ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>

คัมภีร์คอมมิวนิสต์

นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
แนะนำทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"

ปัญญาชน
โดย อันโตนิโอ กรัมชี่ แปลโดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ปัญญาชนอนุรักษ์นิยมที่หลงเหลือมาจากยุคก่อนมักจะรวมตัวกันผ่านสมาคมหรือองค์กรของเขาเพื่อเสนอว่าตนเองเป็นปัญญาชน“อิสระ” ซึ่งความคิดแบบนี้มีผลกระทบในด้านความคิดทางการเมืองไม่น้อย เราสามารถพูดได้ว่า “ปรัชญาแนวคิดจิตนิยม” มาจากพวกปัญญาชนที่เพ้อฝันว่าตนเองอิสระจากกระบวนการของสังคมทั้งหมด....

นิยามของ “ปัญญาชน” คืออะไรในเมื่อกิจกรรมของปัญญาชนมีลักษณะหลากหลาย? ข้อผิดพลาดที่แล้วมาในการนิยามปัญญาชนมาจากการมองกิจการของปัญญาชนด้านเดียว โดยไม่มองว่ากิจการดังกล่าวมีความผูกพันอย่างไรกับระบบการผลิตของสังคม เราไม่ได้กำหนดว่าใครคือ “ชนชั้นกรรมาชีพ”จากการใช้แรงงานหรือการใช้สมอง แต่เรานิยามกรรมาชีพจากจุดยืนในความสัมพันธ์ทางการผลิต การนิยาม “นายทุน” ก็เหมือนกัน นายทุนเองก็ต้องมีความสามารถทางปัญญาแต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่จำกัดว่าเขาเป็นนายทุนหรือไม่ สิ่งที่แสดงว่าเขาเป็นนายทุนคือการที่เขาควบคุมระบบการผลิต

เราสามารถพูดได้ว่ามนุษย์ทุกคนคือปัญญาชน แต่ในสังคมมนุษย์ทุกคนไม่ได้ทำหน้าที่เป็นปัญญาชน ในลักษณะเดียวกันการที่เราอาจทอดไข่หรือเย็บผ้าเป็นบางครั้งบางคราวไม่ได้หมายความว่าเราเป็นพ่อครัวแม่ครัวหรือช่างตัดเย็บ ดังนั้นปัญญาชนมีบทบาทเฉพาะที่เกิดมาจากอดีต บทบาทดังกล่าวเกิดขึ้นมาควบคู่กันไปกับการกำเนิดชนชั้นทุกชนชั้น โดยเฉพาะชนชั้นหลักๆ สิ่งที่น่าสังเกตคือชนชั้นที่ต้องการจะขึ้นมาครอบงำสังคมจำต้องหาทางครอบงำปัญญาชนยุคเก่าที่ยังดำรงอยู่ด้วยลัทธิการเมืองของชนชั้นใหม่ แต่การยึดครองความคิดของปัญญาชนดังกล่าวกระทำได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้นถ้าชนชั้นใหม่มี “ปัญญาชนอินทรีย์” ของตนเองด้วย.....

สรุปแล้วปัญญาชนมีสองประเภทคือ “ปัญญาชนอินทรีย์” ของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง และปัญญาชนดั้งเดิม .... แต่ปัญหาคือ พรรคการเมืองควรมีท่าทีต่อปัญญาชนอย่างไร?

สำหรับบางกลุ่มบางชนชั้น พรรคการเมืองของเขาเป็นการรวมตัวกันของปัญญาชนอินทรีย์ที่สังกัดกับชนชั้นดังกล่าว และเขาจะมีหน้าที่เฉพาะในด้านการเมืองและปรัชญา ....แต่แท้จริงแล้วสำหรับทุกกลุ่มทุกชนชั้น องค์กรของพรรคการเมืองมีหน้าที่ใน “ประชาสังคม” คล้ายๆ กับหน้าที่ของรัฐในด้านการเมืองทั่วไป คือมีหน้าที่ในการประสานปัญญาชนอินทรีย์ของชนชั้นหลักเข้ากับปัญญาชนดั้งเดิม....และปัญญาชนดั้งเดิมที่สมัครเป็นสมาชิกพรรคก็จะถูกกลมกลืนเข้าไปในกลุ่มปัญญาชนอินทรีย์ของชนชั้นนั้นในที่สุด

การเสนอว่าสมาชิกของพรรคการเมืองทุกคนเป็นปัญญาชนอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องตลก แต่ถ้าเราตรวจสอบให้ดีเราจะพบว่าข้อเสนอนี้เป็นความจริงทีเดียว....นักธุรกิจไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อประกอบธุรกิจ นายทุนอุตสาหกรรมไม่ได้สมัครเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต ชาวนาไม่ได้สมัครเพื่อเรียนรู้วิธีเพาะปลูก นักธุรกิจ นายทุน หรือชาวนา ล้วนแต่มีองค์กรอาชีพของเขาสำหรับบทบาทดังกล่าวแบบนี้... ในพรรคการเมืองบทบาทของสมาชิกคือการแปรตัวมาเป็นผู้ปฏิบัติการในกิจการด้านกว้างๆ ระดับชาติและระดับสากล

<< ย้อนกลับ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย