ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เต๋าแห่งฟิสิกส์

บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

4

13.3 ฉี้

ในปรัชญาจีน ความคิดเรื่องสนามมิใช่แต่ปรากฏโดยนัยในความคิดเรื่องเต๋าซึ่งเป็นความว่างซึ่งไร้รูป แต่เป็นแหล่งกำเนิดของรูปลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งยังได้แสดงออกอย่างชัดเจนในความคิดเรื่อง ฉี้ (Ch’i) คำคำนี้มีบทบาทสำคัญในทุกสำนักปรัชญาธรรมชาติของจีน และมีความสำคัญอย่างยิ่งในลัทธิขงจื้อแนวใหม่ (Neo-Confucianism) ซึ่งพยายามสังเคราะห์ลัทธิขงจื้อ พุทธศาสนา และลัทธิเต๋าเข้าด้วยกัน คำว่า ฉี้ ตามตัวอักษรแปลว่า “ก๊าซ” หรือ “อีเทอร์” ในสมัยโบราณใช้คำนี้เพื่อแทนลมหายใจหรือพลังงานแห่งเอกภาพ ในร่างกายมนุษย์ “หนทางของขงจื้อ” เป็นรากฐานของการแพทย์จีนโบราณ การฝังเข็มก็มุ่งหมายเพื่อให้กระตุ้นให้ฉี้สามารถไหลผ่านบริเวณดังกล่าว การเลื่อนไหลของฉี้เป็นรากฐานแห่งการเคลื่อนไหวอย่างเลื่อนไหลต่อเนื่องของมวยไท้จินฉวนลัทธิขงจื้อแนวใหม่ได้พัฒนาความคิดเรื่องฉี้ซึ่งคล้ายคลึงกันอย่างน่าสนใจกับความคิดเรื่องควอนตัมในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่

เช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ฉี้เป็นรูปของสสารซึ่งบางเบาและไม่อาจเห็นได้ ทว่าปรากฏทั่วไปในอวกาศ เมื่อฉี้รวบรวมกันเข้า มันก็เป็นสิ่งที่แลเห็นได้ชัดเจนเป็นรูปร่าง (ของแต่ละสิ่ง) แต่เมื่อมันกระจัดกระจายออกไป ก็ไม่อาจแลเห็นมันได้และรูปร่างของมันก็ไม่อาจปรากฏ เมื่อมันรวบรวมกันเข้า เราจะกล่าวเป็นอย่างอื่นนอกจากว่ามันเป็นสิ่งซึ่งปรากฏชั่วครั้งชั่วคราวได้หรือ แต่ในขณะซึ่งมันกระจัดกระจายกันออกไปเรานะรีบกล่าวในทันทีได้หรือว่ามันไม่มีอยู่ ดังนั้นจึงรวบรวมเข้าและกระจัดกระจายออกสลับกันไป ก่อกำเนิดแก่รูปทั้งมวล ซึ่งในที่สุดก็มลายไปสู่ความว่าง จังไซกล่าวว่า ความว่างอันมหึมานั้นย่อมประกอบด้วยฉี้ ฉี้ย่อมรวบรวมหนาแน่นเข้าก่อตัวเป็นสรรพสิ่ง และสรรพสิ่งย่อมกระจัดกระจายออกเพื่อกลับสู่ความว่างอันมหึมา (อีกครั้ง)

เช่นเดียวทฤษฎีสนามควอนตัม สนามหรือฉี้มิใช่เป็นเพียงแก่นแท้ซึ่งรองรับสรรพสิ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหะแห่งปฏิกิริยาของสิ่งต่างๆ ในรูปของคลื่นคำอธิบายต่อไปนี้เกี่ยวกับความคิดเรื่องสนามของฟิสิกส์สมัยใหม่โดยวอลเตอร์ เฮอร์ริง และทัศนะของจีนต่อโลกของกายภาพโดยโจเซฟ นีคแฮม ได้แสดงให้เห็นความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ทฤษฎีของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ ได้นำความคิดของเราเกี่ยวกับแก่นแท้ของสสารวัตถุไปสู่ขอบเขตที่ต่างไปจากเดิม มันได้นำเราจากสิ่งที่เห็นได้คือ อนุภาค ไปสู่สิ่งที่รองรับมันอยู่คือ สนาม การปรากฏของวัตถุเป็นเพียงการรบกวนต่อสภาพที่สมบูรณ์ของสนาม ณ ที่แห่งนั้น เป็นสิ่งที่เกิดโดยไม่คาดฝัน เราอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเพียง “มลทิน” อันหนึ่งของสนาม และไม่มีกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ที่อธิบายแรงกระทำระหว่างอนุภาคพื้นฐาน…ระเบียบและสมมาตรพึงหาได้จากสนามซึ่งรับมันอยู่ จักรวาลทางกายภาพของชาวจีนในสมัยโบราณและสมัยกลางเป็นสภาพหนึ่งเดียวซึ่งมีความต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์ การที่ฉี้หนาแน่นเข้าปรากฏเป็นสสารวัตถุประกอบด้วยอะตอมซึ่งไม่อาจแลเห็นได้ มิใช่สิ่งสำคัญพิเศษแต่อย่างใด แต่วัตถุแต่ละชิ้นกระทำและถูกกระทำกับวัตถุอื่นในโลก…ในลักษณะคล้ายคลื่นหรือการสั่นสะเทือน ขึ้นอยู่กับจังหวะการเปลี่ยนแปลงสลับไปมาในทุกระดับของแรงพื้นฐานสองประการหยินและหยัง วัตถุแต่ละชิ้นจึงมีจังหวะภายในตัวของมัน และจังหวะเหล่านี้ได้ถูกรวมกันเข้า…เป็นแบบแผนทั่วไปแห่งการบรรหารสอดคล้องของโลกพิภพ

<< ย้อนกลับ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย