ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัด » กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ภาคใต้(4)
สำหรับไทรบุรีนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพยายามดำเนินนโยบาย การปรับปรุงการปกครองในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงยกฐานะขึ้นเป็น มณฑลเทศาภิบาล ดังที่กล่าวแล้ว แต่ทางฝ่ายไทย ไม่สามารถจัดการปกครอง ให้มีประสิทธิภาพ เช่นหัวเมืองไทยอื่นๆ ได้ เพราะขาดกำลังคน ที่มีความสามารถ ไปจัดการปกครอง และขาดทุนทรัพย์ ในการพัฒนา นักปกครองที่เก่งๆ เช่น พระยาสุขุมนัยวินิต เทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราชมีน้อย ข้าราชการส่วนใหญ่ พูดภาษามลายูไม่ได้ และไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมศาสนาอิสลาม จึงเกิดการขัดแย้งกันขึ้นเสมอๆ ใน พ.ศ.2448 รัฐบาลไทยแต่งตั้งให้นายฮาร์ท (Hart) เป็นที่ปรึกษาทางการคลัง ประจำไทรบุรี แต่ทำงานเข้ากับพื้นเมืองมลายูไม่ได้เลย และถูกกงสุลอังกฤษ ซึ่งประจำอยู่ที่ไทรบุรีเวลานั้น เขียนรายงาน ฟ้องเข้ามาเสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่รายามุดา รัชทายาทของสุลต่านถึงอาสัญกรรมลงในปี พ.ศ.2449 เหตุการณ์กลับเลวร้ายลง เพราะสุลต่าน ประสงค์จะรวบอำนาจ เอาไว้เอง และพยายามลดอำนาจที่ปรึกษาลง
จากสถานการณ์ ที่ไม่น่าไว้วางใจ เรื่องบริษัทดัฟฟ์ ในกลันตัน เหตุการณ์ในไทรบุรี หลังอาสัญกรรม ของรายามุดา และท่าทีแข็งกร้าว ปราศจากความเป็นมิตร ของสุลต่านตรังกานู ทำให้สโตรเบล มีความคิดเห็นว่าเมืองไทย ไม่ควรเสียเวลา หาหนทางปกครอง ดินแดนเหล่านี้ ถ้าเมืองไทยยอมทิ้งดินแดนนี้เสีย อาจจะช่วยให้การปกครองเมืองอื่นๆ ทางใต้ มีประสิทธิภาพ และรัดกุมยิ่งขึ้น นายสเวทการ์ด ชาวอเมริกันอีกผู้หนึ่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ได้เดินทางไปดูงานปกครอง หัวเมืองปักษ์ใต้ ในระยะเวลานั้น เห็นพ้องต้องกันกับสโตรเบลว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ไทยควรจะปลดเปลื้องภาระการปกครอง หัวเมืองมลายูเสีย
ก่อนเปิดการเจรจากับอังกฤษ สโตรเบล ปรึกษากับนายแพชยิต ราชทูตอังกฤษ ประจำกรุงเทพฯ อย่างใกล้ชิด แต่ยังไม่อาจดำเนินการได้ เพราะขณะนั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สองอยู่ จะปรึกษาเฉพาะกับกรมหลวงเทวะงวศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ หรือกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก็ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ของบ้านเมือง ต้องรอพระราชวินิจฉัย และพระบรมราชโองการ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยตรง นอกจากนี้ สโตรเบลยังรู้สึกลังเล ที่จะแนะนำให้รัฐบาลไทย ตกลงยกดินแดนของรัฐมลายู ให้แก่อังกฤษ เพราะวิตกว่า รัฐบาลไทย อาจจะไม่ยอมเสียดินแดน เพราะไม่แน่ใจว่า จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สมควร อย่างไรก็ตาม สโตรเบลรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของตน ที่จะต้องตรวจพิจารณาดู อย่างถี่ถ้วนว่า ได้หรือเสียประโยชน์เท่าใด ดังปรากฏในบันทึกส่วนตัวว่า
"...โดยหน้าที่ ข้าเจ้าไม่อาจเสมอเรื่องราวใดๆ จนกว่าข้าพเจ้าจะแน่ใจว่าจะต้องสำเร็จ"
สโตรเบล รออยู่จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ.2450 จึงนำเรื่องราวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเสนอความคิดเห็น ในการทำสนธิสัญญาครั้งใหม่นี้ พร้อมทั้งเหตุและผลต่างๆ และอ้างถึงสนธิสัญญา ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ.2449 ซึ่งฝรั่งเศส ยอมผ่อนผันเรื่องสิทธิสภาพ นอกอาณาเขต โดยยอมให้คนในบังคับฝรั่งเศส ที่เป็นชาวเอเชีย ทั่วราชอาณาจักรไทย ขึ้นตรงต่อศาลไทย เพื่อแลกกับดินแดนเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ สโตรเบล ต้องการให้ไทย แลกดินแดนมลายู กับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เหนือคนในบังคับอังกฤษ
สโตรเบลกราบบังคมทูลเสนอ ให้ยกดินแดนเพียง 3 เมืองเท่านั้น คือ ไทรบุรี
กลันตัน และตรังกานู โดยชี้แจงให้พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และบรรดาเสนาบดีเห็นว่า
การยกดินแดนมลายูให้อังกฤษนั้น จะทำให้ปัญหาต่างๆ
เกี่ยวกับดินแดนเหล่านี้ หมดไปโดยอัตโนมัติ จริงอยู่
การเสียดินแดนมลายูให้อังกฤษนั้น จะทำให้ปัญหาต่างๆ
เกี่ยวกับดินแดนเหล่านี้ หมดไปโดยอัตโนมัติ จริงอยู่
การเสียดินแดนถือเป็นการเสียเกียรติภูมิของชาติ แต่รัฐบาลไทย
ควรจะนึกถึงความจริงที่ว่า ดินแดนเหล่านี้จะหลุดพ้น
ไปจากอำนาจของไทยแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น
และยิ่งนานวันไป ก็อาจจะสูญเสีย โดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนเลย
สโตรเบลใช้เหตุผลธรรมดาๆ ว่าเปรียบเสมือนคนที่เป็นโรคร้ายที่แขนขา
ก็ควรจะตัดเนื้อร้ายออกไปเสีย ก่อนที่เชื่อโรคจะลุกลาม
แพร่ไปตามส่วนอื่นของร่างกาย
ทันทีที่สโตรเบลทูลเสนอ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเห็นชอบด้วย เพราะถ้าพูดกันโดยจริงๆ แล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงเสียดาย
ดินแดนเหล่านี้มากมายนัก ถ้าจะต้องทรงคิดอย่างหนัก
ก็จะเห็นเป็นเพียงแต่ทรงเกรง "การเสียหน้า" เช่นเคยทรงปรารภว่า
... เราไม่มีความประสงค์อันใด นอกจากที่จะให้หัวเมืองมลายู เป็นพระราชอาณาเขตชั้นนอก ติดกับฝรั่ง อีกประการหนึ่ง เมืองเหล่านี้ปรากฏว่า อยู่ในเขตของไทยจะตกไป แต่อังกฤษเข้ามาบำรุงเรา ก็ไม่ขาดทุนอันใด ชั่วแต่ไม่ได้ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ไม่เป็นราคากี่มากน้อย แต่ยังรู้สึกว่าเป็นการเสียเกียรติยศอยู่...
และได้ทรงชี้แจง ให้สโตรเบลทราบว่า สำหรับกลันตัน และตรังกานูนั้น ฉันไม่รู้สึกว่า มีผลประโยชน์อะไรด้วย ขอให้ท่านจัดการอะไร ไปตามความประสงค์ได้
หลังจากข้อเสนอยกดินแดนมลายูดังกล่าว รัฐบาลสองประเทศ เริ่มเปิดเจรจากันอีกครั้ง และได้นำเรื่องต่างๆ ที่ยังเจรจาคั่งค้างอยู่ มาพิจารณาพร้อมกัน รวม 4 เรื่อง คือ
- การโอนรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้อังกฤษ
- การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษในประเทศไทย
- การสร้างทางรถไฟสายใต้
- การยกเลิกปฏิญญาลับ ค.ศ.1897