ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>

คัมภีร์คอมมิวนิสต์

นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
ทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"

ทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ลักษณะของรัฐกรรมาชีพ

เศรษฐกิจของรัฐกรรมาชีพกับเศรษฐกิจทุนนิยมมีรูปแบบที่คล้ายกันหลายอย่าง รัฐของชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นทางผ่านระหว่างทุนนิยมกับระบบคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์ที่ไม่มีรัฐ ย่อมจะมีส่วนที่มาจากซากเก่าของสังคมทุนนิยม และส่วนทีเป็นหน่ออ่อนของสังคมใหม่ องค์ประกอบสององค์ประกอบที่ขัดแย้งเหล่านี้จะผูกมัดด้วยกันในยุคแห่งทางผ่าน โดยที่องค์ประกอบจากอดีตถูกครอบงำโดยองค์ประกอบจากอนาคต

สิ่งที่รัฐกรรมชีพและทุนนิยมมีที่เหมือนกันคือการแบ่งแยกหน้าที่ในการทำงาน โดยเฉพาะการแบ่งแยกระหว่างแรงงานกายกับงานสมอง แต่สิ่งที่แยกรัฐกรรมาชีพออกจากระบบทุนนิยม คือการควบคุมการผลิตโดยชนชั้นกรรมาชีพ การควบคุมการผลิตโดยกรรมาชีพเป็นเสมือนสะพานแคบๆ ที่จะนำไปสู่การทำลายความแตกต่างระหว่างงานกายกับงานสมองซึ่งจะเกิดขึ้นในสังคมคอมมิวนิสต์

รัฐกรรมาชีพและระบบทุนนิยมจะมีกลุ่มคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีตำแหน่งเหนือคนงานธรรมดา ถึงแม้ว่าในรัฐกรรมาชีพตำแหน่งนั้นจะมีความหมายต่างออกไป สิ่งที่สำคัญในการแยกรัฐกรรมาชีพออกจากระบบทุนนิยมคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เคยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของทุนจะต้องเปลี่ยนมาเชื่อฟังนโยบายของรัฐ กรรมาชีพ ซึ่งเป็นนโยบายผู้ผลิตโดยรวม นี่คือสิ่งที่เริ่มทำลายตำแหน่งสูงต่ำในระบบการผลิต

ภายใต้ระบบรัฐกรรมาชีพชีวิตการทำงานจะต้องมีระเบียบวินัยในการทำงานเช่นเดียวกับในระบบทุนนิยม แต่แทนที่วินัยนี้จะเป็นสิ่งเดียวที่บังคับให้คนงานทำงานภายใต้ระบบทุน ในระบบรัฐกรรมาชีพจะมีสิ่งอื่นที่เข้ามามีความสำคัญมากขึ้น และระเบียบวินัยนี้จะขึ้นอยู่กับจิตสำนึกมากกว่าการให้โทษมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดไม่จำเป็นที่จะต้องมีระเบียบวินัยเลยเมื่อคนส่วนใหญ่มีการศึกษา และมีความสัมพันธ์แบบสมานฉันท์

ในรัฐกรรมาชีพและในเศรษฐกิจทุนนิยมจะมีการแลกเปลี่ยนสินค้าตามมูลค่าของแรงงานสะสมที่ใช้ในการผลิตสินค้าเหล่านั้น แต่ในรัฐกรรมาชีพ สินค้าเหล่านั้นเป็นผลมาจากการวางแผนนโยบายควบคุมการผลิตที่ชัดเจน แทนที่จะเป็นผลมาจากพลังของตลาดเสรีที่ไร้ทิศทาง และสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ การแลกเปลี่ยนสินค้าดังกล่าวเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการร่วมถือกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตทั้งหมดโดยผู้ผลิตพื้นฐาน

สิทธิของนายทุนภายใต้การปกครองของนายทุนคือสิทธิที่จะขูดรีด สิทธิในการแลกเปลี่ยนแจกจ่ายผลผลิตในรัฐกรรมาชีพจะเป็นสิทธิในรูปแบบ “สังคมนิยม” คือจะยอมรับว่าทุกคนจะได้รับผลผลิตไม่เท่าเทียมกันตามความ สามารถในการผลิต แต่ในเวลาเดียวกันทุกคนที่เป็นผู้ผลิตจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการครองปัจจัยการผลิต และสิทธิแลกเปลี่ยนจัดจ่ายผลผลิตในรัฐกรรมาชีพจะต้องเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดว่าจะไม่มีการขูดรีดใดๆ ทั้งสิ้น

นอกจากนี้แล้วรัฐกรรมาชีพจะต้องพัฒนาระบบไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ ซึ่งไม่คำนึงถึงความแตกต่าง ตามธรรมชาติระหว่างมนุษย์ ในที่สุด

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย