ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด »

จังหวัดสกลนคร

ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดสกลนคร(2)

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฏเจ้าเมืองชื่อพระบรมราชา (มั่ง) เจ้าเมืองสกลทวาปีในขณะนั้น ไปเข้าข้างเจ้าอนุวงศ์ซึ่งเป็นกบฏ ยกเข้ามากวาดต้อนผู้คนทางภาคอีสาน  พระบรมราชา (มั่ง) เข้าข้างเจ้าอนุวงศ์  อพยพครอบครัวไปอยู่มหาชัยก่องแก้ว  เหลือแต่กรรมการเมืองผู้น้อยทิ้งไว้เฝ้าเมือง ต่อมาเมื่อ  พ.ศ.2373 โปรอเกล้าฯ  ให้พระสุนทรราชวงศา (ปุต) เจ้าเมืองยโสธร ซึ่งทำความดีความชอบเมื่อครั้งปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์มารักษา เมืองสกลทวาปีและเปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปีเป็น เมืองสกลนคร

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รวมทั้งบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว)  เดิมเรียกว่า อาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งเป็นอาณาจักรของของสมัยเรืองอำนาจ ในดินแดนแถบนี้ ขอมได้ตั้งเมือง ศรีโคตรบูรณ์เป็นราชธานี และได้ ตั้งเมืองพิมายเป็นเมืองอุปราช หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรโคตรบูรณ์  คือพระธาตุพนม และพระธาตุอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ในปัจจุบัน

ในดินแดนที่เป็นอาณาจักรโคตรบูรณ์ เมืองหนองหานหลวง เป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรนี้ ช่วงเวลาที่มีหลักฐาน ประกอบการตั้งชุมชนรอบๆ หนองหาน อยู่ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ปรากฏในโบราณสถานหลายแห่ง เช่น พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุดูม และสะพานขอม  เป็นต้น  ประกอบกับตำนานอุรังคนิทาน ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในสมัยพุทธกาล กรุงอินทรปัต มีอำนาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ และมีเมืองหนองหานหลวงขึ้นกับกรุงอินทรปัต เมืองหนองหานหลวง เป็นเมืองเอก ที่เป็น ศูนย์กลางอำนาจปกครองของขอม

หลักฐานที่แสดงว่า เมืองหนองหานหลวงเป็นเมืองเอกของขอม ที่ปรากฎชัด คือ ศิลปวัตถุที่พบในบริเวณแถบนี้ สร้างด้วย ศิลปะแบบขอมทั้งสิ้น โดยใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญประกอบด้วยหน้าบรรณชั้นมุขฯลฯ แบบขอม ซึ่งสรุปได้ว่ากลุ่มผู้คนที่อาศัย อยู่ในดินแดนแถบนี้มีความรู้ในการสร้างศิลปะแบบขอมเป็นอย่างดี หลักฐานที่อ้างได้ไม่เฉพาะแต่โบราณสถานเท่านั้น  ยังมี โบราณวัตถุหลายอย่างที่ได้ขุดพบบริเวณรอบๆ หนองหาน เช่น ที่หมู่บ้านดงชน อำเภอเมืองสกลนคร

การเข้ามามีอิทธิพลของขอมในดินแดนแถบนี้ ยังไม่ทราบว่าเข้ามามีอิทธิพลโดยลักษณะใด เช่น อาจเป็นความนิยมของ
เจ้าผู้ครองเมืองต่างๆ ที่จะรับวัฒนธรรมฮินดู เพื่อส่งเสริมบารมีแห่งฐานะความเป็นกษัตริย์ของตน หรืออาจตกอยู่ใต้ อิทธิพลทางการเมือง หรือมีความสัมพันธ์ กันโดยการแต่งงานก็อาจเป็นได้

ภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลงบริเวณดินแดนของลุ่มแม่น้ำโขงของภาคอีสานในยุคนั้นกลับรุ่งเรืองขึ้น อันเนื่องมาจาก  ความเจริญของ อาณาจักรล้านช้างซึ่งเกิดขึ้นแทนที่อาณาจักรโคตรบูรณ์ หลักฐานที่ปรากฏว่า อาณาล้านช้างได้รุ่งเรืองถึง ดินแดนแถบนี้ คือพระธาตุก่องข้าวน้อย ที่บ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร พระธาตุบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น ในสมัยต่อมาอิทธิพลของ อาณาจักรล้านช้างก็รุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้

ในสมัยนั้นชาวภูไทและชาวโส้ (ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดสกลนคร) ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาจาก ฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง การอพยพดังกล่าวเกิดขึ้นหลายรุ่น จึงทำให้ชาวภูไทและชาวโส้ อยู่กระจัดกระจาย บริเวณพื้นที่ในจังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร และต่อมาก็ได้เจริญรุ่งเรืองกลายเป็นเมืองพรรณานิคม และ เมืองกุสุมาลย์ ซึ่งในปัจจุบันอำเภอพรรณานิคมจะปรากฎ ชาวภูไทอาศัยอยู่ส่วนมาก ในขณะที่อำเภอกุสุมาลย์ในปัจจุบัน ก็มีชาวโส้อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน 

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา และธนบุรีเป็นเมืองหลวงของไทยนั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสกลนคร โดยตรงไม่ปรากฏเรื่องราว ไว้แต่อย่างใด  เข้าใจว่าในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี จังหวัดสกลนคร คงเป็นชุมชนเล็กๆ ที่แทบจะไม่มี ความสำคัญทางประวัติศาสตร์เลย และคงได้รับอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างมากกว่าอาณาจักรอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรีไม่ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดสกลนครอยู่เลย เพียงปรากฎในพงศาวดารบางฉบับที่กล่าวถึงสงคราม ระหว่างกรุงธนบุรีกับอาณาจักรล้านช้างที่กล่าวพาดพิงถึงจังหวัดนครพนมบ้างเท่านั้น เข้าใจว่าจังหวัดสกลนคร ในสมัยนั้นคงขึ้นอยู่กับอาณาจักรล้านช้างบ้าง เป็นเมืองขึ้นของไทยบ้างแล้วแต่ว่าฝ่ายใดจะมีอำนาจมากกว่ากัน สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติศาสตร์ชุมชนในเขตจังหวัดสกลนครได้ขาดหายไปหลังจากที่ขอมหมดอำนาจลงแต่ได้ทราบหลักฐานแน่ชัดอีกครั้งหนึ่ง จากเพี้ยศรีครชุม หัวหน้าผู้ปฏิบัติพระธาตุเชิงชุม เล่าสืบกันต่อมาแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าปีใด ศักราชเท่าใด และในแผ่นดินรัชสมัยใด

พ.ศ.2370 ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์คิดกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม (รัชกาลที่ 3) โปรดฯ ให้กองทัพหลวง ขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ แม่ทัพได้มาตรวจราชการเมืองสกลทวาปี เจ้าเมืองกรมการเมือง สกลทวาปีไม่ได้เตรียม กำลังทหาร ลูกกระสุน ดินดำ เสบียงอาหารไว้ ตามคำสั่งแม่ทัพ แม่ทัพเห็นว่าเจ้าเมืองสกลทวาปี กบฏทำการขัดขืนอำนาจอาญาศึก จึงเอาตัวพระธานี เจ้าเมืองสกลทวาปี ไปประหารชีวิตเสียที่เมืองหนองไชยขาว แม่ทัพนายกองฝ่ายสยาม กวาดต้อนครอบครัวลงไป เมืองกบิลจันตคาม เป็นอันมาก ยังเหลืออยู่ได้รักษา พระธาตุเชิงชุม แต่พวกเพี้ยศรีตรชุม เมืองหนองเหียน บ้านจันทร์เพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านนาเวง บ้านพาน บ้านนาดี บ้านวังยาว บ้านผ้าขาว บ้านพันนา เท่านั้น  เมืองสกลนครก็เป็นเมืองร้างไม่มีเจ้าเมืองปกครองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกองทัพไทยยกไปปราบ เจ้าอนุเวียงจันทน์นั้น สามารถเข้าตีทัพ อนุเจ้าเมืองเวียงจันทน์จนแตกพ่ายเข้ายึดเมืองได้ เจ้าอนุหนีไปอยู่ เมืองมหาชัยกองแก้ว

<<< ย้อนกลับ || อ่านต่อ >>>

จังหวัด » กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย