ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด »

จังหวัดพิษณุโลก

ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดพิษณุโลก(2)

ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองพิษณุโลก ในช่วงที่พระเจ้าลิไท เสด็จมาประทับเท่าที่หลักฐานเหลืออยู่น่าจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพิษณุโลก ในช่วงนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศูนย์กลางการติดต่อที่สำคัญของลุ่มน้ำน่าน

ต่อมาระหว่าง พ.ศ.1981-1994 เจ้าเมืองพิษณุโลกเอาใจออกห่างพาพลเมืองไปร่วมกับพระเจ้าเชียงใหม่ ทางอยุธยาจึงส่งเจ้านายขึ้นมาปกครอง เมืองพิษณุโลกแล้วผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

ในสมัยอยุธยา พิษณุโลกมีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมือง การปกครองยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จ พระบรม ไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ.200-2031 รวม 25 ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของ พิษณุโลก

สมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.ศ.2112-2133 ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลก เป็นนัก กอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย ทรงสถาปนาพิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการประสานต่อ ความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากพิษณุโลกตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐ ทางเหนือคือ ล้านนาและกรุงศรีอยุธยาทางใต้ ความสัมพันธ์ ระหว่าง รัฐทั้งสองบางครั้ง เป็นไมตรี กันบางครั้งขัดแย้งกันทำสงครามต่อกัน มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทาง วัฒนธรรมประเพณีทั้ง 2 รัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ พิษณุโลกเป็นเส้นทาง สิ้นค้า ของป่า และผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัยการคมนาคม ผ่านลำน้ำ น่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้า นานาชาติแห่งหนึ่ง ในภูมิภาค เอเซียตะวันตกเฉียงใต้ ในปัจจุบัน ที่พิษณุโลก มีหลักฐานชัดเจนว่า เป็นแหล่งผลิต เครื่องถ้วยคุณภาพดีซึ่งมีอยู่ทั่วไปบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยเฉพาะ ที่วัดชีประขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้ นอกจาก จะใช้ในท้องถิ่น แล้วยังเป็นสินค้าส่งออก ไปขาย ต่างประเทศด้วยวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในสมัย พระบรมไตรโลกนาถ นับว่าเมืองพิษณุโลกมีความสำคัญยิ่ง ทางเศรษฐกิจ คือเป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ จัดระเบียบการปกครอง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีอัครเสนาบดี เป็นผู้ช่วย ในการบริหารงานคือ สมุหกลาโหม สมุหนายกหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความ ดูแลของ สมุหกลาโหม และหัวเมืองชายทะเลอยู่ในความดูแลของกรมท่า ด้านศาสนา แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ในสงคราม ระหว่าง อาณาจัก ล้านนา-อยุธยาและพม่า-กรุงศรีอยุธยา มาตลอดแต่การพระศาสนา ก็มิได้ ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทาง โบราณวัตถุโบราณสถาน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูป และวัด ปรากฏในปัจจุบัน เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร(วัดใหญ่)วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ และวัดเจดีย์ยอดทองเป็นต้น ล้วนเป็น ศิลปวัฒนธรรม สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการ บูรณะ ปฏิสังขรณ์ของเดิม ที่มีมาครั้ง กรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนา ได้มีการบำรุงมาโดยตลอด ในรัชการสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคาร วัดจุฬามณีขึ้น ในปี พ.ศ.2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.2008

ในสมัยอยุธยาเคยเป็นทั้งราชธานี เมืองลูกหลวง และเมืองเอกฉะนั้นจึงได้รับความอุปถัมภ์ทะนุบำรุงในทุกๆ ด้านสืบต่อกันมานอกจากบางระยะ เวลาที่พิษณุโลกอยู่มนสภาวะสงคราม โดยเฉพาะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ทั้ง 2 ครั้ง ความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏก็ถดถอยลงบ้างแต่ในที่สุดก็หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรม ของชาวไทย มาจนถึงปัจจุบัน

ครั้นถึงในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมือง ยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ ควรมีผู้ที่เข้มแข็ง ที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมือง จึงทรงแต่งตั้ง เจ้าพระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็น "เจ้าพระยา สุรสีห์พิษณุวาธิราช " สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก โดยขึ้น ต่อกรุงธนบุรี เมื่อได้ทรงแต่งตั้ง ผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จนครบถ้วนแล้วจึงเสด็จกลับ ไปยังกรุงธนบุรี

พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ ได้วาง แผนยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย ตีได้เมืองตาก เมืองสวรรคโลก บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรี และ เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อทราบข่าว ข้าศึก จึงรีบยกทัพกับมารับทัพพม่า ที่เมืองพิษณุโลกก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ ยกทัพมาตั้งค่ายล้อมเมืองพิษณุโลก กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทย หลายครั้งแต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ช่วยป้องกันเมือง เป็นสามารถ ทั้งที่ทหารน้อยกว่า แต่ไม่สามารถชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ ถึงกับกล่าวยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทย และขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดรบกัน 1 วัน ทหารทั้งสองฝ่ายรับประทานอาหารร่วมกันด้วย เมื่อแม่ทัพไทย และ แม่ทัพพม่า ยืนม้าเจรจากันในสนามรบ อะแซหวุ่นกี้ก็เห็นรูปลักษณะ ของ เจ้าพระยาจักรี แล้วจึงได้กล่าวสรรเสริญว่า "ท่านนี้รูปงาม ฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบกับเราผู้เป็น ผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์."และบอกเจ้าพระยาจักรี ว่า....

"จงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคงเถิดเราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้ในครั้งนี้ "

<<< ย้อนกลับ || อ่านต่อ >>>

จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย