ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>

คัมภีร์คอมมิวนิสต์

"นักปรัชญาเพียงแต่วิเคราะห์โลกในแง่ต่าง ๆ แต่ประเด็นหลักคือการเปลี่ยนแปลงโลก"

 

นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
แนะนำทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"

ที่มา : http://www.marxists.org

2

อย่างไรก็ตามเมื่อ "ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน" พิมพ์ แถลงการณ์ฯ ออกมาในปี ๒๕๔๑ และขายให้กรรมาชีพและคนทั่วไปอ่านในประเทศไทย ก็ได้มีเสียงสะท้อนกลับมาว่าภาษาของหนังสือเล่มนี้แสนจะโบราณเข้าใจยาก! ดังนั้นในการตีพิมพ์ครั้งนี้ทีมงาน กปร. ได้พยายามปรับภาษาและเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้นสำหรับคนยุคปัจจุบัน และมีการตัดส่วนที่ 3 "เอกสารสังคมนิยมและเอกสารคอมมิวนิสต์" ออกไป เนื่องจากเป็นการงานที่ มาร์คซ์ กับ เองเกิลส์ เขียนเพื่อวิจารณ์แนวคิดสังคมนิยมอื่นๆ ที่ดำรงอยู่ในยุคนั้นและไม่ค่อยสอดคล้องกับแนวซ้ายหลักๆ ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน แต่ในการตีพิมพ์ แถลงการณ์ฯ ฉบับนี้ เราจำเป็นต้องฝากคำเตือนให้ท่านผู้อ่านว่า การปรับภาษาและเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้นย่อมทำให้รสชาติของหนังสือเดิมหายไปบ้างและบางครั้งอาจมีการตีความตามแนวคิดของเราเองด้วย ดังนั้นเราแนะนำให้ท่านที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้มากยิ่งขึ้น จงกลับไปอ่านฉบับต่างๆ ที่เคยถูกแปลเป็นไทยในยุคหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และฉบับภาษาอังกฤษหรือภาษาเยอรมัน ถ้าเป็นไปได้ เพื่อให้ท่านได้เปรียบเทียบฉบับเดิมๆ กับฉบับนี้ แล้วท่านจะได้ภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากเรื่องของภาษาแล้ว มีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องอธิบายอย่างชัดเจน เพราะเป็นคำถามที่ถูกตั้งขึ้นเสมอ นั้นคือเรื่องของคำนิยาม “ชนชั้นกรรมาชีพ” ในมุมมองมาร์คซิสต์ ชนชั้นกรรมาชีพคือ ผู้ที่ไร้ปัจจัยการผลิต คือ “ลูกจ้าง” คือกรรมกรโรงงาน พนักงานปกคอขาวที่ทำงานในออฟฟิศ ครูบาอาจารย์ พยาบาล หรือลูกจ้างในห้างร้าน ฯลฯ และเมื่อท่านได้อ่านหนังสือ แถลงการณ์ฯ เล่มนี้จะเห็นการนิยามชนชั้นกรรมาชีพแบบนี้ในหลายจุดโดย มาร์คซ์ และเองเกิลส์

ชนชั้นกรรมาชีพคือหัวใจของสังคมนิยมมาร์คซิสต์ คาร์ล มาร์คซ์ และนักมาร์คซิสต์อื่นๆ ไม่ได้นั่งวิเคราะห์โลกเพื่อความสนุกสนานทางวิชาการ เราวิเคราะห์โลกเพื่อเปลี่ยนให้มันดีขึ้น และที่สำคัญเราวิเคราะห์โลกจากมุมมองผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมาชีพ ผู้เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมในศตวรรษใหม่นี้ ในที่สุดเราหวังว่าการวิเคราะห์ของชาวมาร์คซิสต์จะนำไปสู่การต่อสู้เพื่อสร้างระบบการเมืองและเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยที่ชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการปลดแอกตนเอง สังคมนิยมสร้างไม่ได้ถ้าสร้างโดยคนส่วนน้อย ดังนั้นเพื่อแสดงจุดยืนตรงนี้ที่ชัดเจนของชาวมาร์คซิสต์ เราได้ตีพิมพ์คำนำที่เองเกิลส์เขียนไว้ในฉบับภาษาอังกฤษปี 1888 มาประกอบในที่นี้ด้วย

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย