ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

บรู๊ซ ลี ( Bruce Lee)

ปรัชญาจี๊ทคุนโด
การฝึกของจี๊ทคุนโด
มวยหยงชุน
ปรมาจารย์ยิปมัน
รวมภาพบรู๊ซ ลี

บรู๊ซ ลี ( Bruce Lee)

ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง

(หน้า 2)

บรู๊ซ ลี เริ่มเล่นภาพยนตร์ตั้งแต่ยังเป็นทารกหนึ่งขวบ จากนั้นได้เป็นดาราในหนังฮ่องกงมาตั้งแต่เด็กๆเรื่อยๆมา และเดินทางออกจากอเมริกาไปฮ่องกงเมื่อปี 1958 โดยไม่มีเงินแต่ใช้การสอนเต้นรำแลกทุนการเดินทาง เขาไปเรียนรู้กังฟูกับอาจารย์จีนหลายคนเพิ่มเติม จนกลายเป็นหนุ่มยอดกังฟู และยังเรียนคาราเต้เพิ่มเติม ในสาขา Kenpo Karate จากอาจารย์ญีปุ่นในกลางทศวรรษที่ 60

ภาพยนตร์เรื่องแรกของบรู๊ซ ลี ที่ได้ฉายโรงในอเมริกาคือ Xi lu xiang หรือ My Son, Ah Chung (1950) ตอนที่เขายังอายุสิบขวบ จากนั้นลีเล่นภาพยนตร์มาตลอด เขาได้เข้าร่วมเป็นดารารับเชิญในทีวีมาตั้งแต่ปี 1966 รวมถึงได้เล่นซีรีย์ทีวีในอเมริกาเรื่อง เพชรฆาตหน้ากากแตน (The Hornet) ที่รับบทพระรองสวมหน้ากากภายใต้นามว่า เคโต้ โดยมีจุดเด่นที่เป็นคนช่วยพระเอกด้วยการใช้มวยกังฟู และทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมา .มากกว่าพระเอกในเรื่องเสียอีก แต่ภาพยนตร์ที่โด่งดังในอเมริกาคือ Tang shan da xiong หรือ Fists of Fury (หนังปี 1971 ฉายในอเมริกาปี 1972) โดยหนังที่โดดเด่นของของ บรู๊ซ ลี ก็มีเช่น

THE BIG BOSS (1971) ถ่ายทำในประเทศไทย ชื่อไทย ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง ชื่อในอเมริกา Fists of Fury โดยมีสถานที่ถ่ายทำหลักที่จังหวัดกรุงเทพ และสระบุรี แสดงร่วมกับ เหมียวเข่อซิ่ว (Mao Ke-hsiu หรือ Nora Miao) ดาราดังในยุคนั้น ซึ่งในเรื่องนี้ เธอเล่นเป็นตัวประกอบแม่ค้าขายน้ำแข็งใส

THE FISTS OF FURY (1972) ชื่อไทย ไอ้หนุ่มซินตึ๊งล้างแค้น เรื่องราวของ เฉินเจิน ศิษย์เอกของอาจารย์ฮั่วหยวนเจี่ย ที่ล้างแค้นแทนอาจารย์ที่ถูกคนญี่ปุ่นวางยาพิษจนเสียชีวิต แสดงร่วมกับ เหมียวเข่อซิ่ว เช่นเดียวกัน

THE WAY OF THE DRAGON (1972) (หนังที่ทำรายได้มากที่สุด) ชื่อไทย ไอ้หนุ่มซินตึ๊งบุกกรุงโรม ร่วมแสดงโดย เหมียวเข่อซิ่ว และชัค นอริส โดยหนังเรื่องนี้ บรู๊ซ ลี กำกับ และเขียนบทด้วยตนเอง ทั้งยังได้เข้าไปถ่ายทำใน โคลอสเซียม ของอิตาลี อีกด้วย

ENTER THE DRAGON (1973) ชื่อไทย ไอ้หนุ่มซินตึ๊งมังกรประจัญบาน

GAME OF DEATH (1978) (หนังเรื่องสุดท้ายของ บรู๊ซ ลี) ชื่อไทย ไอ้หนุ่มซินตึ๊งเกมมรณะ (จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้เป็นฟุตเตจที่ถ่ายไว้ไม่สมบูรณ์ ถ่ายหลังจากเรื่อง The way of dragom เพิ่งจบไป ถ่ายไว้ราวๆสี่สิบนาที เป็นฉากต่อสู้กับยอดฝีมือในด่านต่างๆ และพักไว้ หันไปสร้างเรื่อง Enter The Dragon ก่อน เมื่อเขาเสียชีวิต จึงได้นำมาปัดฝุ่น ถ่ายเพิ่มจนได้เป็นเรื่องนี้)

สิ่งหนึ่งที่บรู๊ซทำให้ศิลปะการป้องกันต้วมีความน่าสนใจคือ การบวกทัศนคติแบบเต๋าในการฝึกด้วย ดังจะเห็นว่าเขามักสอดแทรกปรัชญาในภาพยนตร์ของเขาบ่อยๆ ผ่านบทสนทนาของตัวละครเช่น..

  • "อย่ายึดติดในรูปแบบใดๆ แต่จงปรับให้เหมาะกับตนเอง และพัฒนาจากจุดนั้นไป จงทำตัวให้เหมือนน้ำ สงบ ไร้รูปแบบตายตัว ไร้รูปทรงตายตัว น้ำ ถ้าคุณเติมน้ำลงไปในถ้วย มันก็มีรูปทรงเป็นแบบเดียวกับถ้วย ถ้าใส่ในขวด มันก็กลายเป็นขวด ใส่ในกาน้ำชา ก็มีรูปเดียวกับกานั้น น้ำนั้นไหลผ่านสิ่งกีดขวางก็ได้ หรือจะบดขยี้สิ่งที่เข้ามาขวางก็ได้ จงเป็นแบบน้ำในการต่อสู้นะเพื่อนเอ๋ย"
     
  • "เป้าหมายไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ต้องไปถึงเสมอ บ่อยครั้งที่ความหมายมันเพียงแค่สิ่งที่เราเล็งไว้ก็ได้"
     
  • "ก็เพราะคำว่าผม ไม่มีอยู่จริง การต่อสู้ที่ดีคือการเล่น เล่นแบบเอาจริง เมื่ออีกฝั่งรุก เราก็ถอย เมื่อเขาถอย เราก็รุก และเมื่อโอกาสเปิด ผมไม่ได้ลงมือจู่โจมมันจู่โจมเอง เทคนิคที่ดี หรือมีค่าแค่ไหน ล้วนกลับกลายเป็นแค่เชื้อร้ายทั้งนั้น ถ้าจิตใจไปยึดติดมัน"

บรู๊ซ ลี ยังมีอาชีพสอนกังฟูค่าตัวแพง และเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้จีนหลายเล่ม ในปี 1964 เขากับคู่หูเปิดรับนักเรียนกังฟูที่ไม่ใช่เอเชียอย่างเป็นทางการในเมืองโอ๊กแลนด์ หลังจากสองปีก่อนเขาเคยเทรนคนผิวขาวคนแรกเล่นกังฟู และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยในปี 1964 มีสตูดิโอสอนกังฟูไม่จำกัดสีผิวเจ้าอื่นเปิดก่อนเป็นแห่งแรกในโลกที่ไชน่าทาวน์ ในลอสแอนเจลิส

บรู๊ซ ลี ตำนวนกังฟู ของโลก นักแสดงชาวเอเชียผู้บุกเบิกวงการฮอลลีวู้ด เสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1973 ขณะอยู่กับดาราสาวชาวฮ่องกงติงเพ่ยเจีย ต่อมา วันที่ 3 กันยายนพ.ศ.1973 ศาลและคณะแพทย์ออกแถลงอย่างเป็นทางการว่า บรู๊ซ ลี หรือ หลีเสี่ยวหลง เสียชีวิตด้วยอาการสมองบวม เนื่องจากแพ้ยาแก้ปวดที่ติงเพ่ย ให้กินก่อนเขาจะหลับไป เป็นการตายโดยอุบัติเหตุไม่ใช่ฆาตกรรมด้วยวัยเพียง 32 ปี ขณะที่กำลัง โด่งดังและอยู่ในวัยที่ร่างกายกำยำแข็งแรง การเสียชีวิตของเขาได้สร้างข้อกังขาให้กับบุคคลหลายฝ่าย

หลักฐาน ต่างๆที่หนังสือพิมพ์เคยตีพิมพ์ มีตั้งแต่การที่รถพยาบาลที่มารับเขาไม่ยอมเปิดไซเรน ชายฉกรรจ์สองคนที่ พาติงเพ่ยออกจากบ้านไปก่อนรถพยาบาลกับ ตำรวจจะมา หรือ ห่อยาโดปสองห่อข้างเตียงล้วนแต่ไม่มีการกล่าวถึง หลายคนหยุดหงิดกับ บทสรุปไม่น่าตื่นเต้นเหมือนเรื่องที่สื่อมวลชนเขียนเอาราวกับแต่งนิยาย หรือบทหนัง คนแข็งแรงอย่างบรูซลีก็ไม่ควรตายเพราะเรื่องแค่นี้

ทุกคนต่างถกเถียงถึง สาเหตุการเสียชีวิตของเขาว่าเป็นการฆาตกรรมมากกว่าโรคภัยจน มีเรื่องเล่ากันว่า บรู๊ซ ลี ตายเพราะการต่อสู้ จากนิสัยที่มีความหยิ่ง ผยองในความเก่งกาจของตัวเอง จนเกิดการท้าประลองกับยอดนักกังฟูของจีนแผ่นดินใหญ่การต่อสู้จบลงโดย บรู๊ซ ลี บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต

บางคนเลยเถิดถึงขั้นยอมเชื่อว่า มันเป็นเพราะไสยศาสตร์ จนลือกันไปว่าบ้านพักของเขาที่เกาลูนตงในฮ่องกง สร้างทับปากถ้ำมังกรเก้าตัว จึงนำอาเพศมาให้ บ้างก็ยังมีถึงขนาดเชื่อว่าลียังไม่ตายเขาเพียงแค่หลอกปีศาจที่ตามมา เอาชีวิตเท่านั้น เมื่อถึงเวลาเขาจะกลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง

สื่อฮ่องกงเปิดเผยรายงานของผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันรายหนึ่งถึงสาเหตุการเสีย ชีวิตของ บรู๊ซ ลี โดยตั้งข้อสันนิษฐานใหม่ว่ามีความเป็น ไปได้มากที่ สุดที่บรู๊ซจะเสียชีวิตด้วยโรคลมบ้าหมูอย่างเฉียบพลัน เนื่องมาจากการอดนอนและความเครียด ไม่ใช่มาจากอาการแพ้ยาตามรายงาน ชันสูตรศพในปี 1973

บรู๊ซ ลีเคยกล่าวไว้ในหนังสือที่บันทึกชีวประวัติ ของเขาว่า

"การมีชีวิตอยู่นั้น ไม่สำคัญว่ายาวนานขนาดไหนความสำคัญอยู่ ที่ระหว่างที่มีชีวิตอยู่นั้น ได้ทำสิ่งที่ตนปราถนาหรืออยากทำหรือไม่ สำหรับตนนั้นได้ทำสิ่งที่ใฝ่ฝันสำเร็จแล้ว ดังนั้น ความตายจึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป"

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย