ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดสงขลา
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดสงขลา(3)
หลังจากเมืองสงขลา ฝั่งหัวเขาแดงถูกทำลายลงแล้ว ทางกรุงศรีอยุธยามีนโยบายยกเมืองสงขลา ให้ฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับ อย่างไรก็ตามหลังจากถูกทำลายแล้วได้มีการทำกำแพงหรือขอบเขตของเมืองด้วยไม้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปตั้งอยู่บริฝั่งแหลมสน ซึ่งอยู่ทางฟากเขาอีกด้านหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน
เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน (ปลายพุทธศตวรรษที่ 23 - ปลายพุทธศตวรรษที่ 24) หลังจากปี พ.ศ. 2223 เมืองสงขลาถูกลดความสำคัญลงไปเป็นเมืองบริวารของเมืองพัทลุง เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.2310 เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ อิสระ เรียกว่าชุมนุมเจ้านคร ปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมด ได้ส่งญาติคนหนึ่งชื่อ วิเถียน มาปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน
ในปี พ.ศ.2312 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพมาปราบชุมนุมเจ้านครได้ แล้วทรงตั้งตัวเป็นชาวเมืองสงขลาคนหนึ่งชื่อโยม เป็นพระสงขลา เจ้าเมืองสงขลา พระสงขลา (โยม) ปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน อยู่จนถึงปี พ.ศ.2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นว่าพระสงขลา (โยม) หย่อนสมรรถภาพ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้หลวงอินทคีรีสมบัติ (เหยี่ยง) ผู้ได้รับการผูกขาดจากรังนกเกาะสี่เกาะห้า เป็นหลวงสุวรรณคีรีสมบัติ เจ้าเมืองสงขลา ตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร ปัจจุบันเรียกว่า ที่วัง เป็นที่ตั้งจวนของเจ้าเมืองและให้ยกเมืองสงขลาใให้ขึ้นกับเมืองนครศรธรรมราช
เมื่อปี พ.ศ.2328 พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ ที่เรียกว่าสงครามเก้าทัพ หลวงสุวรรคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย) บุตรเจ้าเมืองสงขลา ได้ตั้งค่ายเตรียมป้องกันเมืองอยู่ที่บ้านบ่อยาง ครั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จ ฯ ลงมาปราบปรามพม่าทางหัวเมืองปักษ์ใต้ได้แล้ว ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสงขลา หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย) มีความชอบที่สามารีถไปตีเมืองปัตตานีได้และเมืองไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ก็เข้ามาอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาสุวรรณคีรีสมบัติ เจ้าเมืองสงขลา
ในปี พ.ศ. 2334 โต๊ะสาหยิด มาจากอินเดีย ได้แสดงตนเป็นผู้วิเศษ ได้ยุยงให้พระยาปัตตานียกกองทัพมาตีเมืองสงขลา แต่พระยาสงขลา (บุญหุ้ย) ได้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีได้ก่อนที่กองทัพกรุงเทพ ฯ จะยกมาถึง จึงมีความชอบมาก ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาอินทคีรีศรีสมุทรสงคราม ฯ เจ้าพระยาสงขลา และให้ยกเมืองสงขลาขึ้นเป็นเมืองโท ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ และเมื่อแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามันห์ เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ แล้วก็ให้ทั้ง 7 หัวเมืองดังกล่าวมาอยู่ในความปกครองของเมืองสงขลา ตั้งแต่นั้นมา
ในปี พ.ศ.2336 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งชาวจีนชื่อเค่ง เป็นเพื่อนกับหลวงสุวรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยง) ให้เป็นเจ้าเมืองจะนะ และเมื่อครั้งพม่ายกกองทัพมาตีเมืองถลาง เมื่อปี พ.ศ.2338 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสงขลา (บุญหุ้ย) และพระจะนะ (เค่ง) ยกทัพเรือำไปสกัดกั้นทางเมืองไทรบุรีและรักษาเมืองถลาง หลังจากทัพหลวงตีทัพพม่าแตกพ่ายไป
เมื่อเจ้าพระยาสงขลา (บุญหุ้ย) ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ.2355 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้หลวงนายฤทธิ์ (เถี้ยนจ๋ง) หรือพระยาวิเศษภักดี บุตรพระยาอนันตสมบัติ (บุญเฮี้ยง) น้องชายเจ้าพระยาสงขลา (บุญหุ้ย) เป็นเจ้าเมืองสงขลา
ในปี พ.ศ.2360 พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋ง) ถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ พระสุนทรนุรักษ์ (เถี้ยนเส้ง) เป็นผู้รักษาราชการเมืองสงขลา จนถึงปี พ.ศ.2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาวิเชียรคีรีศรีสมุทร ฯ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา
ในปี พ.ศ.2371 ตนกูเดน เป็นกบฏต่อไทย แล้วหนีไปเกาะหมาก (ปีนัง) กับเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงวัน) ผู้เป็นบิดา ได้ยุยงพรรคพวกในเมืองไทรบุรีและหัวเมืองอื่น ๆ มีเมืองปัตตานี เมืองระแงะ เมืองสายบุรี เมืองรามัน เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง และเมืองยะลา ให้แข็งเมือง แล้วยกกำลังเข้ายึดเมืองไทรบุรีได้ แล้วยกเข้าตีเมืองสงขลา ทางกรุงเทพ ฯ ได้ยกกองทัพไปช่วยเมืองสงขลา 4 กองทัพ ได้ยกกำลังไปปราบปรามหัวเมืองทั้ง 7 ทั้งทางบกและทางเรือ จนสงบราบคาบ
ในปี พ.ศ.2378 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ มีตราโปรดเกล้า ฯ ถึงพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ให้ก่อกำแพงเมืองสงขลา โดยได้พระราชทานเงินส่วยอากรเมืองสงขลา แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็เกิดกบฏเมืองไทรบุรีเสียก่อนในปี พ.ศ.2381 ตนกูหมัดสะอัด หลานเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ได้เข้ามาชักชวนชาวไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองมลายูอื่น ๆ ให้แข็งเมือง นำกำลังเข้าเผาเมืองจะนะ และเข้าตีเมืองสงขลา พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ได้ทำการป้องกันเมืองไว้ได้จนกองทัพทางกรุงเทพ ฯ ลงมาช่วยปราบปรามจนสงบเรียบร้อย ในระหว่างนั้นได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเมืองสตูลมาขึ้นกับเมืองสงขลาด้วย
สมัยเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง (ปลายพุทธศตวรรษที่ 24) เมืองสงขลา มีประชากรมากขึ้น แต่พื้นที่บริเวณแหลมสนคับแคบ เพราะมีภูเขากั้นอยู่ต่างจากบริเวณฝั่งตรงข้ามบริเวณฝั่งบ่อยาง ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบมีภูเขาน้อย สามารถขยายตัวเมืองให้กว้างขวางได้ และราษฎรบางส่วนก็ได้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบ่อยางมากขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ใหพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ไปตั้งเมืองสงขลาใหม่ที่ตำบลบ่อยาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2378
พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เริ่มสร้างป้อม กำแพงเมือง โดยได้รับพระราชทานเงินภาษีอากรเมืองสงขลา 200 ชั่ง ได้สร้างกำแพงเมือง และประตูเมือง 10 ประตู แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2385 เป็นกำแพงยาว 1,200 เมตร กว้าง 400 เมตร
พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา จนถึงอนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ.2380 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ พระสุนทรานุรักษ์ (บุญสังข์) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา เป็นผู้รักษาราชการเมืองสงขลา จนถึงปี พ.ศ.2383 ซึ่งได้โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาวิเชียรคีรีศรีสมุทร ฯ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาวิเชียรคีรี ฯ และได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ.2408 พระยาสุนทรานุรักษ์ (เม่น) ผู้ช่วย่ราชการเมืองสงขลาได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาวิเชียรคีรี ฯ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา และได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาวิเชียรคีรี ฯ เมื่อปี พ.ศ.2415 ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.2427 พระสมบัติภิรมย์ (ชุ่ม) ได้เป็นพระยาวิเชียรคีรี ฯ ถึงปี พ.ศ.2431 ถึงแก่อนิจกรรม หลวงวิ้ศษภักดี (ชม) ได้เป็นพระยาสุนมรานุรักษ์ ผู้รักษาราชการเมืองสงขลา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาวิเชียรคีรี ฯ ผู้สำเร็ดจราชการเมืองสงขลา เมื่อปี พ.ศ.2433
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458) และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468) นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้ จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475 ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน
จังหวัด » กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี