตนารมณ์ของประ ชาชนอย่างแท้จริงนั้น คือการแสดงมติมหาชนในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

สิทธิหน้าที่ของประชาชน (Right–Obigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย