ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

จังหวัดปทุมธานี
ตราสัญญาลักษณ์ ประจำจังหวัดปทุมธานี
ทั่วท้องน้ำเจ้าพระยาในแถบนี้ เต็มไปด้วยดอกบัวเด่น เป็นสัญลักษณ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยจึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อเมืองใหม่
จากสามโคกเป็นปทุมธานี
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
คำขวัญ :
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา
ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
ต้นไม้ประจำจังหวัด
: ปาริชาติ
ดอกไม้ประจำจังหวัด
: ดอกบัวหลวง
ลักษณะนิสัยใจคอ
ผู้คน : ยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารีย์มีน้ำใจ เป็นมิตร และรักชาติ ศาสน์
กษัตริย์
วิถีชีวิต
: แบบพอเพียง พึ่งพาอาศัยกัน และให้เกีรติซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน
คติพจน์
: "สามัคคีคือพลัง"
เพลงประจำจังหวัด
ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้าพระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรีชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว
ชาวปทุมล้วนตระหนักในศักดิ์ศรีมุ่งทำดีด้วยหัวใจมิใฝ่ชั่ว
ชาวปทุมแช่มชื่นพร้อมตื่นตัวพัฒนาครอบครัวทั่วทุกคน
ชาวปทุมมั่นใจในชาติศาสน์กษัริตย์ยอดสมบัติวัฒนาสถาผล
ชาวปทุมรู้จักรักเตือนตนสมค่าคนที่เกิดมาทุกนาที
ชาวปทุมรักปทุมชุ่มชีวิตใครมาคิดทำลายเราไม่หนี
มีหลักเมืองเป็นร่มเงาเนาฤดี ชาวปทุมธานีมีสุขเอย
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านใจกลางจังหวัด ทำให้พื้นที่ของจังหวัดปทุมธานีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือฝั่งตะวันตกของจังหวัด หรือบนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ พื้นที่ในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว กับพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมืองและอำเภอสามโคก กับฝั่งตะวันออกของจังหวัดหรือบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสระบุรี
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครนายก และฉะเชิงเทรา
- ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนนทบุรี
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี