สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การเมืองการปกครอง

ความหมายการเมืองการปกครอง
รัฐ (State)
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม
รัฐธรรมนูญ (Constitution)
กฎหมาย (Law)
อำนาจอธิปไตย
รัฐสภา พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
ประชาชนกับบทบาททางการเมือง
ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเมืองการปกครองไทย
ระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครอง
ธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม

การเมืองการปกครองไทย

การปรับปรุงโครงสร้างการปกครอง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่นานนัก ได้มีคณะบุคคลคิดจะให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย “นั้นคือได้กบฏ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454)ขึ้น รัฐบาลสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งตั้งสมาคม “อนาคิช” (Anarchist) ขึ้น มีสมาชิกประมาณ 800-1,000 คน วางแผนจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อลดพระราชอำนาจพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ลงมาอยู่ใต้กฎหมายเหมือนในประเทศอังกฤษและญี่ปุ่น” ความจริงแล้วในสมัยรัชกาลที่ 6 พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์- ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้ทรงกราบทูลให้รัชกาลที่ 6 นำเอา “รัฐมนตรีสภา” ที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 5 มาใช้อีก เพราะทรงเห็นว่ารัชกาลที่ 6 ถูกโจมตีในหนังสือพิมพ์บ่อยครั้ง แต่ทรงปฏิบัติ เพราะทรงเชื่อว่าถึงอย่างไรก็ถูกโจมตีว่า ทรงแต่งตั้งพวกสอพลอเป็นสมาชิกอีก เมื่อไม่พร้อมที่จะรัฐสภาที่ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกทุกคนโดยเสรีภาพไม่ควรมีเสียเลย ระบอบรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจมีขึ้นได้แต่ถึงกระนั้นก็ตามรัชกาลที่ 6 จึงทรงริเริ่มทดลองประชาธิปไตยด้วยการจัดตั้ง “ดุสิตธานี” เมืองประชาธิปไตยขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต เมื่อพ.ศ. 2461 แต่การปรับตัวดังกล่าวไม่มีผลต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมประการใด เพราะเป็นการฝึกหัดเรียนรู้ประชาธิปไตยอยู่ในหมู่ข้าราชการบริพารที่ใกล้ชิดพระองค์เท่านั้น

จุมพล หนิมพานิช กล่าวว่ารัชกาลที่ 6 ได้ทรงปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการปกครองประเทศบางประการในสมัยของพระองค์ดังนี้คือ

1. กรณีของส่วนกลาง พระองค์ได้ตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือ กระทรวงทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. 2453 โดยแยกกรมทหารเรือเดิมออกจากกระทรวงกลาโหม มาตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นทำหน้าที่เกี่ยวกับทหารเรือโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันเพื่อให้การประสานงานระหว่างราชการของฝ่ายทหารบก (กระทรวงกลาโหม) กับราชการฝ่ายทหารเรือ (กระทรวงทหารเรือ) ไปได้ด้วยดี ได้ทรงตั้งสภาป้องกันราชอาณาจักรขึ้นโดยพระองค์ทรงตั้งสภาป้องกันราชอาณาจักรขึ้นโดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งประธานสภา นอกจากนี้ยังทรงตั้งกระทรวงมุรธาธร ที่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ขึ้นมาใหม่อีกเมื่อ พ.ศ. 2454 ทรงปรับปรุงราชการในกระทรวงโยธาธิการใหม่แล้วเปลี่ยนชื่อกระทรวงคมนาคมเมื่อ พ.ศ. 2454 และต่อมาได้ทรงรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทยแล้วปรับปรุงราชการในหน้าที่กระทรวงสำคัญนี้หลายประการ ขณะเดียวกันนั้นก็ได้ตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่อีกกรมหนึ่งโดยแยกการช่ว งที่เป็นประณีตศิลป์ (ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “กรมช่างสิบหมู่” ได้แก่ ช่างเขียน ช่างรัก ช่างหุ่น ช่างสลัก ช่างปั้น ช่างหล่อ ฯลฯ) จากกรมโยธา กระทรวงโยธาธิการ และโอนกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมาธิการมาจัดตั้งเป็นกรมใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2454

2. กรณีส่วนภูมิภาค พระองค์ได้ทรงปรับปรุงการปกครองส่วนนี้ เช่น โปรดให้รวมมณฑลหลายมณฑลเข้าด้วยกันเป็นภาค แต่ละภาคมีอุปราชเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งผู้ที่มาเป็นอุปราชได้ทรงกำหนดให้เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีฐานันดรระหว่างเสนาบดีและสมุหเทศาภิบาล โดยทำหน้าที่ต่างองค์พระมหากษัตริย์ และขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน สมุหเทศาภิบาลไม่ต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้เพื่อให้การสั่งการเป็นไปด้วยความรวดเร็วและรัดกุมต่อสถานการณ์บ้านเมือง

3. การปรับปรุงฝ่ายตุลาการ กิจการฝ่ายตุลาการแต่เดิมมาอยู่กับฝ่ายบริหารรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพยายามแยกงานยุติธรรมออกจากฝ่ายบริหารโดยการโอนงานศาลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายตามกรมและกระทรวงต่าง ๆ ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรมเพียงกระทรวงเดียว ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงได้ปรับปรุงกิจการของฝ่ายตุลาการอีกครึ่งหนึ่งคือ ได้โอนศาลฎีกาขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์มาสังกัดกระทรวงยุติธรรมพร้อมกันนั้นได้มีการจัดระเบียบราชการในกระทรวงยุติธรรมเสียใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2455 โดยแยกหน้าที่ราชการในกระทรวงนี้ออกเป็นฝ่ายธุรการส่วนหนึ่ง และฝ่ายตุลาการอีกส่วนหนึ่งใน พ.ศ. 2475 ได้ทรงโปรดให้ตั้งเนติบัณฑิตยสภาขึ้นเป็นสภาในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิชากฎหมายและการว่าความควบคุมจรรยาความประพฤติของทนายความด้วย

 

การปกครองไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สมัยกรุงสุโขทัย
ลักษณะการปกครอง
พ่อขุนรามคำแหงปรับปรุงการปกครอง
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการปกครอง
การจัดการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
การปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
การปรับปรุงโครงสร้างการปกครอง
การปกครองรัชกาลที่ 7
ทรงปรับปรุงการปกครอง
การปกครองในสมัยประชาธิปไตย
กระแสความคิดการปกครองแบบประชาธิปไตย
มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ธรรมนูญ
พื้นฐานประชาธิปไตยของคณะราษฎร
รัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยของไทย
รัฐสภาไทย
บทบาทและอำนาจหน้าที่รัฐสภา
การใช้อำนาจของรัฐสภา
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
การเสนอญัตติ
การตั้งกระทู้ถามและตอบกระทู้ถาม
การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการ
หลักประกันของสมาชิกรัฐสภา
ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
หน้าที่ของชนชาวไทย
แนวนโยบายแห่งรัฐ
รัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา
ที่มาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีกับอำนาจทางการเมือง
คณะรัฐมนตรีกับฝ่ายบริหาร
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตุลาการรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย