ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดสระบุรี
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดสระบุรี (3)
เจ้าเมืองคนใหม่ที่ทางมณฑลแต่งตั้งมาปกครองเมืองสระบุรี ระหว่างที่ศาลากลางเมืองอยู่บ้านไผ่ล้อมน้อยนั้น คือ พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม (ดิศ) มาเป็นเจ้าเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2441 ถึง 2452
ท่านเจ้าคุณพิชัยฯ เป็นเจ้าเมืองสระบุรีไม่นานนัก ก็พอดีในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นมาถึงเมืองสระบุรี ท่านเจ้าคุณพิชัยเห็นว่าตัวเมืองเดิมที่เสาไห้นั้น อยู่ห่างไกลจากทางรถไฟ ภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันสมัยนั้น ยากแก่การขยายเมืองในอนาคต จึงได้ดำเนินการสร้างศาลากลางขึ้นใหม่ ณ บริเวณตำบลปากเพรียว การก่อสร้างได้ดำเนินการเรื่อยมาและสำเร็จสามารถโยกย้ายข้าราชการขึ้นทำงานบนศาลากลางได้ ก็เข้าถึงเจ้าเมืองสระบุรีคนที่ 3 คือ พระยาบุรีสราธิการ (เป้า จารุเสถียร) บิดาของ จอมพลประภาส จารุเสถียร (ปี พ.ศ. 2456-2457)
ศาลากลางหลังเก่าได้รับใช้ประชาชนเมืองสระบุรีมาจวบกระทั่งปี พ.ศ. 2509 ทางการจึงใช้งบประมาณมาสร้างศาลากลางหลังใหม่ (ปัจจุบันนี้) ในสมัยของนายประพจน์ เรขะรุจิ ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (พ.ศ. 2509-2513)
พ.ศ.2470 ทัพไทยไปตีนครเวียงจันทน์ ได้นำครอบครัวลาวเวียงจันทน์ ลาวพวน (เมืองเชียงขวาง) ลงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ลพบุรี และสระบุรี จากเหตุการณ์สงครามทั้งสี่ครั้งดังกล่าว ทำให้เมืองสระบุรีมีคนลาว และชาวเชียงแสนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทำให้สระบุรีมีประชาการเพิ่มมากขึ้น ชาวลาวที่มาตั้งถิ่นฐานเรียกชื่อตามสำเนียงภาษาพูดต่างกันเป็น 4 กลุ่มคือ
- ลาวเวียง คือชาวลาวจากเวียงจันทน์ ปัจจุบันมีอยู่มากที่อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ
- ลาวพวน คือชาวลาวที่มาจากเมืองพวนในแขวงเชียงขวาง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอหนองโดน และอำเภอดอนพุด
- ลาวแง้ว คือชาวลาวที่มาจากชนบทชานเมืองเวียงจันทน์ ปัจจุบันอยู่ที่บ้านตาลเสี้ยน บ้านหนองระกำ อำเภอพระพุทธบาท และบางหมู่บ้านในอำเภอหนองโดน
- ลาวญ้อ คือชาวลาวที่มาจากเมืองคำเกิด มีอยู่บางหมู่บ้านในอำเภอแก่งคอย
ส่วนชาวเชียงแสนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองสระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2347 คือ ในเขตอำเภอเสาไห้ เรียกตนเองว่า คนยวน (มาจากโยนก) ปัจจุบันมีอยู่ทุกอำเภอในจังหวัดสระบุรี ยกเว้นอำเภอหนองโดน และอำเภอดอนพุด ได้นำภาษาและวัฒนธรรมประเพณี ของชาวล้านนาไทยมาใช้สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านมาทางจังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2439 พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีจึงได้ย้ายศาลากลางจังหวัด จากเขตอำเภอเสาไห้มาตั้งที่ตำบลปากเพรียว เพื่อให้สะดวกต่อการาคมนาคม
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในตำนานเมืองสระบุรี มีความตอนหนึ่งว่า
"ในสมัยเมื่อยังไม่ได้สร้างทางรถไฟหลวง บรรดาสินค้ากรุงเทพ ฯ ซึ่งจะส่งขึ้นไปมณฑลนครราชสีมาต้องบรรทุกเรือไปหยุดที่ท้ายแก่งเพรียวนี้ แล้วขนบรรทุกโคตั่งเดินทางไป สินค้ามณฑลนครราชสีมาที่จะส่งลงมาทางกรุงเทพ ฯ ก็ต้องบรรทุกโคตั่งข้ามเทือกเขามาจนถึงที่ตำบลปากเพรียว แล้วพวกพ่อค้ากรุงเทพ ฯ รับบรรทุกเรือลงมาที่ปากเพรียว เป็นที่รับส่งสินค้าดังกล่าวมา จึงเป็นท้องตลาดที่ประชุมชนแห่งหนึ่งมาช้านาน"
เมื่อทางรถไฟเสร็จแล้ว ภายในจังหวัดสระบุรีก็มีถนนเกิดขึ้นหลายสาย นับแต่สมัยโบราณก็มี ถนนฝรั่งส่องกล้อง จากท่าเรือถึงพระพุทธบาท เป็นถนนสายแรกที่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2149 ถนนสายต่อมาคือ ถนนสายหนองโดน - พระพุทธบาท และถนนพิชัยรณรงค์สงคราม จากตัวเมืองสระบุรีถึงอำเภอเสาไห้ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2471 - 2476
สำหรับถนนสายอื่น เมื่อปี พ.ศ.2480 - 2482 มีการสร้างถนนพหลโยธิน จากกรุงเทพ ฯ ถึงสระบุรี ในปี พ.ศ.2498 - 2501 มีการสร้างถนนมิตรภาพ จากสระบุรีถึงหนองคายที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคฯ, หอมรดกไทย
<<< ย้อนกลับ ||
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี