ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>

คัมภีร์คอมมิวนิสต์

นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
แนะนำทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"

ทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของโทนี่ คลิฟ เป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับแนวทางลัทธิมาร์คซ์ในยุคปัจจุบัน เพราะทฤษฎีนี้จะเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงความคิดเดิมของ มาร์คซ์, เองเกิลส์, เลนิน, และตรอทสกี กับการต่อสู้เพื่อสังคมนิยมในอนาคต

หลังการล่มสลายของระบบลัทธิสตาลินในรัสเซียและยุโรปตะวันออก และการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงพรรคคอมมิวนิสต์ของไทยเอง อดีตนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายทั้งหลายแหล่พากันหมดกำลังใจ เพราะหลงคิดว่าสิ่งที่ล่มสลายไปคือ"สังคมนิยม” มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวกลุ่มเดียวเท่านั้น ที่มีปฏิกิริยาตรงกันข้าม กลุ่มนักสังคมนิยมมาคซิสต์สำนักโทนี่ คลิฟ ที่ปัจจุบันกำลังสร้างองค์กรในสากลสังคมนิยม (International Socialist Tendency) ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงกลุ่มประชาธิปไตยแรงงานในประเทศไทย เข้าใจว่าการล่มสลายของการปกครองแนวสตาลิน-เหมาเป็นเรื่องดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้กรรมาชีพโลกเริ่มสร้างสังคมนิยมจริงๆใหม่ได้

สาเหตุที่สำนักมาร์คซิสต์ โทนี่ คลิฟ เชื่อว่าสังคมนิยมมีอนาคตก็เพราะ โทนี่ คลิฟ ได้เสนอว่าประเทศต่างๆ ที่ปกครองโดยระบบลัทธิสตาลินเป็นประเทศ "ทุนนิยมโดยรัฐ" (State Capitalist) ไม่ใช่สังคมนิยม ฉนั้นสิ่งที่ล่มสลายไปคือระบบเผด็จการสตาลินของทุนนิยมโดยรัฐเท่านั้น

บทความของ โทนี่ คลิฟ ที่รวบรวมมาในหนังสือเล่มนี้ได้มาจากสามแหล่ง ส่วนแรกมาจากหนังสือ State Capitalism in Russia (ทุนนิยมโดยรัฐในรัสเซีย) ของ คลิฟ ที่ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1948 (ฉบับที่ใช้แปลเป็นไทยคือฉบับตีพิมพ์ปี 1974 ของ Pluto Press) ส่วนที่สองเป็นส่วนที่เกี่ยวกับประเทศจีนภายใต้การปกครองของเหมาเจ๋อตุง ซึ่งคลิฟเขียนในปี 1957 ในวารสาร Socialist Review ซึ่งวารสารนี้เป็นวารสารรายเดือนของพรรคสังคมนิยมกรรมาชีพอังกฤษที่คลิฟเป็นผู้ก่อตั้ง ส่วนสุดท้ายมาจากบทสัมภาษณ์โทนี่ คลิฟในวารสาร Socialist Review เดือน กรกฎาคม/สิงหาคม 1998

ถ้าเราเชื่อหลักสำคัญของลัทธิมาร์คซ์ว่าสังคมนิยมต้องมาจากการกระทำของชนชั้นกรรมาชีพพื้นฐานเอง การที่รัฐสตาลินของรัสเซียลงโทษการนัดหยุดงานของกรรมกรด้วยการประหารชีวิต น่าจะพิสูจน์ว่ารัฐนั้นไม่ใช่รัฐของกรรมาชีพ แต่สิ่งที่โทนี่ คลิฟ ได้ให้กับเราคือพื้นฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนหลักฐานทางการเมืองเกี่ยวกับเผด็จการลัทธิสตาลิน ข้อมูลทางเศรษฐกิจนี้พิสูจน์ว่าความป่าเถื่อนของเผด็จการรัสเซียและจีนดำรงอยู่บนพื้นฐานการผลิตที่มีการกดขี่ขูดรีดส่วนเกินแบบทุนนิยม แต่ในกรณีนี้กระทำโดยรัฐ ไม่ใช่นายทุนเอกชน งานของคลิฟเป็นการนำวิธีการมาร์คซิสต์มาใช้ในการวิเคราะห์สังคมประเทศเหล่านั้น เพราะแนวความคิดมาร์คซิสต์จะปฏิเสธการแบ่งแยกระหว่าง"เศรษฐศาสตร์” กับ “การเมือง” ฉนั้นนัก “มาร์คซีสต์” ทั้งหลายที่อ้างว่า"รัสเซียกับจีนเป็นสังคมนิยมแต่อาจมีปัญหาทางการเมืองเกี่ยวกับผู้นำ ที่บ้าอำนาจเผด็จการเท่านั้น” เป็นคนที่ลืมหลักการสำคัญของลัทธิมาร์คซ์

จุดยืนของโทนี่ คลิฟ เริ่มต้นจากจุดยืนของสำนักคิด ตรอทสกี ที่มองเห็นความชั่วร้ายของการปกครองลัทธิสตาลินอย่างชัดเจน ตรอทสกี ก่อนที่จะถูกลูกน้องสตาลินฆ่าตาย ได้วิเคราะห์ว่ารัสเซียเป็น "รัฐกรรมาชีพที่เสื่อมโทรม" ฉนั้นลูกศิษย์ ของตรอทสกีในขบวนการ “สากลที่สี่” (Fourth International) จะยึดติดกับการวิเคราะห์แบบนี้ แต่โทนี่ คลิฟ ได้พัฒนาทฤษฎีของเขาเพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาการปกครองลัทธิสตาลินไปถึงอีกระดับหนึ่ง

 | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย