ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>
คัมภีร์คอมมิวนิสต์
นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
แนะนำทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพจะสู้หรือไม่
โดย ลีออน ตรอทสกี แปลโดย ใจ อึ๊งภากรณ์
ส่วนในคำถามเกี่ยวกับความเข้มข้นของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
เราทราบดีว่าระบบทุนนิยมปัจจุบันอยู่ในวัยชรา มีการขยายตัวจนมีลักษณะผูกขาด
ทุกส่วนผูกพันกันทั่วโลก
และเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งหมายถึงการฟื้นตัวของอัตรากำไรในลักษณะที่จริงจัง
จำต้องอาศัยการทำลายล้างพลังการผลิตล้นเกินที่เป็นต้นเหตุแห่งวิกฤตโดยวิธีการต่างๆ
เช่นการปิดโรงงานอย่างถ้วนหน้า
หรือการทำสงครามระดับโลกอย่างที่เคยเกิดในสงครามโลกครั้งที่สอง (1940-1945)
เป็นมาตรการที่ล้วนแต่มีผลมหาศาลในการทำลายความมั่นคงของระบบการปกครอง
เราจึงประเมินได้ว่ารัฐบาลต่างๆ
ของโลกคงจะต้องพยายามยั้บยั้งไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวก็คงฟื้นอย่างไม่สมบูรณ์ในลักษณะที่คนไข้ที่มีโรคเรื้อรังลุกขึ้นจากเตียงนอนเท่านั้น
ส่วนคำถามสุดท้ายว่า เมื่อไรกรรมาชีพจะสู้ เป็นเรื่องสลับสับซ้อน เพราะชาวมาร์คซิสต์จะไม่มองว่าวิกฤตหรือการบูมขยายตัวของเศรษฐกิจมีผลให้กรรมาชีพสู้หรือยอมประนีประนอมโดยอัตโนมัติ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ และความพร้อมในการต่อสู้ของกรรมาชีพ ในเรื่องนี้ ตรอทสกี นักปฏิวัติคนสำคัญของรัสเซีย เคยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะเศรษฐกิจกับระดับการต่อสู้ทางชนชั้นไว้ในบทความตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในขณะที่ระบบสังคมนิยมในรัสเซียยังไม่ได้ถูกทำลายโดยโลกทุนนิยมที่ล้อมรอบและก่อนการขึ้นมาของเผด็จการข้าราชการแนวสตาลิน ในช่วงต่อไปของบทนี้ขอนำบางส่วนของงาน ตรอทสกี มาเสนอให้ท่านอ่าน
ท้ายสุดนี้ ในประเด็นเรื่องความพร้อมทางการเมืองของกรรมาชีพที่จะสู้ ยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคหลังการประท้วงยิ่งใหญ่ที่ Seattle และ Genoa เป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของแนวต้านทุนนิยมและแนวสังคมนิยมโดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ภายหลังทศวรรษแห่งความหดหู่ที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของกำแพงเมืองเบอร์ลิน ดังนั้นยุคนี้เป็นโอกาสทองที่จะขยายและรื้อฟื้นแนวความคิดมาร์คซิสต์เพื่อการต่อสู้ในอนาคต