ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

เล่มที่ ๒๐

ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

เมื่อจบหมวดประมวลเรื่องราวหรือสังยุตตนิกายแล้ว จึงมาถึงหมวดที่แสดงหลักธรรมเป็นจำนวนซึ่งเรียกว่าอังคุตตรนิกาย.

พระไตรปิฏกในหมวดนี้ยังคงเป็นสุตตันตปิฏก มีด้วยกันทั้งหมด ๕ เล่ม เริ่มด้วย เล่มที่ ๒๐ จนถึงเล่มที่ ๒๔ ในการนี้เล่มที่ ๒๐ ว่าด้วยหลักธรรมจำนวน ๑, ๒,๓จึงใช้คำบาลีว่า เอก - ทุกติกนิบาท เล่มที่ ๒๑ ว่าด้วยหลักธรรมจำนวน ๔ จึงใช้คำบาลีว่า จตุกกนิบาต เล่มที่ ๒๒ ว่าด้วยธรรมจำนวน ๕ - ๖ จึงใช้คำบาลีว่า ปัญจก- ฉักกนิบาต  เล่ม ๒๓ ว่าด้วยหลักธรรม จำนวน ๗ – ๘-๙ จึงใช้คำบาลีว่า สัตตก - อัฏฐก- นวกนิบาต เล่มที่ ๒๔ ว่าด้วยหลักธรรมจำนวน ๑๐ - ๑๑ จึงใชคำบาลีว่า มสก-เอกาทสกนิบาต.

การกำหนดจำนวนพระสูตรว่าในหมวดไหน หรือนิกายไหน มีกี่สูตรนั้น ในตอนแรก ๆ ก็กำหนดง่ายนับง่าย เพราะแต่ละสูตรก็มีข้อความยึดยาว คือ ๑๐ สูตรหรือกว่านั้นเล็กน้อย ก็รวมเป็น ๑ เล่ม แต่ในตอนหลังนี้ แต่ละเล่มมีกว่าพันสูตร เพราะข้อความไม่กี่บันทัดก็นับได้ว่าเป็นสูตรหนึ่งแล้ว เพราะฉะนั้นตั้งแต่สังยุตตนิกาย เป็นต้นมา จึงควรกำหนดประเภทของหลักธรรม และในอังคุตตรนิกายนี้ควรกำหนดจำนวนเป็นเกณฑ์ว่า จำนวน ๑ มีธรรมะอะไรบ้าง จำนวน ๑๐ มีอะไรบ้าง ดังนี้ ก็จะสดวกขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้มองเห็นจำนวนพระสูตรในแต่ละนิกายอีกครั้งหนึ่ง ขอนำมากล่าวไว้ในที่นี้ เพื่อให้พิจารณาดังต่อไปนี้ -

๑. ทีฆนิกาย หมวดพระสูตรขนาดยาว (เล่ม ๙ ถึง ๑๑ รวม ๓ เล่ม) มี ๒๔ สูตร.

๒. มัชฌิมนิกาย หมวดพระสูตรขนาดกลาง ( เล่ม ๑๒ ถึง ๑๔ รวม ๓ เล่ม ) มี ๑๕๒ สูตร.

๓. สังยุตตนิกาย หมวดพระสูตรที่ประมวลเรื่องราว (เล่ม ๑๕ ถึง ๑๙ รวม ๕ เล่ม ) ๗,๗๖๒ สูตร.

๔. อังคุตตรนิกาย หมวดพระแสดงหลักธรรมเป็นจำนวน ( เล่ม ๒๐ ถึง ๒๔ รวม ๕ เล่ม) มี ๙,๕๕๗ สูตร.

๕. ขุททกนิกาย หมวดพระสูตรเล็กน้อยหรือเบ็ดเตล็ด ( เล่ม ๒๕ ถึง ๓๓ รวม ๙ เล่ม ) ไม่ได้แสดงจำนวนสูตรไว้ แต่มีคำกล่าวว่า สูตรที่เหลือจาก ๔ นิกายข้างต้นก็นับเข้าในขุททกนิกายทั้งสิ้น.

เมื่อเทียบดูจำนวนสูตร ในพระสูตตันตปิฏกทั้งห้านิกาย ก็จะเห็นได้ว่ามาถึงนิกายหลัง ๆ ตั้งแต่นิกายที่ ๓ ( สังยุตตนิกาย ) มา เรื่องเบ็ดเตล็ดหรือเรื่องย่อย ๆ มีมากขึ้นจนไม่สามารถจะย่อได้ทุกสูตรดั่งแต่ก่อนจึงต้องย่ออย่างจับสาระสำคัญเป็นหมวดใหญ่ ๆ ไว้.

เฉพาะในเล่ม ๒๐ คืออังคุตตรนิกาย ที่ว่าด้วยหลักธรรมเป็นจำนวน ๑-๒-๓ นี้ ท่านผู้อ่านย่อมเห็นได้ชัดว่า ควรจะได้แบ่งส่วนสำคัญออกเป็น ๓ ส่วนตามจำนวนเลขนั้น คือรวมหลักธรรมจำนวน ๑ เรียก เอกนิบาต รวมหลักธรรมจำนวน ๒ เรียกทุกนิบาต รวมหลักธรรมจำนวน ๓ เรียกติกนิกลบาต .

ก่อนที่จะกล่าวรายละเอียดพอสมควร จะขอชี้แจงส่วนใหญ่หรือความสำคัญใน ๓ ชั้นนั้น เป็นการนำทางไว้ในเบื้องแรก คือ -

เอกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑ ข้อ

ในหมวดนี้ แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๖ หมวดด้วยกัน คือ -

๑. เอกธัมมาทิปาลิ บาลีว่าด้วยธรรมะข้อ ๑ เป็นต้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมะข้อ ๑ หรือ ๑ ข้อ มีความสำคัญในทางต่าง ๆ กัน ทานไหนบ้าง.

๒. เอกปุคคปาลิ บาลีว่าด้วยบุคคลคนหนึ่ง จะเป็นใครก็ตาม ที่มีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ นับว่าเป็นผู้หายากหรือคนอัศจรรย์ เป็นต้น.

๓. เอตทัคคปาลิ บาลีว่าด้วยเอตทัคคะ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องให้เป็นเลิศในทางต่าง ๆ ตามความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ และความถนัด.

๔. อัฏฐานปาลิ บาลีว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น เป็นไปไม่ได้ที่คนผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ( ผู้ไม่มีความคิดเห็นวิปลาสหรือพระโสดาบันขึ้นไป จะฆ่ามารดาบิดา.

๕. อปรา เอกธัมมาทิปาลิ บาลีว่าด้วยธรรมะข้อ ๑ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่ง เป็นการกล่าวเพิ่มเติมจากหมวดที่ ๑.

๖. ปสาทกรธัมมาทิปาลิ บาลีว่าด้วยธรรมมะที่ทำให้เกิดความเลื่อมใส เป็นต้น.

ธรรมะทั้งหกหมวดนี้ รวมกันแล้ว มี ๑,๐๐๐ สูตรพอดี บางหมวดก็มีมาก บางหมวดก็มีน้อยโดยปกติจัด ๑๐ สูตรเป็น ๑ วรรค , ๕๐ สูตรเป็น ๑ ปัณณาสกะ ซึ่งในการย่อต่อไปจะไม่กล่าวถึงวรรคและปัณณาสกะ จะกล่าวแต่เนื้อหาธรรมะในหมวดนั้น ๆ .

ทุกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๒ ข้อ

ในหมวดนี้ แบ่งส่วนใหญ่ออกเป็น ๔ ส่วน แต่ไม่กล่าวถึงเนื้อธรรมะ หากล่าวถึงหมวด ๕๐ ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ และหมวดพิเศษที่ไม่นับเข้าในหมวด ๕๐ แต่ในหมวด ๕๐ นั้น ( ซึ่งหมายความว่ามี ๕๐ สูตร ) ยังแบ่งเป็นวรรคอีกหมวดละ ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร ชื่อวรรคกล่าวตามประเภทธรรมะ เช่น กัมมกณรวรรค (วรรคว่าด้วยเครื่องลงโทษ).

ติกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๓ ข้อ

ในหมวดนี้ แบ่งส่วนใหญ่ออกเป็น ๔ ส่วน เช่นเดียวกับทุกนิบาต คงแปลกออกไปแต่ชื่อวรรคเท่านั้น ต่อไปนี้จะเป็นการย่ออย่างขยายความ.

เอกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๑ ข้อ

ในการขยายความแห่งไตรปิฏกเล่ม ๒๐ นี้ เนื้องด้วยไม่สามารถจะกล่าวโดยพิสดารทุกเนื้อถ้อยกระทงความ จึงจะใช้วิธีพิจารณาดูว่า ในหมวดไหนมีความสำคัญอย่างธรรมดา ก็จะนำมากล่าวพอเป็นตัวอย่างไม่น้อยกว่า ๑๐ ข้อ เรื่องไหนมีความสำคัญทางหลักฐานจริง ๆ เช่น เรื่องเอตทัคคะ ที่พระผู้มีภาคทรงยกย่องผู้นี้ว่าเลิศทางไหน ก็จำเป็นที่จะต้องระบุนามหมดทุกท่าน.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- เอกธัมมาทิปาลิ บาลีว่าด้วยธรรมะ ๑ ข้อ
- เอกปุคคลปาลิ บาลีว่าด้วยบุคคลหนึ่ง
- เอตทัคคปาลิ บาลีว่าด้วยเอตทัคคะ
- อัฏฐานปาลิ บาลีว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
- อปรา เอกธัมมาทิปาลิ บาลีว่าด้วยธรรมะข้อหนึ่ง เป็นต้น อื่นอีก
- ปสาทกรธัมมามาทิปาลิ บาลีว่าด้วยธรรมะที่ทำให้เกิดความเลื่อมใส เป็นต้น

ว่าด้วยเครื่องลงโทษ
ว่าด้วยคนพาล
ว่าด้วยเรื่องเล็กน้อย
ตติยปัณณาสก์


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย