ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด »

จังหวัดเพชรบุรี

ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก

เพลงปรบไก่

การละเล่นเพลงปรบไก่นับว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง จะเล่นเป็นประจำทุกปี ในวันเพ็ญ เดือน 6 เพื่อบวงสรวงศาลประจำหมู่บ้านและทำพิธีขอฝน

การละเล่นเพลงปรบไก่นับว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง ชื่อการละเล่นเพลงปรบไก่ จะปรากฎในวรรณคดีหลายเรื่องในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนตอน ขวาดอาระวาด ฉบับหอสมุดแห่งชาติเล่ม 2 (ม.ป.ป. : 1062) กล่าวว่า มาถึงบางเทวาฝ่ายป่าโมก จระเข้บกหันหางเข้าแฝงฝั่ง เพราะที่นั้นน้ำลึกตระพักพัง เข้าเฟือยฟังแยบคายอยู่ท้ายวัง เป็นเทศกาลชาวบ้านมาไหว้พระ เสียงเอะอะเรือแพออกแออัด แข่งกันไปมาอยู่หน้าวัด บ้างวัดเพลงปรบไก่ใส่เรือเพลง

นอกจากนี้การละเล่นเพลงปรบไก่ยังปรากฎในวรรณคดีเรื่ออิเหนา พระอภัยมณี อุณรุท และในบทละครดึกดำบรรพ์เรื่องคาวี พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานิศรานุวัดติวงศ์ ตลอดจนในบทละครเรื่องศกุนตรา พระนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็มีปรากฎแทรกอยู่ด้วยกันเช่นกัน อีกทั้งนักปราชญ์ทางดนตรีไทยได้นำคำร้องรับ ของลูกคุ่การละเล่นเพลงปรบไก่มาแปลงเป็นวิธีตีตะโพนเลียนเสียงจากบทลูกคู่ที่รับว่า "ฉ่า ฉ่า ฉ่า ฉ่า ชะชาไฮ้" มาเป็น "พรึงป๊ะ ตุ๊บ พรึง พรึง ตุ๊บ พรึง" เรียกกันว่า หนเาทับปรบไก่ ต่อมาภายหลังได้ดัดแปลงออกมาเป็นวิธีตีเครื่องหนังอื่นๆ หลายอย่าง หน้าทับปรบไก่จึงเป้นหน้าทับสำคัญของการบรรเลงดนตรีไทย (อาคม สายาคม 2525 : 113) ส่วนความเป็นมาของการละเล่นขอลเพลงปรบไก่ของจังหวัดเพชรบุรีนั้น นิยมเล่นกันมากที่บ้านดอนข่อย ตำบลลาดโพ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เป็นการละเล่นที่สืบทอดกันมาช้านานลาว 150 ปี ซึ่งเป็นการละเล่นที่เล่นกันมาแต่ครั้งกรุงเก่าครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 แล้ว

การละเล่นเพลงปรบไก้บ้านดอนข่อยนั้นจะเล่นเป็นประจำทุกปี ในวันเพญเดือน 6 เพื่อบวงสรวงศาลประจำหมู่บ้านและทำพิธีขอฝน ในงานบวงสรวงศาลเจ้าพ่อปู่ พิธีบวงสรวงและขอฝนจะเริ่มตั้งแต่เช้า มีการทำบุญเลี้ยงพระเมื่อเสร็จพิะเลี้ยงพระราว10.00 น. จึงเล่นเพลงปรบไก่ไปจนถึงเย็น ชาวบ้านดอนข่อยไร่คาวังบัวที่ดยกย้ายไปอยุ่ถิ่นอื่นจะกลับมาร่วมพิธีบวงสรวงศาลทุกปี เพราะเชื่อกันว่าถ้าใครไม่กลับมาบูชาตนเองและสมาชิกในครอบครัวจะประสบเหตุร้ายหรือเจ็ยไข้ได้ป่วยทั้งยังเชื่อว่าความทุกข์ร้อนต่างๆที่เกิดขึ้นกับคนในหมู่บ้าน ตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เมื่อขอความช่วยเหลือจากหลวงพ่อปู่แล้วจะช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์ร้อนทั้งหลายให้สิ้นไป ดังนั้นเมื่อผู้ใดเดือดร้อนจึงมักบนบานหลวงพ่อปู่เสมอและเมื่อพ้นทุกข์แล้วก็จะแก้บนด้วยการเล่นเพลงปรบไก่

องค์ประกอบของการละเล่นเพลงปรบไก่ จังหวัดเพชรบุรี

1. สถานที่สำหรับการเล่นเพลงปรบไก่

สถานที่แต่เดิมแสดงหน้าศาลหลวงพ่อปู่ต่อมาได้มีผู้หาไปเล่นในงานต่างๆเช่น งานแก้บน

2. วิธีเล่นเพลงปรบไก่

แบ่งผู้เล่นออกเป้น 2 ฝ่าย เป็นชายและหญิง แต่ละฝ่ายจะมีพ่อเพลงแม่เพลงฝ่ายละ 1 คนมีลูกคู่อีกประมาณฝ่ายละ 4 คน วิธีเล่นมีขั้นตอนดังนี้

2.1 บทเบิกบาน หรือบทสัคเค เป้นการเชิญเทวดาเชิญเจ้าต่างๆ รวมทั้งหลวงพ่อปู่ให้มาสถิตในสถานที่นั้นเพื่อเป็นสวัสมงคลแก่สถานที่นั้น

2.2 บทไหว้ครู เป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พ่อแม่ครูอาจารย์และผู้มีพระคุณเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เล่นการไหว้ครุมี 3 ลักษณะดังนี้

- การไหว้ครูที่ศาลประจำหมู่บ้าน
- การไหว้ครูแก่บน
- การไหว้ครูบนเวทีการแสดง

2.3 บทสาธุการ การว่าบทสาธุการนั้นเนื้อร้องมีลักษระคล้ายกับบทไหว้ครูคือเป็นการระลึกถึงผู้มีพระคุณต่างกันที่วิธีการแสดง

2.4 รำส่งหรือติดวง เมื่อว่าบทสาธุการจบแล้วผู้เล่นทุกคนจลุกขึ้นเดินรำเป็นวงกลม พร้อมทั้งร้องเพลงปรบไก่ไปด้วย การรำส่งนี้เป็นการรำขั้นระหว่างบททุกครั้ง

2.5 บทเกริ่นพ่อเพลงจะเดินออกจากวงไปหาแม่เพลงร้องเชิญฝ่ายหญิงให้ออกมาร้องเพลงปรบไก่กัน เมื่อว่าบทเกริ่นจบผ็เล่นจะรำส่ง

2.6 บทประหรือตับ เป้นการร้องโต้ตอบเชิงเกี้ยวพาราสี ของฝ่ายชายและหญิงจะเริ่มที่พ่อเพลงก่อน จะเดินรำออกไปหาฝ่ายหญิงที่ตนชอบเมื่อว่าบทจบ จะกลับมาที่เดิม ฝ่ายชายและหญิงที่ยืนอยู่รอบวงก็จะยืนอยู่กับที่ร้องรับเป็นลูกคู่พร้อมทั้งปรบมือเป็นจังหวะ

2.7 บทตับเกร็ด เป็นบทที่ใช้ฝีปากดต้ตอบหรือปะคารมกันได้อย่างเต็มที่ จะโต้ตอบกันอย่างเผ็ดร้อนในเรื่อง 2 แง่ 2 ง่าม กระบวนกลอนจะเป็ไปในทำนองเชิงเกี้ยวพาราสีมักจะมีเรื่องเพศประกอบ

2.8 บทจับเรื่องหรือขึ้นตับเป็นบทที่เล่นเเป็นเรื่องเป็นราว ฝ่ายชายและหญิงเป้นตัวละครตามเนื้อเรื่อง เรื่องที่นิยมเล่นคือเรื่องไกรทอง และเรื่อสุวิญชา

2.9 บทลา ดเป็นบทสุดท้ายของการแสดงผู้แสดงทั้งหมดจะนั่งพับเพียบประนมมือและร้องเพลงปรบไก่เนื้อร้องจะเป้นการอวยชัยให้พรผู้ชม และลาผู้ชมกลับบ้าน

3. การแต่งกาย

ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบนผ้าพื้นสีสดสวมเสื้อสีหรือผ้าดอกลายสวยงามมีผ้าขาวม้าขาดเอวหรือไหล่ ห้ยปลายทั้ง 2 ข้างไว้ด้านหน้า ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนลายสวมเสื้อคอกลมคอเหลี่ยมแขนสั้นเหนือศอกห่มสะไบทิ้งชายหรือผูกชายห้อยข้างเอว

4. เครื่องคนตรี

ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน ปี่ กลอง ฉิ่งในการบรรเลงประกอบการเล่นเพลงปรบไก่นั้นคนตรีจะบรรเลงในขณะที่มีการร้องและการรำในช่วงที่มีการร้องดนตรีจะบรรเลงเบาๆ และจะบรรเลงดังในช่วงที่ผู้เล่นรำ

***ที่มา
ทิพยา ปัญญาวัฒชิโล การละเล่นพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรี เพชรบุรี
ภาควิชานาฏศิลป์ คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2537

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» สุนทรภู่ ตระกูล “พราหมณ์เมืองเพชร”
» ตามรอยเสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๓
» วรรณกรรมเมืองเพชรบุรี