สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

ประชาชนกับบทบาททางการเมือง

บทบาทของสื่อมวลชน

สื่อมวลชนมีบทบาทหรือมีอิทธิพลทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สำหรับบทบาทของสื่อมวลชนในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นมีดังนี้

1. บทบาทในด้านการเมือง สื่อมวลชนทุกแขนงสามารถเสนอแนวความคิด ถ่ายทอดความรู้ทางการเมืองได้อย่างกว้างขวาง สื่อมวลชนจะเป็นสื่อการสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เพื่อที่จะให้รู้ว่าขณะนี้รัฐบาลกำลังทำอะไร ดำเนินการอย่างไรในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ และรัฐบาลจะทราบความทุกข์ร้อน ความต้องการของประชาชนจากสื่อมวลชน นอกจากนั้นสื่อมวลชนยังเป็นเครื่องมือในทางการเมืองโดยตรง เช่น คราวที่ทำการปฏิวัติหรือทำรัฐประหารจะเห็นว่าสื่อมวลชนมีความสำคัญ ถ้าฝ่ายก่อการสามารถยึดสื่อมวลชนทุกประเภทได้ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อม หรือคราวที่มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรสื่อมวลชนจะมีบทบาทมาก ตัวอย่างการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2531 พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้มีโอกาสแถลงนโยบายทำความเข้าใจกับประชาชนทางโทรทัศน์ ทุกพรรคที่ส่งสมาชิกพรรคลงรับสมัครเลือกตั้ง ในด้านหนังสือพิมพ์รายวันก็ได้เสนอชื่อผู ้สมัครทุกพรรคประกอบทั้งประมวลเหตุการณ์ คะแนนนิยมของแต่ละคนแต่ละพรรคการเมืองมิได้ขาดแต่ละวัน ทำให้ประชาชนได้ศึกษาความเคลื่อนไหวสถานการณ์ทางการเมืองโดยตลอดจากสื่อมวลชนนั้น

ส่วนสมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ ได้ประมวลบทบาทของสื่อมวลชนในทางการเมืองไว้ดังนี้

1. สามารถรายงานและสอดแทรกความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์การเมืองให้ประชาชนให้ทราบ

2. สามารถถ่ายทอดความคิดเห็นทั้งในด้านการสนับสนุนและคัดค้านการกระทำของรัฐบาล กลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ ได้

3. สามารถรายงานความเคลื่อนไหวในทางการเมืองให้ประชาชนได้ทราบอย่างรวดเร็ว

4. เป็นปากเป็นเสียงแทนปวงชน ในลักษณะที่ทำให้เกิดความคิดเห็นของประชาชนเป็นพลังที่เป็นปึกแผ่นได้

5. สามารถถ่ายทอดความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศให้รัฐบาลได้ทราบและสนองความต้องการนั้นได้อย่างถูกต้อง

6. กลุ่มมวลชน สามารถแสดงออกได้ในลักษณะที่เป็นกลุ่ม เช่น ความเห็นของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถทำให้เกิดน้ำหนักและมีอิทธิพลที่รัฐบาลต้องยอมรับและปฏิบัติตาม เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมได้

7. สื่อมวลชน สามารถรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนที่กระจัดกระจายกันอยู่ในลักษณะของความเห็นในอาณาบริเวณที่โดดเดี่ยวเข้ามาเป็นความคิดเห็นที่สามารถเข้าถึงได้อันเป็นผลให้ประชาชนจำนวนมากได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากยิ่งขึ้น

จากบทบาทและอิทธิพลของสื่อมวลชนหลายประการดังที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าสื่อมวลชนจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง สื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาลหรือระหว่างประชาชนกับรัฐนั่นเอง ประการสำคัญที่สื่อมวลชนเป็นปัจจัยผลักดันที่ให้ประชาชนเข้าไปมีบทบาททางการเมืองการปกครอง

2. บทบาทในด้านเศรษฐกิจ ข่าวคราวความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของประเทศจะถูกถ่ายทอดไปสู่ประชาชนได้โดยผ่านสื่อมวลชนมากที่สุด การกำหนดราคาสินค้าแต่ละวัน ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างไร ประชาชนทราบได้โดยผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แม้กระทั่งโทรพิมพ์ โทรทัศน์ โดยเฉพาะสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจะเสนอข่าวความเคลื่อนไหวราคาสินค้าต่อประชาชนทุกวัน

3. บทบาทในด้านสังคม การเคลื่อนไหวของประชาชนสังคมหนึ่งอาจถ่ายทอดสู่อีกสังคมหนึ่ง จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากมาย ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของสื่อมวลชน เช่น การแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 5 ธันวาคมและวันที่ 12 สิงหาคมของทุก ๆ ปี จะมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์สู่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ วิทยุทุกสถานี จะเสนอข่าวในวันนี้ จะทำให้คนทั้งชาติได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ อันเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงในชาติได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย หรือการเสนอข่าวสารทางศิลปวัฒนธรรม สื่อมวลชนก็ได้ช่วยมากมาย เช่น งานประเพณีบุญบั้งไฟที่จังหวัดยโสธร วานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี งานประเพณีแสดงของช้างที่จังหวัดสุรินทร์ งานประเพณีรดน้ำดำหัวที่จังหวัดภาคเหนือ งานประเพณีชักพระที่จัง หวัดภาคใต้ และแม้ข่าวเกี่ยวกับทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่จังหวัดบุรีรัมย์ที่ประเทศไทยได้คืนมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2532 เป็นต้น สื่อมวลชนก็ได้เสนอข่าวเป็นอย่างดี

สิทธิหน้าที่ของประชาชน (Right–Obigation of People)
ความสำนึกทางการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
สื่อมวลชน (Mass Media)
ความหมายของสื่อมวลชน
บทบาทของสื่อมวลชน
หน้าที่ของสื่อมวลชน
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
วัตถุประสงค์ของกลุ่มผลประโยชน์
พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์
มติมหาชน (Public Opinion)
ปัจจัยที่เอื้อต่อมติมหาชน
ความสำคัญของมติมหาชน
อุปสรรคของการแสดงมติมหาชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย