วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

มหาชาติธรรมเทศน์
(ฉบับเมืองเพชร ร่ายโดย:   ชำนาญ นิลสุข)

กัณฑ์ที่ 1 กัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์ที่ 3 กัณฑ์ที่ 4 กัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ที่ 6 กัณฑ์ที่ 7 กัณฑ์ที่ 8  กัณฑ์ที่ 9  กัณฑ์ที่ 10 กัณฑ์ที่ 11  กัณฑ์ที่ 12  กัณฑ์ที่ 13

กัณฑ์ที่ 3 (ทานกัณฑ์)

(กาพย์สุรางคนางค์)

          ถึงกัณฑ์ที่สาม           ขึ้นชื่อลือนาม          เป็นความนิยม           นาม"ทานกัณฑ์"
สร้างสรรค์สะสม                   สู่สุโขดม                บรมธรรม
          พระเวสสันดร            จะจากนคร              ไร้ร้อนรื่นรัมย์            ทำทานงานชอบ
เป็นกอบเป็นกำ                   มนัสน้อมนำ            สัมโพธิญาณ
          ยาจกยากจน             มากหมู่ผู้คน            สับสนไพศาล             เนืองแน่นถนน
หลามล้นพระลาน                ทรงธรรม์ประทาน    ประมาณมากมี
         ข้าวของเครื่องใช้       บรรดาหาได้             ที่ในธานี                   นำมาประทาน
ชาวบ้านเปรมปรีดิ์              ทั้งไพร่ผู้ดี                 สุดที่สาธุการ
          อย่างละเจ็ดร้อย        นับไปไม่น้อย            ใช้สอยสุขศานต์         ช้างม้าอย่างดี
เป็นที่โปรดปราน                นำมาประทาน           คนจนเข็ญใจ
          รถที่ดีเยี่ยม              คิดเทียบคงเทียม      เบ๊นซ์ล้ำสมัย             ประทานเจ็ดร้อย
น้อยเสียเมื่อไหร่                 สนมนางใน               แจกไปเท่ากัน
          ข้าทาสบริวาร           สมัยโบราณ               เนิ่นนานอนันต์          แจกไปเจ็ดร้อย
ปลดปล่อยไปพลัน               ไปแย่งแบ่งกัน           ไปบ้านละคน
          จบ"ทานกัณฑ์"        พิณพาทย์ตีพลัน         ครื้นครั่นคำรน           เพลงพญาโศก
โอ้โอฆอลวน                      เจ้าของนิมนต์           พระรับเครื่องกัณฑ์
          คาถารวมเข้า           ถึงสองร้อยเก้า           เข้าเค้าสำคัญ           ให้ทานมากมาย
สืบสายสัมพันธ์                   บารมีสามัญ               อุปบารมี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย