ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดสระบุรี
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดสระบุรี
การแข่งขันเรือยาวประเพณีลุ่มน้ำป่าสัก
จัดให้มีการแข่งขันขึ้น ณ บริเวณท่าน้ำ
หน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้ ในวัน เสาร์-อาทิตย์สุดท้ายของเดือนกันยายน
โดยเชิญเรือยาวจากจังหวัดต่างๆ เข้าแข่งขันชิงความเป็นเจ้าฝีพายในลุ่มน้ำป่าสัก
ประเพณีเจ้าพ่อเขาตก
หรือ งานแห่เจ้าพ่อเขาตก
ที่บริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท
จัดเป็นงานประเพณีประจำปี โดยในงานนี้จะมีการแสดงอภินิหารต่าง ๆ ของเจ้าพ่อเขาตก
ควบคู่กันไปกับการกระทำพิธีลุยไฟ แห่สิงโตล่อโก๊ะ
งานโคนมแห่งชาติ
จัดขึ้นที่อำเภอมวกเหล็ก ในเดือนมกราคมของทุกปี
โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานของทุกปี
ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเกษตรกรผู้เลี้ยงโค
ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท
รอยพระพุทธบาทค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้มีการสร้างมณฑป
ครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ปัจจุบันรอยพระพุทธบาทตั้งอยู่ ณ บริเวณวัด
พระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตำบลขุนโขลน ในปีหนึ่งๆ
จะมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางไปนมัสการด้วยความเลื่อมใส ศรัทธา
ได้กำหนดให้มีการจัดงานนมัสการปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เริ่มตั้ง แต่วันขึ้น 1 ค่ำ
ถึง 15 ค่ำ เดือน 3 รวม 15 วัน ครั้งที่ 2 เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 8 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ
เดือน 4 รวม 8 วัน
ประเพณีกำฟ้า
งานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ วันสุกดิบ (วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน
3) จะมีการ ละเล่นพื้นเมือง เช่น เล่นสะบ้า ชนไก่ เผาข้าวหลาม ฯลฯ ส่วนในวันขึ้น 3
ค่ำ เดือน 3 จะมีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ เล่าประวัติบรรพบุรุษ ฯลฯ
งานจัดขึ้นที่ตำบลไผ่หลิ่ว อำเภอดอนพุด
ประเพณีเจ้าพ่อเขาตก
หรือเรียกว่า "งานแห่เจ้าพ่อเขาตก" เป็นงานประเพณีประจำปี
โดยในงาน นี้จะมีการแสดงอภินิหารต่างๆ ของเจ้าพ่อเขาตก ควบคู่กันไปกับการ
กระทำพิธีลุยไฟ แห่สิงโตล่อโก๊ะ และการแสดงงิ้ว ส่วนมากชาวจีนที่เป็น
ลูกศิษย์อยู่ทั่วประเทศจะเดินทางมาร่วมงานตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 รวม 4
วัน ที่บริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระ พุทธบาท
ประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้ว
ชาวพุทธเชื่อกันว่า "พระเขี้ยวแก้ว"
เป็นฟันของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4
ชาวอำเภอพระพุทธบาทจะอัญเชิญพระ
เขี้ยวแก้วจากพิพิธภัณฑ์วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ออกแห่ฉลอง รอบเมือง
โดยมีความเชื่อว่า หากมีการแห่พระเขี้ยวแก้วแล้วจะสามารถ
บันดาลให้ประชาชนชาวพระพุทธบาทได้รับความร่มเย็นเป็นสุข
ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง
ประเพณีสงกรานต์สรงน้ำเสานางตะเตียนวัดสูง
จัดให้มีประเพณีสงกรานต์สรงน้ำเสานางตะเคียน (เสาร้องไห้)
บริเวณ หน้าอุโบสถวัดสูง ตำบลเสาไห้ ในวันที่ 23 เมษายน มีการทำบุญตักบาตร
รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และปิดทองเสานางตะเคียน
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
เป็นประเพณีที่สำคัญของอำเภอพระพุทธบาท โดยในวันเข้าพรรษาซึ่ง
ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จะมีประชาชนจำนวนมากพากันไปทำบุญตัก
บาตรที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เสร็จจากการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าแล้ว
ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ดอกเข้าพรรษา" มี 4 สี คือ สีเหลือง
สีขาว สีม่วง และสีส้ม ลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือ ต้นขมิ้น
ดอกไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามไหล่เขา และจะมีเฉพาะช่วงเข้าพรรษา เท่านั้น
การตักบาตรดอกไม้
จะทำในตอนบ่าย ในขณะที่พระภิกษุอุ้มบาตรเดินขึ้นบันได
จะรับดอกไม้จากประชาชนเพื่อนำไปนมัสการรอยพระพุทธบาท หลังจากนั้นก็จะเดินลงมา
ตลอดทางจะมีชาวบ้านนำขันน้ำลอยด้วยดอกพิกุล
คอยอยู่ตามขั้นบันไดเพื่อล้างเท้าให้ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการ
ชำระบาปที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไป
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี