ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ปรัชญาจี๊ทคุนโด
การฝึกของจี๊ทคุนโด
มวยหยงชุน
ปรมาจารย์ยิปมัน
รวมภาพบรู๊ซ ลี
มวยหยงชุน
ในรัชสมัยของกษัตริย์หยวนเช็งแห่งราชวงศ์ชิงวัดเสื้ยวลิ้มได้ถูกวางเพลิงโดยทหารมองโกลซึ่งศิษย์ทรยศหมานิงยี่ได้ช่วยให้ทหารมองโกลวางเพลิงสำเร็จโดยตนเองช่วยวางเพลิงจากภายในวัด
การวางเพลิงครั้งนี้ส่งผลให้ 5
ปรมาจารย์อาวุโสพร้อมลูกศิษย์ต้องฝ่าทหารมองโกลลงสู่ภาคใต้ อาจารย์ทั้ง 5 คือ -
แม่ชีหวู่เหมย (หวึมเม่ย - กวางตุ้ง) - จี้ส่าน (จีซิ่น - กวางตุ้ง) -
คิ้วขาวแป๊ะเหมย - ฟองโตตั๊ก - เมียวหิ่น
และยังมีศิษย์ฆราวาส เช่น หงซีกวน (หงเหกุ้น - กวางตุ้ง), ฟางซื่อยี่
(ฟงไสหยก - กวางตุ้ง),
ลกอาชอยปรมาจารย์จี้ส่านสอนศิษย์ฆราวาสมากมายและได้นำศิษย์เหล่านี้เข้าต่อต้านแมนจู
นำโดยศิษย์พี่ชื่อ หงชีกวน ตงชินกุน ฉอยอาฝกพวกเขาปฏิบัติการในเรือแดง
โดยจี้ส่านได้ปลอมตัวเป็นพ่อครัวของคณะงิ้วเรือแดงหงชวนส่วนปรมาจารย์เมียวหิ่น
และลูกสาวเมียวซุยฟ้า ได้หลบไปอยู่กับชาวเมี่ยวและเย้า
ณพรมแดนระหว่างมลรัฐเสฉวนและยูนนาน
ปรมาจารย์หวู่เหมยศิษย์พี่หญิงผู้อาวุโสที่สุดในบรรดาปรมาจารย์ทั้ง 5
ได้หนีความวุ่นวายไปพำนักอยู่ที่วัดกระเรียนขาวบนเขาไทซานที่อยู่ระหว่างมลรัฐเสฉวนและยูนนาน
แม่ชีหวู่เหมยยังได้คิดค้นวิทยายุทธ์แขนงใหม่ซึ่งแตกต่างและมีประสิทธิภาพกว่าวิทยายุทธ์
ซึ่งได้เรียนรู้ที่วัดเสี้ยวลิ้มท่านได้พบเคล็ดลับโดยบังเอิญ
เมื่อแม่ชีหวู่เหมยได้เห็นการต่อสู้ระหว่างจิ้งจอกและนกกระเรียนซึ่งจิ้งจอกจะวิ่งเวียนไปรอบๆ
กระเรียนเป็นวงกลม หวังหาจังหวะจู่โจมในขณะที่กระเรียนยืนอยู่ในศูนย์กลางของวงกลม
จะหันหน้าเข้าหาจิ้งจอกทุกครั้งเมื่อจิ้งจอกโจมตีด้วยกรงเล็บนกกระเรียนก็จะปัดด้วยปีกพร้อมกับตอบโต้ด้วยการจิกด้วยจงอยปาก
ส่วนจิ้งจอกพยายามอาศัยความเร็วและความเจ้าเล่ห์ของมันแต่นกกระเรียนก็สามารถตั้งรับและตอบโต้ได้ทุกครั้งการต่อสู้ของจิ้งจอกและนกกระเรียนนี้ทำให้แม่ชีหวู่เหมยได้ค้นพบพื้นฐานของวิชาหมัดมวยชนิดใหม่
วิชาการต่อสู้ชนิดใหม่นี้ไม่ได้ถูกตั้งชื่อเป็นมวยจิ้งจอกหรือมวยกระเรียนเนื่องจากมวยชนิดนี้ไม่ได้เลียนแบบท่าทางของจิ้งจอกหรือนกกระเรียนหากแต่อาศัยหลักการต่อสู้อันแยบยลตามธรรมชาติของจิ้งจอกในการหลบหลีกการปะทะโดยใช้การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเป็นวงกลมและการโจมตีที่เป็นเส้นตรงพุ่งเข้าสู่ศัตรูส่วนนกกระเรียนจะใช้หลักการในการหันเข้าหาศูนย์กลางของคู่ต่อสู้พร้อมกับการปิดป้องและโจมตีคู่ต่อสู้ไปพร้อมกันกรงเล็บ
เขี้ยว จงอยปาก ปีก
ได้ถูกทดแทนโดยหมัดและฝ่าเท้าซึ่งถูกคิดค้นให้ใช้ออกมาอย่างถูกสรีระของมนุษย์มากที่สุด
วิทยายุทธ์ชนิดใหม่นี้แตกต่างกับหลักวิทยายุทธ์เสี้ยวลิ้มเดิมโดยสิ้นเชิง
แม่ชีหวู่เหมยได้ตัดกระบวนท่าอันซับซ้อนและเปลี่ยนเป็นกระบวนท่าที่กระชับอาศัยการเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุดเพื่อที่จะโจมตีสู่เป้าหมายในระยะใกล้ในเวลาที่น้อยที่สุดและได้พลังโจมตีมากที่สุดด้วยกระบวนท่าในการฝึกฝนได้ถูกลดลงเหลือแค่มวยเพียงสามเส้น
หุ่นไม้หนึ่งเส้นมีดคู่ฟันแปดท่าหนึ่งเส้น และกระบองหกแต้มครึ่ง
ต่างกับมวยชนิดอื่นๆซึ่งอาจจะมีหลายสิบกระบวนท่ารำ ซึ่งยากแก่การจดจำและนำไปปฎิบัติ
อินหยงชุน อาศัยอยู่กับบิดาชื่อหยิ่มยีในมลรัฐกวางตุ้งหลังจากมารดาเสียชีวิตลง
บิดาได้หมั้นหมายตนไว้กับพ่อค้าชื่อเหลียงป๊อกเชาชาวฮกเกี้ยน
ซึ่งในขณะนั้นหย่งชุนยังเป็นเด็ก
ต่อมาบิดาได้เข้าช่วยเหลือผู้อื่นจนมีคดีติดตัวต้องพาหย่งชุนหลบหนีไปยังพรมแดนระหว่างรัฐเสฉวนและยูนนานและทั้งคู่ได้ยังชีพด้วยการขายเต้าหู้อยู่
ณ เชิงเขาไทซาน สถานที่ ที่แมชีหวู่เหมยหรือ ปรมาจารย์หวู่เหมย พำนักอยู่
เนื่องจากที่หย่งชุนเป็นสาวงามจนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีอันธพาลมาชอบพอหย่งชุนและบังคับให้แต่งงานด้วยจึงทำให้บิดาเป็นกังวลอย่างมาก
ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีจนบิดาของเธอได้ไปเล่าเรื่องนี้ให้แม่ชีหวู่เหมยที่พำนักอยู่บนเขาไทซานฟังแม่ชีหวู่เหมยต้องการช่วยเหลือหยงชุน
จึงรับหยงชุนเข้าเป็นศิษย์ให้ไปอาศัยอยู่บนเขาและฝึกวิทยายุทธ์แขนงใหม่ที่แม่ชีคิดค้นขึ้น
จนเวลาผ่านไป 3
ปีหยงชุนได้ฝึกฝนได้คล่องแคล่วจนสามารถใช้ป้องกันตนเองได้แล้วหยงชุนจึงได้กลับมาหาบิดาอีกครั้ง
เป็นดังคาดอันธพาลคนเดิมได้มารังควาญอีกครั้ง
คราวนี้หยงชุนไม่ได้หลีกเลี่ยงอีกต่อไปแต่ได้ท้าประลองกับอันธพาล
และได้รับชัยชนะในเวลาอันสั้น
หลังจากนั้นหยงชุน ได้แต่งงานกับพ่อค้าเหลียงป๊อกเชา
หยงชุนพยายามจะสอนวิทยายุทธ์ที่ได้ร่ำเรียนมาให้กับสามีของเธอหากแต่สามีไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่นักเพราะตัวเขาเองก็ได้ร่ำเรียนมวยเสี้ยวลิ้มมาอย่างช่ำชองแล้ว
แต่เมื่อหยงชุนได้แสดงวิทยายุทธ์โดยการประมือกับสามีของเธอซึ่งทำให้สามีพ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่า
เขาจึงยอมเรียนรู้วิชานี้จากหยงชุนและได้ตั้งชื่อวิทยายุทธ์นี้ตามชื่อภรรยาว่า
"หยงชุน"
ต่อมาเหลียงป๊อกเชาได้สอนวิทยายุทธ์นี้ให้กับ เหลียงล่านไกว
เมื่อเหลียงล่านไกวฝึกสำเร็จตัวเขาพยายามปกปิดไม่เผยแพร่วิทยายุทธ์หยงชุนนี้
โดยมีครั้งหนึ่งได้ใช้วิทยายุทธ์นี้เข้าต่อสู้กับกลุ่มนักมวยที่กำลังรุมล้อมนักมวยผู้หนึ่ง
เหลียงล่านไกว ได้สอนวิทยายุทธ์หยงชุนให้กับ หว่องหว่าโปวและเหลี่ยงหยี่ไท
เมื่อเหลี่ยงหยี่ไทเกือบเข้าสู่วัยชรา ทุกเย็นหลังเลิกงาน
ในขณะฝึกสอน
"ฉานหว่าซุน" ได้แอบฝึกมวยหยงชุนโดยมองผ่านเข้ามาตามซอกประตู
จนกระทั่งเหลียงจั่นจับได้เหลียงชุนได้ชวนให้ฉานหว่าซุ่นมาประลองกัน
ในที่สุดเหลียงจั่นก็ยอมรับและรับฉานหว่าซุนเป็นศิษย์ด้วยอีกคนเหลียงจั่นได้ถ่ายทอดมวยหยงชุนให้กับบุตรชายทั้งสอง
คือ "เหลียงชุน" และ "เหลียงปิ๊ก" รวมทั้ง "หมกหยั่นหว่า"
(หว่าหุ่นไม้)ผู้มีแขนทั้งสองอันแข็งแรงได้สอนวิชามวยให้กับศิษย์เพียงคนเดียว คือ
"เหลียงจั่น"ซึ่งเขาเป็นหมอแผนโบราณชื่อดังแห่งเมืองฝอสาน ในมลฑลกวางตุ้ง
ต่อมาเหลียงจั่นได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งหมัดมวยหยงชุน
หรือราชามวยประลองเนื่องจากนักมวยทั่วสารทิศได้มาท้าประลองกับเหลียงจั่นแต่ทุกคนก็ได้พ่ายแพ้ไปรู้สึกชอบพอถูกชะตา
จนได้แลกเปลี่ยนวิชากัน
หลังจากนั้นทั้งสองได้ดัดแปลงวิชากระบองหกแต้มครึ่งโดยประยุกต์หลักการฟังด้วยสัมผัสจากหมัดหยงชุน
หรือ "ชี้เสา"และเรียกการฝึกฝนด้วยกระบองสัมผัสนี้ว่า "ชี้กวัน" (ที่เรียกว่า
ชี้เสาคู่ฝึกจะใช้แขนสัมผัสกันตลอดการฝึกฝนโดยต่างฝ่ายจะฟังการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายจากการสัมผัสในขณะที่พยายามปิดป้องและโจมตีในเวลาเดียวกัน
โดยใช้วิชามวยหยงชุนในระหว่างการฝึกในการฝึกแขนทั้งสองฝายจะต้องไม่หลุดสัมผัสหรือไม่แยกออกจากกันเลย)
"หว่องหว่าโปว" นักแสดงงิ้วแห่งคณะงิ้วเรือแดง และบังเอิญที่ปรมาจารย์
จี้ส่านได้ปลอมตัวเป็นพ่อครัวเข้ามาในคณะงิ้วนี้ด้วย
ในเวลานั้นปรมาจารย์จี้ส่านได้สอนลูกศิษย์อยู่จำนวนหนึ่ง และ "เหลี่ยงหยี่ไท"
นายคัดท้ายเรือก็คือหนึ่งในจำนวนศิษย์ของเขาเหลี่ยงหยี่ไทได้ฝึกวิชากระบองหกแต้มครึ่งมาจากปรมาจารย์จี้ส่าน
เมื่อฉานหว่าซุนฝึกวิชาสำเร็จต่อมาได้รับลูกศิษย์ไว้ทั้งหมด 16 คน ศิษย์คนโตชื่อว่า
"หงึงชงโซว"และศิษย์คนสุดท้ายคือ "ยิปมัน"