ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ศาสนาคริสต์

คริสต์ศาสนปราชญ์

คริสต์ศาสนปราชญ์ (ภาษาอังกฤษ: Doctor of the Church; ภาษาละติน: docere) “docere” หรือ“doctor” ในภาษาละตินหมายถึง “สอน” “คริสต์ศาสนปราชญ์ ” เป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งให้ผู้ที่มีความสำคัญทางศาสนาโดยเฉพาะทางด้านคริสต์ศาสนวิทยาหรือคำสอนของคริสต์ศาสนา

คริสต์ศาสนปราชญ์ในนิกายโรมันคาทอลิก
ในนิกายโรมันคาทอลิกตำแหน่งนี้จะมอบให้แก่นักบุญผู้เป็นเจ้าของงานประพันธ์ที่ทั้งสถาบันคริสต์ศาสนาถือว่ามีคุณค่าต่อการศึกษา โดยเป็นการประกาศจากพระสันตะปาปาหรือจากการประชุมสภาบาทหลวง (ecumenical council) การแต่งตั้งนี้นานๆ จึงทำกันครั้งหนึ่งและเป็นการแต่งตั้งหลังจากที่ผู้ได้รับการแต่งตั้งเสียชีวิตไปแล้วและหลังจากที่ได้รับสถาปนาให้เป็นเซนต์แล้วเท่านั้น เกรกอรี, แอมโบรส, ออกัสตินแห่งฮิปโป และ เจอโรมเป็นเซนต์สี่ท่านแรกที่ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นคริสต์ศาสนปราชญ์ เมื่อปึ ค.ศ. 1298 ทั้งสี่ท่านเป็นที่รู้จักรวมกันในนาม “คริสต์ศาสนปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศาสนจักรตะวันตก” และ “คริสต์ศาสนปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศาสนจักรตะวันออก” สี่องค์คือ นักบุญจอห์น คริสซอสตอม, นักบุญเบซิลแห่งเซซาเรีย, นักบุญเกรกอรีแห่งนาเซียนซัส และ นักบุญอธาเนเซียสแห่งอเล็กซานเดรีย ผู้ได้รับแต่งตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1568 โดย สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5

คริสต์ศาสนปราชญ์แต่ละองค์ก็มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ กัน เช่นนักบุญเกรกอรีหรือพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 และนักบุญแอมโบรสเป็นนักเขียนจดหมายและศาสตรนิพนธ์, นักบุญแคทเธอรินแห่งเซียนนา และ นักบุญจอห์นแห่งกางเขนจะเขียนเกี่ยวกับเทววิทยาแบบรหัสยิก นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโปและนักบุญโรเบิร์ต เบลลาร์มีนจะป้องกันศาสนาจากพวกนอกรีต นักบุญบีดเขียน “ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาของชนอังกฤษ” ซึ่งเป็นเอกสารที่ดีที่สุดในทางประวัติศาสตร์อังกฤษในยุคกลาง นักบุญแอนเซลมแห่งแคนเตอร์บรี, นักบุญอัลเบอร์ทัส แม็กนัส และ นักบุญโทมัส อควีนาส เป็นทั้งนักเทววิทยาคริสเตียนและนักปรัชญา

นิกายโรมันคาทอลิกได้แต่งตั้ง “คริสต์ศาสนปราชญ์” ทั้งหมดด้วยกัน 33 องค์ ในจำนวนนี้ 17 องค์เสียชีวิตก่อนที่จะมีการแยกตัวของนิกายทางตะวันออกในปี ค.ศ. 1054 ซึ่งทาง นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ก็ยังนับถือปราชญ์ทั้ง 17 องค์นี้ ในบรรดา 33 องค์นี้ 25 องค์มาจากศาสนจักรตะวันตก และอีก 8 มาจากศาสนจักรตะวันออก 3 คนเป็นผู้หญิง 18 คนเป็นบาทหลวง 29 คนเป็นพระ 1 คนเป็นดีคอน 2 คนเป็นชี 1 เป็นหญิงฆราวาส; 24 คนมาจากยุโรป, 3 คนมาจากแอฟริกาและอีก 6 คนมาจากเอเชีย

พระสังฆราช
แปลว่า ตำแหน่งผู้เป็นใหญ่ในสังฆมณฑล ซึ่งเป็นคำที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หมายถึง ประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก มุขนายก หรือ พระสังฆราช เป็นผู้สืบตำแหน่งจาก อัครธรรมฑูต (ศิษย์ 12 คน ซึ่งติดตามพระเยซูเจ้าอย่างใกล้ชิดในสมัยที่พระองค์ยังคงดำรงชีพ เป็นมนุษย์เมื่อ 2000 ปีมาแล้ว)

มุขนายก
หรือพระสังฆราช เป็นหัวหน้าปกครอง คณะบาทหลวง นักบวชชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชน ในเขตสังฆมณฑล มุขนายก หรือ พระสังฆราช จะต้องเป็นพระสงฆ์ หรือบาทหลวงมาก่อน และต่อมาได้รับการแต่งตั้ง จากสมเด็จพระสันตะปา ปาโดยได้รับการอภิเษกขึ้นสู่ตำแหน่ง พระสังฆราช ซึ่งเป็นศีลบวชขั้นสูงสุด (ศีลบรรพชา ศีลบวชในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มี 3 ขั้นคือ ขั้นสังฆานุกร(Deacon) ขั้นพระสงฆ์(Priest) ขั้นพระสังฆราช(Bishop) พระสังฆราช เป็นสรรพนามที่ใช้เรียก ประมุขสังฆมณฑล ซึ่งเป็นเขตการปกครองในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก พระคุณเจ้า เป็นสรรพนามที่ ชาวคริสต์ใช้เรียก พระสังฆราช หรือมุขนายก มุขนายก เป็นสรรพนามที่ใช้เรียก พระสังฆราชในทางราชการ )

สังฆมณฑล
คือ เขตการปกครองของพระสังฆราชในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 10 เขต(สังฆมณฑล)

สมเด็จพระสังฆราช (คริสต์ศาสนา)

โยฮันน์ ออตโต ฟอน เกมมิงเกนสมเด็จพระสังฆราชแห่งออกสเบิร์กในบาวาเรีย สมเด็จพระสังฆราช (อังกฤษ: Prince-Bishop) สมเด็จพระสังฆราชของคริสต์ศาสนาคือสังฆราชที่มีอำนาจการปกครองอาณาจักรทั้งในกิจการทางศาสนาและทางการเมือง หลังจากที่อำนาจของจักรวรรดิโรมันเริ่มเสื่อมโทรมลงในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ทางตะวันตกก็ต้องเผชิญกับการรุกรานของบาร์บาเรียน บางครั้งสังฆราชคริสเตียนของเมืองก็ปกครองเมืองแทนผู้นำโรมันเดิมและบางครั้งก็จัดตั้งกองทหารของตนเองเมื่อมีความจำเป็น ต่อมความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระสังฆราชและชาวเมืองก็อาจจะเลวลง เมื่อทางเมืองต้องการพระประกาศอนุญาตจากพระจักรพรรดิหรือพระมหากษัตริย์และประกาศตัวเป็นอิสระจากอำนาจของขุนนาง ความขัดแย้งระหว่างชาวเมืองและสังฆราชก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ในสมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์พระจักรพรรดิบางครั้งก็ทรงออกประกาศมอบสิทธิบางอย่างให้สังฆราชการปกครองทางการเมืองในสังฆมณฑลที่สังฆราชปกครองอยู่ ซึ่งเป็นการมอบอำนาจให้เป็นผู้ช่วยในการปกครองของพระจักรพรรดิ ที่ทำให้อำนาจของสมเด็จพระสังฆราชกลายมาเป็นคล้ายรัฐมนตรีในด้านการศาสนา ในจักรวรรดิรัสเซียการมอบอำนาจยิ่งไกลไปกว่านั้นเมื่อมีการยุบการปกครองสังฆจักรและนำสถาบันการปกครองทางศาสนาไห้ขึ้นโดยตรงต่อรัฐบาลฆราวาส

อาณาจักรสังฆราช

อาณาจักรสังฆราช อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนจักรตะวันตก

  •  สังฆมณฑลศักดิ์สิทธิ์ หรือ สันตะสำนัก (Holy See) - สังฆมณฑลที่ปกครองโดยสังฆราชแห่งโรมหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าพระสันตะปาปา
  • สังฆมณฑล (Diocese) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “สังฆราช” (Bishop) หรือ “อัครสังฆราช” ของคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก, ออร์โธด็อกซ์, อังกลิคัน หรือบางลัทธิในนิกายลูเธอรัน ตัวอย่างเช่น “สังฆมณฑลแคนเตอร์บรี” (Diocese of Canterbury) ที่มีศูนย์กลางที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี ที่ปกครองโดย “อัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรี” (Archbishop of Canterbury) หรือ “สังฆมณฑลเดอแรม” (Diocese of Durham) ที่มีศูนย์กลางที่มหาวิหารเดอแรม ที่ปกครองโดย “สังฆราชแห่งเดอแรม” (Bishop of Durham) 
  • อาณาจักรสังฆราช (Bishopric) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “สังฆราช” (Bishop) เป็นชื่อที่ใช้ในประวัติศาสตร์ที่มักจะใช้กันในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่สังฆราชนอกจากจะมีอำนาจการปกครองทางศาสนาแล้วก็ยังมีอำนาจการปกครองทางการเมืองในท้องถิ่นที่ปกครองด้วย ตัวอย่างเช่น “อาณาจักรสังฆราชแห่งฮิลเดสไฮม์” (Bishopric of Hildesheim) ที่ปกครองโดย “สังฆราชแห่งฮิลเดสไฮม์” (Bishop of Hildesheim)
  • อาณาจักรอัครสังฆราช (Archbishopric) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “อัครสังฆราช” (Archbishop) เป็นชื่อที่ใช้ในประวัติศาสตร์ที่มักจะใช้กันในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่สังฆราชนอกจากจะมีอำนาจการปกครองทางศาสนาแล้วก็ยังมีอำนาจการปกครองทางการเมืองในท้องถิ่นที่ปกครองด้วย ตัวอย่างเช่น “อาณาจักรอัครสังฆราชแห่งไมนซ์” (Archbishopric of Mainz) ที่ปกครองโดย “อัครสังฆราชแห่งไมนซ์” (Archbishop of Mainz)
  • อาณาจักรสมเด็จพระสังฆราช (Prince-Bishopric) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “สมเด็จพระสังฆราช” (Prince-Bishop) เป็นชื่อที่ใช้ในประวัติศาสตร์ที่มักจะใช้กันในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่สังฆราชมีฐานะเป็น “Prince” ที่มีอำนาจการปกครองทั้งทางศาสนาและทางการเมืองในท้องถิ่นที่ปกครองด้วย ตัวอย่างเช่น “อาณาจักรสมเด็จพระสังฆราชแห่งแบมเบิร์ก” (Prince-Bishopric of Bamberg) ที่ปกครองโดย “สมเด็จพระสังฆราชแห่งแบมเบิร์ก” (Prince-Bishop of Bamberg) คริสต์จักรตะวันออก
  • อาณาจักรพาทริอาค (Patriarchate) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “สังฆราช” (Bishop หรือ Patriarch) ตัวอย่างเช่น “อาณาจักรพาทริอาคแห่งอันติโอค” (Patriarchate of Antioch) ที่ปกครองโดย “พาทริอาคแห่งอันติโอค” (Patriarch of Antioch)

พระคาร์ดินัล

คาร์ดินัล (Cardinal) เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจากพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองพระศาสนจักรสากล ตำแหน่งนี้ อาจเทียบเท่ากับพระชั้นพระราชาคณะในพุทธศาสนา หรือวุฒิสมาชิกในทางโลก. ในสมัยก่อน ตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส แต่นับตั้งแต่ตรากฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด (ค.ศ. 1917-1983) พระสงฆ์และพระสังฆราชเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้. หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วมประชุมลับเพื่อเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาได้

ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองพระศาสนจักรสากล ตำแหน่งนี้ อาจเทียบเท่ากับพระชั้นพระราชาคณะ ในพุทธศาสนาหรือวุฒิสมาชิกในทางโลก สมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัล มักเป็นฆราวาส นับตั้งแต่ตรากฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด(1917-1983) พระสงฆ์และพระสังฆราชเท่านั้น มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัล คือ เข้าร่วมประชุมลับเพื่อเลือกพระสันตะปาปา องค์ใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาได้พระคาร์ดินัล อาจมีตำแหน่ง มุขนายก หรือ พระสังฆราช เป็นหัวหน้าปกครอง คณะบาทหลวง นักบวชชาย-หญิง และ คริสต์ศาสนิกชน ในเขต สังฆมณฑล ที่ท่านเป็นผู้ปกครองด้วย พระคาร์ดินัลอาจมีตำแหน่งมุขนายกหรือพระสังฆราช เป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง นักบวชชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชน ในเขตสังฆมณฑลที่ท่านเป็นผู้ปกครองด้วย พระคาร์ดินัล ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู ที่อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯเป็นพระคาร์ดินัลยาวนานมาก ค.ศ. 1983

ที่มาของคำว่า Cardinal
คำว่า cardinal มาจากคำในภาษาลาตินที่ใช้เรียกบานพับประตู (cardo) ในพระศาสนจักรยุคแรก ๆ เวลาที่คนคนหนึ่งบวชเป็นบาทหลวง ท่านผู้นั้นจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และหากบาทหลวงท่านใดท่านหนึ่ง ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น ก็เปรียบเสมือนว่าเป็นการแซะเอาบาทหลวงท่านนั้น ออกจากประตูบานเดิม (ตำแหน่งเดิม) ไปขันนอตติดกับประตูบานใหม่ (ตำแหน่งใหม่) โดยในภาษาอังกฤษใช้การเปลี่ยนตำแหน่งในกรณีนี้ว่า "incardinated" ซึ่งก็มาจากรากศัพท์ในภาษาลาตินว่า "cardo"ซึ่งแปลว่าบานพับประตู การใช้คำดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายในพระศาสนจักรยุคแรก ๆ จนต่อมาในรัชสมัยของพระสันตะปาปา เกรกอรี่มหาราช (Pope Gregory the Great 590-604) ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ดังกล่าวเป็นคำศัพท์เฉพาะในกฎหมายพระศาสนจักร

ในยุคนั้นบาทหลวงบางท่านมีความสามารถเฉพาะตัวสูง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยพระสังฆราช (และกลายเป็น "คาร์ดินัล" แทนที่จะเป็นบาทหลวงผู้ดำรงตำแหน่งปกติ) และในบางกรณี บาทหลวงบางท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้ประกอบพิธีกรรมอยู่ตามสักการสถานโบราณหลาย ๆ แห่งในกรุงโรม เช่น มหาวิหารเซ็นต์ ปีเตอร์, มหาวิหารเซ็นต์ปอล, มหาวิหารมารีย์ มาจีโอร่า และมหาวิหารเซ็นต์จอห์น ละเตอรัน ฯลฯ เป็นต้น และเนื่องจากภารกิจดังกล่าว มีวาระการแต่งตั้งเป็นการชั่วคราว จึงเรียกท่านเหล่านั้นว่า "คาร์ดินัล" และนี่คือที่มาของคำว่า "คาร์ดินัลสงฆ์" ในปัจจุบัน(คาร์ดินัลที่มีศักดิ์เทียบเท่าพระสงฆ์ - "cardinal presbyters") ส่วนบรรดาพระสังฆราชที่ประจำตามเมืองต่าง ๆ รอบ ๆ กรุงโรมในยุคนั้น ต่างก็ผลัดเปลี่ยนกันประกอบพิธีในมหาวิหารละเตอรัน ซึ่งเป็นอาสนวิหารประจำกรุงโรม และถึงแม้ว่าท่านเหล่านั้นจะดำรงตำแหน่งประจำเป็นสังฆราชในสังฆมณฑลของตน แต่ท่านก็ได้กลายเป็น "คาร์ดินัล" ในขณะที่ท่านประกอบพิธีในมหาวิหารดังกล่าว และพระสันตะปาปาก็ได้ให้ความสำคัญต่อบรรดาพระคาร์ดินัลเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยการปรึกษากิจการงานของพระศาสนจักรอยู่เป็นประจำ นี่คือที่มาของคำว่า "คาร์ดินัลสังฆราช" (คาร์ดินัลที่ศักดิ์เทียบเท่าพระสังฆราช - "cardinal bishops") ซึ่งดำรงตำแหน่งสังฆราชประจำสังฆมณฑลเจ็ดแห่งรอบ ๆ กรุงโรมในปัจจุบันและหลังจากที่พระสันตะสำนักได้อำนาจการปกครองกรุงโรม ก็จำเป็นต้องให้บริการต่าง ๆ ด้านสังคมแก่บรรดาประชาชน โดยบริการดังกล่าวนี้ แรกทีเดียวบรรดาสังฆานุกร (deacons) ซึ่งเป็นบุคลากรของพระสันตปาปาที่ประจำอยู่หาวิหารละเตอรันเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ต่อมาก็ได้มีการส่งบุคลากรดังกล่าวไปประจำตามศูนย์บริการด้านสังคม (diaconiae) ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วกรุงโรม โดยที่ศูนย์แต่ละแห่งจะมีวัดน้อย (chapel) อยู่ด้วย ความสำคัญของท่านเหล่านั้นในการช่วยเหลือผู้ยากไร้คือที่มาของคำว่า "คาร์ดินัลสังฆานุกร" ในปัจจุบัน (คาร์ดินัลที่มีศักดิ์เทียบเท่าสังฆานุกร "cardinal deacons")

บรรดาพระคาร์ดินัลต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้เริ่มทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการช่วยพระสันตะปาปาปฏิบัติภารกิจในฐานะพระสังฆราชแห่งกรุงโรม และในฐานะประมุขของสภาพระสังฆราชทั่วโลก รวมทั้งการเป็นผู้แทนของพระองค์ในการปฏิบัติภารกิจพิเศษต่าง ๆ และการเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาในการประชุมสังคายนาต่าง ๆ ด้วย พระสันตะปาปาหลายองค์ในคริสตศตวรรษที่ 11 ได้ทำการแต่งตั้งบุคคลากรหลาย ๆ ท่านให้มาช่วยในการปฏิบัติภารกิจของพระองค์ที่กรุงโรม โดยทรงแต่งตั้งให้ท่านเหล่านั้นปกครองวิหารต่าง ๆ ในกรุงโรม โดยไม่ต้องไปประกอบพิธีกรรมเป็นประจำทุกวันตามวิหารเหล่านั้น บุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าวจึงดำรงตำแหน่ง "คาร์ดินัล" ไปด้วยและมีบทบาทสำคัญในการอภิบาลสัตบุรุษในกรุงโรม และในการฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิตของบรรดาคริสตชนในพระศาสนจักรทั่วโลก

ยุคทองของสถาบันคาร์ดินัลมีจุดเริ่มต้นจากพระราชโองการของพระสันตะปาปานิโคลาสที่สอง เกี่ยวกับการเลือกตั้งพระสันตะปาปา ซึ่งประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1059 ซึ่งกำหนดให้คาร์ดินัลสังฆราช คาร์ดินัลสงฆ์ และคาร์ดินัลสังฆานุกร มีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาแทนตำแหน่งที่ว่างลง โดยที่พระสมณะ (clergy) อื่น ๆ และบรรดาสัตบุรุษมีบทบาทเพียงการให้สัตยาบันต่อผลของการเลือกตั้งเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1179 สังคายนาแห่งละเตอรันครั้งที่สาม ได้มีมติให้สถาบันคาร์ดินัลสามารถเลือกตั้งพระสันตะปาปาแทนตำแหน่งที่ว่างลงได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องได้รับสัตยาบันจากพระสมณะอื่น ๆ และบรรดาสัตบุรุษ

เครื่องหมายประจำตำแหน่งของพระคาร์ดินัลโดยเฉพาะคือ หมวกปีกกว้าง ( galero, ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ) และหมวก “บีเร็ตต้า” ( biretta - หมวกทรงสี่เหลี่ยมมีสันด้านบนเป็นสามแฉก) สีแดง ( เลือดนก ) ซึ่งเป็นสีของอาภรณ์อื่น ๆ ของพระคาร์ดินัลด้วย ( สีอาภรณ์ของพระสังฆราชคือสีม่วง ) สีแดงนี้เป็นสัญลักษณ์หมายถึงโลหิต ที่พระคาร์ดินัลจะต้องมีความกล้าหาญถึงกับยอมสละได้ เพื่อป้องกันและเทิดทูนคำสอนที่พระศาสนจักรสั่งสอน เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความสงบสุขของประชากรคริสตชน เพื่อความเจริญมั่นคงของพระศาสนจักร ฉะนั้น ในพิธีแต่งตั้งพระสันตะปาปาจะกล่าวกับพระคาร์ดินัลใหม่ ขณะที่ทรงมอบหมวกแดงประจำตำแหน่งนี้ว่า “เพื่อเป็นเกียรติแด่พระเป็นเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ และเป็นอาภรณ์ประดับสันตะสำนัก ท่านจงรับหมวกแดงอันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งคาร์ดินัลอันสูงส่ง หมวกแดงนี้หมายความว่าท่านจะต้องแสดงตนกล้าหาญแม้กระทั่งจะต้องหลั่งโลหิตถึงแก่ชีวิตเพื่อยกย่องเทิดทูนความเชื่ออันศักดิ์สิทธิ์เพื่อสันติภาพ และความสงบสุขของประชากรคริสตชน เพื่อความเจริญมั่นคงของพระศาสนจักรโรมันอันศักด์ิสิทธิ์ เดชะพระนามพระบิดา และพระบุตร และพระจิต”

เนื่องจากตำแหน่งคาร์ดินัล เป็นสมณศักดิ์สูงสุดในพระศาสนจักรรองจากพระสันตะปาปา พระคาร์ดินัลแต่ละท่านจึงมีศักดิ์เทียบได้กับ “เจ้าชาย” ในราชวงศ์พระสันตะปาปา อูร์บัน ที่ 8 ( 1630 ) ทรงอนุญาตให้พระคาร์ดินัลใช้คำนำหน้าชื่อว่า “Eminence” พระสันตะปาปาใช้คำนำหน้าพระนามว่า “Holiness” เช่น “His Holiness Pope John Paul ll” ส่วนพระสังฆราชใช้ว่า “Excellency” นับแต่ศตวรรษที่ 12 พระคาร์ดินัลมีศักดิ์เหนือบรรดาพระสังฆราชและอัครสังฆราช และในศตวรรษที่ 15 ยังมีศักดิ์เหนือบรรดา “อัียกา” ด้วย ( “Patriarch” เป็นตำแหน่งประมุขของพระศาสนจักรสำคัญแต่โบราณ โดยเฉพาะจากพระศาสนจักรทางตะวันออก ( กลาง ) เช่น อเล็กซานเดรีย,เยรูซาเล็ม,คอนสแเตนติโนเปิล ,เวนิส,ลิสบอน ฯลฯ “ นอกจากนั้นพระคาร์ดินัลแม้เป็นเพียงพระสงฆ์ ยังมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการประชุมพระสังคายนาได้ด้วย สิทธิลงคะแนนเสียงในการประชุมพระสังคายนานี้เป็นสิทธิ์ของพระสังฆราชเท่านั้น

ในบรรดาหน้าที่และอภิสิทธิ์ต่าง ๆของพระคาร์ดินัล ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายของพระศาสนจักรนั้น หน้าที่ที่เห็นได้ชัดเจนกว่าเพื่อนก็คือ “ การเลือกตั้งและรับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปา” แต่เดิมที่เดียวพระสันตะปาปาในฐานะที่เป็นพระสังฆราชแห่งกรุงโรม ได้รับเลือกจากบรรดาสัตบุรุษและคณะสงฆ์ของกรุงโรม ให้ดำรงตำแหน่งต่อมา บรรดาพระสังฆราชของสังฆมณฑลรอบๆ กรุงโรมก็มีสิทธิในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาด้วย และเมื่อตำแหน่งคาร์ดินัลเพิ่มความสำคัญในฐานะที่ปรึกษาพิเศษของพระสันตะปาปา พระคาร์ดินัลก็มีสิทธิ์มากขึ้นในการเลือกพระสันตะปาปา

ในปี 1059 พระสันตะปาปา นิโคลสัสที่ 2 ทรงกำหนดให้พระคาร์ดินัลเท่านั้นมีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งพระสันตะปาปา ทั้งนี้ก็เพื่อขจัดการแทรกแซงของผู้ปกครองบ้านเมือง และพระจักรพรรดิในการกำหนดผู้ที่จะขึ้นเป็นพระสันตะปาปา ตามกฎนี้ ทีแรกพระคาร์ดินัล- พระสังฆราชทั้ง 6 องค์ จะต้องเลือกและเสนอชื่อพระคาร์ดินัลจำนวนหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสมน่าจะเป็นพระสันตะปาปาได้ ให้คณะพระคาร์ดินัลลงคะแนนตัดสินเลือกท่านหนึ่งจากรายชื่อนี้ แต่ต่อมาในปี 1139 พระสังคายนาลาเตรัน ที่ 2 ได้ยกเลิกการเสนอรายชื่อผู้ควรจะรับเลือกนี้เสีย และในปี 1179 พระสังคายนาลาเตรัน ที่ 3 ก็กำหนดให้ผู้ที่จะรับคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนพระคาร์ดินัลที่ออกเสียงได้ เป็นพระสันตะปาปาทันที กฎนี้ยังใช้อยู่จนทุกวันนี้ แต่พระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ยังกำหนดไว้เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 1971 ด้วยว่า พระคาร์ดินัลที่มีอายุเกิน 80 พรรษา แล้วไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนและรับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปาอีก และจะต้องพันจากตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ ของพระศาสนจักรและของรัฐวาติกันด้วย

พระคาร์ดินัลไมเคิล มีชัย กิจบุญชู
พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เกิดวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1930 ที่หมู่บ้านวัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม เป็นบุตรของยอแซฟ ยู่ฮง และมารีอา เคลือบ กิจบุญชู มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เป็น ชาย 7 คน เป็นหญิง 1 คน พระคุณเจ้าเป็นบุตรคนที่ 5 ของครอบครัว

การศึกษา

  • ปี ค.ศ. 1935-1940 เรียนที่โรงเรียนนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม จบชั้นประถมปีที่ 4 (เลขประจำตัว 718)
  • ปี ค.ศ. 1940 เรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร (สามเณราลัยพระหฤทัย) ศรีราชา ชลบุรี ชั้นมัธยมปีที่ 1 (เรียนไม่จบ เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน จึงย้ายไปเรียนที่บ้านเณรบางช้าง)
  • ปี ค.ศ. 1941-1944 เรียนที่บ้านเณรพระหฤทัยบางช้าง สมุทรสงคราม เป็นเวลา 4 ปี จบชั้นมัธยมปีที่ 4
  • ปี ค.ศ. 1945-1947 เรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ชลบุรี จบชั้นมัธยมปีที่ 6
  • ปี ค.ศ. 1948-1953 เป็นครูเณรที่สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา ชลบุรี สอนเรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร ได้รับตำแหน่งตั้งให้เป็นครูใหญ่โรงเรียนดาราสมุทร
  • ปี ค.ศ. 1953-1959 เรียนที่วิทยาลัยโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม จบปริญญาโท สาขาปรัชญา และเทววิทยา ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์วันที่ 20 ธันวาคม 1959 ที่บ้านเณรปรอปากันดาฟีเด กรุงโรม โดยพระคาร์ดินัลเปโตร อากายาเนียน พร้อมกับพระสังฆราชยอแซฟ เอก ทับปิง (มรณภาพ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985)

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ (จากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ)

  • วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1960 ถึง วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1962ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระนามพระเยซู บ้านแป้ง สิงห์บุรี
  • วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1962 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญลูกา บางขาม ลพบุรี
  • กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 ถึง เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1965ได้รับแต่งตั้งเป็นเหรัญญิกของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1965ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพระสังฆราชของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1965 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1973 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ(จากสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย)

  • ปี ค.ศ. 1979-1982 ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ
  • ปี ค.ศ. 1986-1990 ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ
  • ปี ค.ศ. 1995-1997 ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ
  • นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ของสภาพระสังฆราชฯ อีกหลายฝ่ายด้วยกัน

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ (จากกรุงโรม)
ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมณกระทรวง ประกาศพระวรสารสู่ปวงชน (Member of the Pontifical of the Missionary Union of the Clergy in Thailand3 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล พระคุณเจ้าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงฯ แล้ววันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1994 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก “สภาที่ปรึกษาด้านการเงิน และเศรษฐกิจของสันตะสำนัก4”

เหตุการณ์สำคัญในชีวิต

  • วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1973 ได้รับการอภิเษกเป็นพระอัครสังฆราช แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ฯ สืบตำแหน่งต่อจากพระอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย
  • วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1982 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงมีพระสมณสาสน์แจ้ง เป็นการภายในให้ทราบว่า จะทรงแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของพระคาร์ดินัลแห่งพระศาสนจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983
  • วันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1983 มีประกาศอย่างเป็นทางการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะพระคาร์ดินัล นับเป็นพระคาร์ดินัลไทยองค์แรก
  • วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 พิธีสถาปนาสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลท่ามกลางคณะพระคาร์ดินัล คณะทูตานุทูต และคริสตศาสนึกชน
  • วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1984 ฉลองหิรัญสมโภชครบรอบ 25 ปี แห่งการบวชเป็นพระสงฆ์

แนวทางการปกครองและวิธีการ (Directive and Methodology)
แนวทางที่กล่าวนี้ปรากฏชัดอยู่ในคำพูดของพระคุณเจ้า ที่ให้ไว้ในบทสัมภาษณ์ในหนังสือ “นิตยสารอุดมสาสน์” เป็นการจัดลำดับบทบาท พร้อมทั้งได้คำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ของการดำเนินงานไว้ด้วย ดังนี้

 “ภารกิจอันสำคัญของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นั้น ก็คืองานอภิบาล เพราะพระศาส นจักรได้รับมอบหมายจากพระเยซูเจ้าให้เป็นผู้ดูแล เป็นผู้เลี้ยงดูบรรดาสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น ในด้านงานอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ก็จะพยายามให้งานด้านการอภิบาลก้าวหน้าต่อไปให้ได้รับผลยิ่งขึ้น เมื่อพูดถึงงาน ด้านการอภิบาล ก็ต้องมีบุคลากร อันนี้แน่นอน บรรดาผู้ที่มีหน้าที่โดยเจาะจงคือ พระสงฆ์ นักบวช ทั้งหลาย ต้องพยายามเน้นให้พระสงฆ์นักบวชที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงนี้ ได้เพิ่มความเอาใจใส่ออกแรงมากยิ่งๆ ขึ้น และเตรียม ผู้ซึ่งรับหน้าที่นี้ต่อไปในอนาคต นั่นก็คือ จะต้องส่งเสริมกระแสเรียกให้มากยิ่งๆ ขึ้น ส่วนในด้านสัตบุรุษเอง ก็มีแนวทางที่จะปลุกสำนึกให้บรรดาสัตบุรุษได้เข้าใจถึงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน”

แนวทางใหญ่ ๆ และสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ในการสนทนาหรืองานเขียน รวมทั้งการปราศรัย การอภิบาลในที่ต่าง ๆ หรือตามวัดต่าง ๆ ในโอกาสฉลองวัดก็ดี ดังคำพูดเหล่านี้ “นอกจากแนวทางการอภิบาลและงานแพร่ธรรมแล้ว พระศาสนจักรมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติและสังคม” “หน้าที่ประการต่อไป คือ เราคริสตชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งเป็นที่รับรู้คาทอลิกมีบทบาทมิใช่น้อยในด้านการพัฒนาประเท ศชาติ อาทิเช่น การศึกษา ด้านเมตตาจิต ก็มีสถานเด็กกำพร้า คนพิการ คนตาบอด บ้านพักคนชรา ด้านสังคมสงเคราะห์ต่างๆ ”

22 ตุลาคม ค.ศ. 2000 วันคล้ายวันสมณภิเษก ครบรอบ 22 ปี ที่พระคาร์ดินัลวอยตีวาคาร์ดินัลชาวโปแลนด์ ผู้ได้รับเลือกให้เป็นประมุขของพระศาสนจักรคาทอลิก องค์ที่ 264 โดยทรงพระนามว่า พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 และเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียน ในรอบ 456 ปี

พระสันตะปาปาคือใคร
ตำแหน่งพระสันตะปาปา (pope) เป็นพระสมณศักดิ์ที่สูงที่สุดในพระศาสนจักร(โรมมัน)คาทอลิก คือ เป็นประมุขสูงสุดของพระศาสนจักร(โรมัน)คาทอกลิก และทรงเป็นองค์ผู้นำของคริสตชนทั่วโลก คำว่า สันตะปาปา มาจากคำว่า “Santo” (สันโต) หรื อ “Satus” ซึ่งแปลว่า ศักดิ์สิทธิ์ ส่วนคำว่า “Papa” (ปาปา) แปลว่า บิดา ดังนั้น คำว่า สันตะปาปา จึงแปลว่า “บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์” น อกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่ใช้เรียกพระสันตะปาปาได้อีกคือ คำว่า ปาตรีอาร์ต (Patriarch) ซึ่งคำว่า ปาตรี แปลว่า “บิดา” อาร์ต แปลว่า ใหญ่ ปาตรีอาร์ต จึงแปลว่า “บิดาผู้ยิ่งใหญ่” หรือ “อัครบิดร” ทางพระศาสนจักรตะวันออก และคาทอลิกนิกายออร์โธด๊อกซ์ ได้เรียกพระสันตะปาปาว่า ซุพรีม พอนทิฟ (Supreme Pontiff) ซึ่งแปลว่าพระสันตะปาปาผู้สูงสุด ผู้เชื่อมโยงเรากับพระเป็นเจ้า
ในสมัยก่อนคำว่าพระสันตะปาปา (Pope) เป็นคำที่ใช้เรียกพระสังฆราชทุกองค์ ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 6 พระสันตะปาปาในขณะนั้นได้กำหนดให้คำว่า สันโตปาปา ใช้เรียกเฉพาะพระสังฆราชที่กรุงโรมเท่านั้น คำว่าพระสันตะปาปา จึงเป็นคำที่ใช้เรียกประมุขสูงสุดของพระศาสนจักร แต่องค์เดียวนับแต่นั้นเป็นต้นมา

การสืบอำนาจของพระสันตะปาปา
อำนาจของพระสันตะปาปา มี 2 ประการด้วยกัน คือ อำนาจในการอภิบาลสั่งสอน และ อำนาจในการปกครอง ซึ่งเป็น อำนาจที่เกิดจากการที่พระเยซูเจ้าทรงมอบอำนาจนี้ให้กับท่านนักบุญเปโตร ผู้เป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ให้เป็นผู้ปกครองบรรดาคริสตชน ด้วยประโยคที่ว่า “ท่านคือศิลา และบนศิลานี้เราจะสร้างพระศาสนจักรของเราไว้ และประตูนรกจะไม่มีวันชนะพระศาสน จักรได้ เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ท่านไว้ สิ่งที่ท่านผูกในแผ่นดินนี้ ก็จะผูกในสวรรค์ด้วย และทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในโลกก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย” (มธ. 16:18) ดังนั้นการคัดเลือกพระสันตะปาปาพระองค์แรกและพิธีอภิเษกจึงได้กระทำสำเร็จบริบูรณ์ในเวลาอันสั้น แต่การมอบอำนาจเดียวกันนี้ จะมอบสืบทอดให้กับผู้สืบตำแหน่งพระสันตะปาปาองค์ต่อ ๆ ไปจากท่านนักบุญเปโตร

ดังนั้น ท่านนักบุญเปโตรได้ออกไปประกาศ เทศนาสั่งสอน เป็นองค์พยานถึงความเชื่อ แก่ประชาชนทั่วไป ที่สุดท้ายที่นักบุ ญเปโตรทำการประกาศศาสนา และมีคนกลับใจเป็นจำนวนมาก คือกรุงโรม ประเทศอิตาลี ต่อมาเข้ายุคของการเบียดเบียนศาสนา ประมาณปี ค.ศ. 64 ทำให้ท่านนักบุญเปโตร ถูกจับและประหารชีวิตในที่สุด การสิ้นชีพของนักบุญเปโตรนั้น ทำให้ตำแหน่งพระสัน ตะปาปาว่างลง พระศาสนจักรท้องถิ่นขาดผู้นำ ประชาชนปราศจากผู้อภิบาลคอยดูแล จึงมีการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่จะสืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร และผู้ที่สามารถถูกรับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ขั้นสมบูรณ์ คือ รับศีลบวชครบ 3 ขั้น 1. ศีลบวชสังฆนุกร 2. ศีลบวชพระสงฆ์ 3. ศีลบวชพระสังฆราช นั้นหมายความว่า ผู้ที่สืบต่อจะต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสงฆ์ขั้นสมบูรณ์ คือขั้นของพระสังฆราชนั้นเอง

วิธีการเลือกผู้สืบตำแหน่งพระสันตะปาปา
การคัดเลือกพระสันตะปาปาในครั้งแรก หลังจากนักบุญเปโตร พระสันตะปาปาองค์แรกสิ้นชีพ การคัดเลือกยังไม่มีกฎระเบียบที่แน่นอน ผู้ทำการคัดเลือกพระสันตะปาปาคือ สังฆานุกร พระสงฆ์ ฆราวาส และผู้ใกล้ชิด มาประชุมตกลงกัน เพื่อคัดเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ การคัดเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ดำเนินการเช่นนี้เรื่อยมา

จนถึงสมัยของพระสันตะปาปา นิโคลัสที่ 2 ในปีค.ศ. 1059 พระองค์ทรงเห็นว่า การคัดเลือกพระสันตะปาปาในสมัยนั้น ถูกแทรกแซงจากผู้ปกครองบ้านเมือง จึงมีการตั้งกฎว่า “การเลือกตั้งพระสันตะปาปานั้น อนุญาติให้เฉพาะพระคาร์ดินัลเท่านั้น เป็น ผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง โดยจะเลือกจากพระคาร์ดินัลด้วยกัน หรือจะเลือกจากใครก็ได้ โดยกำหนดให้มีกลุ่มคาร์ดินัล 2 ถึง 5 คนเป็นผู้คัดเลือกผู้ที่เหมาะสม และเสนอชื่อให้พระคาร์ดินัลทั้งหมดเป็นผู้ลงคะแนนตัดสินเลือกท่านหนึ่งจากรายชื่อนี้ การคัดเลือกวิธีนี้ดำเนินต่อมาอีกร้อยปี

จนถึงสมัยของพระสันตะปาปา อเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือก โดยยกเลิกการเสนอรายชื่อผู้ควรได้รับเลือกเสีย โดยให้พระคาร์ดินัลทุกท่านมีโอกาสเท่าเสมอกัน จะเสนอชื่อใคร หรือเลือกใครก็ได้ แต่ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องมีคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนพระคาร์ดินัลที่ออกเสียงได้ หากคะแนนเสียงยังไม่ถึง 2 ใน 3 ก็ต้องทำการคัดเลือกกันใหม่ และในสมัยของพระสันตะปาปา เกโกลีที่ 10 พระองค์ทรงเห็นว่าวิธีการลงคะแนนเสียงแบบ 2 ใน 3 นี้ ใช้เวลานานและยืดเยื้อ พระองค์จึงหาวิธีที่ ทำให้การลงคะแนนสำเร็จโดยเร็ว จึงได้กำหนดห้อง ๆ หนึ่งขึ้น โดยเรียกห้องนี้ว่า คอนเคลฟ (Conclave) ซึ่งแปลว่าห้องที่ปิดกุญแจ โดยพระคาร์ดินัลผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง จะต้องประชุมกันที่ห้องนี้ ตัดการติดต่อกับคนภายนอก จนกว่าการลงคะแนนเสียงจะสิ้นสุดลง ซึ่งวิธีนี้ทำให้การลงคะแนนเสียงสำเร็จลงเร็วขึ้น กฎนี้จึงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ขั้นตอนการเลือกตั้งพระสันตะปาปา
เมื่อพระสันตะปาปาพระองค์สิ้นพระชนม์ หัวหน้าพระคาร์ดินัล (dean of the Cardimal) จะเป็นผู้จัดพิธีปลงพระศพ ซึ่งตา มประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา พระศพจะถูกตั้งอยู่ที่วัดน้อยซิสติน เพื่อให้ประชาชนมาแสดงความเคารพ ต่อจากนั้นพระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาจะถูกนำไปฝังไว้เคียงข้างผู้สืบตำแหน่งของพระสันตะปาปาองค์ก่อนพระองค์ ภายในอุโมงค์ใต้มหาวิหารนักบุญเปโตร หลังฝั่งพระศพพระสันตะปาปาพระองค์ก่อนเรียบร้อยแล้ว หัวหน้าพระคาร์ดินัล จะออกหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการว่าพระสันตะปาปาทรงสิ้นพระชนม์ เชิญพระคาร์ดินัลจากทั่วโลกมาทำการเลือกตั้งพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ โดยการเลือกตั้งจะใช้วิธีลงคะแนนลับ ณ โบสถ์ซิสติน กรุงโรม ซึ่งระหว่างที่มีการประชุมลงคะแนนลับเพื่อคัดเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่นั้น ประชาชน จากทั่วทุกมุมโลกจะให้ความสนใจอยากทราบข่าวการลงคะแนน รวมทั้งประชาชนชาวอิตาลีก็จะพากันมารวมตัวอยู่หน้าจัตุรัส เพื่อรอดูสัญญาณควันทางปล่องไฟ ซึ่งสัญญาณควันนี้จะเป็นเครื่องหมายบอกให้ประชาชนทราบว่า การลงคะแนนเสียงลับของพระค าร์ดินัลนั้นสำเร็จหรือไม่ หากการลงคะแนนเสียงครั้งนั้น ไม่สำเร็จ คือ คะแนนที่ได้ไม่ถึง 2 ใน 3 ควันที่ลอยออกมาจากปล่อยไฟก็จะเป็นสีดำ โดยวัสดุที่นำมาเผานั้น คือบัตรที่ใช้ลงคะแนนเสียง และวัสดุอื่น ๆ ที่เผารวมกันแล้วก่อให้เกิดควันสีดำ ต่อเมื่อการลงคะแนนเสียงสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ได้พระสันตะปาปาพระอง ค์ใหม่ ควันที่ออกมาจากปล่อยไฟก็จะเป็นควันสีขาว ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำบัตรลงคะแนนเสียง และวัสดุอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดควันสีขาวมาเผารวมกัน ซึ่งการส่งสัญญาณควันนี้จะกระทำวันละ 2 ครั้ง

เมื่อการลงคะแนนเสียงเสร็จสิ้นลงแล้ว หัวหน้าพระคาร์ดินัล จะถามความสมัครของผู้ได้รับเลือก ว่าจะยอมรับตำแหน่งนี้หรือไม่ หากผู้ได้รับเลือกรู้สึกว่าตนเองไม่เหมาะสมที่รับตำแหน่งพระสันตะปาปานี้ ก็สามารถที่จะปฏิเสธ และทำการเลือกตั้งใหม่ หากเขาตัดสินใจที่จะรับ ตำแหน่งนี้ หัวหน้าพระคาร์ดินัล ก็จะนำผู้ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ไปนั่งเก้าอี้ เพื่อให้พระคาร์ดินัลทั้งหลายแสดงความคารวะ และพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่จะเสด็จออกไปที่เฉลียงมหาวิหารนักบุญเปโตร เพื่ออวยพรและทักทายชาวกรุงโร มและชาวโลกทั้งมวล

ความหมายของการขึ้นครองราชย์
หลังจากได้รับคัดเลือกแล้ว ก็ถึงพิธีกรรมอันสำคัญ คือ พิธีสมณภิเษก รับตำแหน่งพระสันตะปาปา ซึ่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิท ธิ์นี้ จัดขึ้น ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร โดยในพิธี หัวหน้าพระคาร์ดินัลจะทำการมีการสวมมงกุฎ 3 ชั้น (Diadema) ให้กับพระสันตะ ปาปาองค์ใหม่ เพื่อเป็นเครื่องหมายอย่างเป็นทางการว่าได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองพระศาสนจักรสูงสุด แต่ในสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 พระองค์ทรงไม่รับการสวมมงกุฎนั้น หากพระองค์เลือกใช้ หมวกทรงสูง (Mitra) ซึ่งเป็นหมวกแบบเดียวกับสังฆราขทั่ว ๆ ไป เป็นเครื่องหมายของการขึ้นครองราชย์ แทนมงกุฎ 3 ชั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าพระองค์จะเป็นประมุข เป็นผู้ปกครองสูงสุดของพระศาสนจักร แต่พระองค์ก็ยังคงดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย

พระสันตะปาปาเท็จ (antipope)

พระสันตะปาปาเท็จ (antipope) หมายถึง ผู้ที่เป็น "พระสันตะปาปาโดยไม่ถูกต้อง" ทั้งที่อ้างตัวเอง หรือเกิดจากความสับสน, หรือได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาแล้ว แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ, หรือได้รับตำแหน่งโดยถูกต้องแล้ว แต่ถือกันว่าเป็น พระสันตะปาปาเท็จ

พระสันตะปาปาเท็จส่วนใหญ่ เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของคริสต์ศาสนจักรระหว่างผู้ปกครองในขณะนั้น โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งนี้ผู้ปกครองในหลายสมัยพยายามจะเข้ามาแทรกแซงศาสนจักร. ส่วนศาสนจักรเองนั้น ตามประวัติศาสตร์ ก็ปรากฏว่ามีการพยายามแทรกแซงทางโลกเช่นเดียวกัน เช่นการสนับสนุน antiking ในประเทศเยอรมนีสมัยก่อน

นอกจากความขัดแย้งกับทางโลกแล้ว ความสับสนและไม่ลงรอยภายในศาสนาจักรเอง ก็ทำให้เกิด antipope ขึ้นในระหว่างการเลือกพระสันตะปาปาเช่นเดียวกัน. กล่าวได้อีกอย่างก็คือ พระสันตะปาปาที่ถูกต้องนั้น ก็มีโอกาสเป็น “พระสันตะปาปาเท็จ” ได้เช่นเดียวกัน ถ้าการณ์กลับว่า พระสันตะปาปาเท็จ ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาที่ถูกต้อง ความไม่ลงรอยกันในการเลือกพระสันตะปาปาในศาสนจักรโรมันคาทอลิกนั้น ภายหลังนำไปสู่การปฏิรูปโปรแตสแตนท์ในที่สุด

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (Benedict XVI Papa Benedictus Sextus Decimus)

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (ละติน: Benedictus XVI, อังกฤษ: Benedict XVI) มีพระนามเดิมว่า พระคาร์ดินัล โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (ภาษาละติน Iosephus Ratzinger, ภาษาอังกฤษ Joseph Alois Ratzinger) เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) เป็นชาวเยอรมัน

ทรงเป็นบุตรชายของ โจเซฟ และมาเรีย รัตซิงเกอร์ ประสูติในหมู่บ้านมาร์เคลท์ อำ อินน์ (Marktl am Inn) ในแคว้นบาวาเรีย, ประเทศเยอรมนี ไม่ไกลจากชายแดนออสเตรีย ทรงมีพี่น้อง 2 คน คนหนึ่งเป็นหญิงชื่อมาเรีย (เช่นเดียวกับพระมารดาของพระองค์) อีกคนหนึ่งเป็นพี่ชายคนโต ชื่อ จอร์จ (บวชเป็นบาทหลวงเช่นเดียวกับพระองค์) พระองค์ได้เข้าไปศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นบาทหลวงในบ้านเณร ในเมือง Traunstein เมื่อปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้น พระองค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยยุวชนฮิตเลอร์ (เด็กชายทุกคนในปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ต้องเข้าร่วม) เมื่อกองทัพเยอรมันต้องการกำลังทหาร พระองค์ก็ถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นพลปืนต่อต้านอากาศยาน ซึ่งพระองค์มีหน้าที่ดูแลเครื่องบินและต่อมาทรงย้ายไปประจำที่ศูนย์สื่อสารทางโทรศัพท์ ต่อมาในปี 1944 (พ.ศ. 2487) พระองค์และเพื่อนร่วมชั้นก็ออกจากกองต่อต้านอากาศยาน แต่กลับถูกเกณฑ์อีกครั้งเพื่อไปประจำที่ชายแดนซึ่งติดต่อกับฮังการี พระองค์มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ไว้ป้องกันกองทัพรถถังโซเวียต ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น พระองค์ก็ออกจากกองทัพและมุ่งหน้ากลับบ้าน สามสัปดาห์ผ่านไปพระองค์ก็ได้รับหมายเรียกให้รับการฝึกเป็นทหารราบ แต่ทรงไม่เคยต้องออกไปยังแนวหน้า ในเดือนเมษายน 1945 (พ.ศ. 2488) (ก่อนหน้านาซีจะยอมแพ้ไม่นาน) พระองค์ก็หนีทัพและกลับไปยังหมู่บ้านของพระองค์ แต่ภายหลังสงคราม พระองค์ถูกจับในฐานะเชลยเนื่องจากทัพฝ่ายพันธมิตรสรุปว่าพระองค์เป็นทหาร พระองค์ต้องไปเข้าค่ายกักกันเชลยศึก พระองค์ออกจากค่ายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2488 พระองค์ได้เริ่มเดินด้วยเท้าเป็นระยะทาง 120 กิโลเมตรเพื่อกลับหมู่บ้าน แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรถส่งนมที่พาพระองค์ไปส่งที่เมืองเธราน์ชไตน์ (Traunstein) เมื่อพระองค์กลับถึงบ้าน ก็ได้พบกับพี่ชายซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากค่ายเชลยศึกในอิตาลีเช่นเดียวกัน

การศึกษา
ในปี 1945 (พ.ศ. 2488) หลังจากที่พระองค์กลับถึงบ้าน พระองค์ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่บ้านเณรแห่งหนึ่งในเมืองไฟรซิงก์ (Freising) หลังจากนั้นก็ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยลุดวิก-แม็กซิมิเลียน (Ludwig-Maximilian) ในเมืองมิวนิก ในที่สุด เมื่อปี 1951 (พ.ศ. 2494) พระองค์ก็ได้บวชเป็นบาทหลวงโดยมีผู้บวชให้คือ พระคาร์ดินัลเฟาฮาเบอร์ (Faulhaber) แห่งเมืองมิวนิก ระหว่างนั้นพระองค์ยังทรงเขียนวิทยานิพนธ์ขึ้น 2 ฉบับ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบุญออกัสติน (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2496) และนักบุญโบนาเวงตูร์ (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2500) ในปี 1958 (พ.ศ. 2501) พระองค์ก็ได้เป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยไฟรซิงก์

งานทางศาสนา
ต่อมาพระองค์เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยบอนน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เมื่อพระองค์ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ ในปี 1966 (พ.ศ. 2509) พระองค์ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาเทววิทยา ณ มหาวิทยาลัยตูบิงเกน (Tübingen) (ระหว่างนี้เองที่พระองค์ได้เห็นขบวนการมากมายที่อาจทำให้คำสอนของคาทอลิกผิดเพื้ยนไป เช่นขบวนการเรียกร้องสิทธิของพวกรักร่วมเพศ) ในปี 1969 (พ.ศ. 2512) พระองค์ก็กลับไปยังบาวาเรีย แคว้นเกิดของพระองค์เพื่อไปสอนที่มหาวิทยาลัยรีเกนสบูรก์ (Regensburg)

ในปี 1972 (พ.ศ. 2515) พระองค์ได้ร่วมกับฮันส์ เอิร์ส วอน บาลธาซาร์, อองริ เดอ ลูบัค และวอลเตอร์ แกสแปร์ ก่อตั้งวารสารทางศาสนาขึ้นมาชื่อว่าคอมมูนิโอ (Communio, ปัจจุบันวารสารนี้ตีพิมพ์ใน 17 ภาษา และเป็นหนึ่งวารสารคาธอลิกที่สำคัญที่สุด) พระองค์ยังเป็นผู้ที่เขียนบทความลงในวารสารนี้อีกด้วย

ในเดือนมีนาคม 1977 (พ.ศ. 2520) ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครสังฆราชแห่งเมืองมิวนิก และในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 (ในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาใน พ.ศ. 2548 พระองค์เป็นหนึ่งในพระคาร์ดินัลที่มีสิทธิเลือก 3 คนที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2) 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งให้เป็นสมณมนตรีของสมณกระทรวงว่าด้วยข้อความเชื่อ นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่ง
  • ประธานคณะกรรมการพระคัมภีร์
  • คณะกรรมการเทววิทยาระดับนานาชาติในสันตะสำนัก
  • ผู้ประสานงานสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2526)
  • ประธานของผู้แทน สมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2526)
  • 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าคณะพระคาร์ดินัล
  • 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ได้รับเลือกเป็นหัวหน้า (Dean) คณะพระคาร์ดินัล
  • พ.ศ. 2529 – 2535 เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาธอลิก
  • 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมาเรียซานติสสิมาอัสสุนตา Maria Santissima Assunta
  • 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ในสันตะสำนัก (Pontifical Academy of Sciences)
  • ทรงเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการสมณกระทรวงของสันตะสำนัก (Curial Membership)
  • พระศาสนจักรตะวันออก
  • พิธีกรรม
  • พระสังฆราช
  • การประกาศพระวรสารสู่ปวงชน
  • การศึกษาคาธอลิกและเลขาธิการของรัฐวาติกัน (Second Section) ด้านความสัมพันธ์กับรัฐอื่น

หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 สิ้นพระชนม์ในวันที่ 2 เมษายน 2548 พระองค์ก็ทรงได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาเมื่อวันที่ 19 เมษายนพ.ศ. 2548 เมื่ออายุ 78 ปี เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาที่มีอายุมากที่สุดที่เคยได้รับเลือก นับตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 (พ.ศ. 2273) และเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาชาวเยอรมันพระองค์แรกตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 (1522–1523) (สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 ทรงเป็นชาวเยอรมันด้วย เพราะในสมัยของพระองค์ เนเธอร์แลนด์ถูกรวมอยู่ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Empire) ซึ่งปกครองโดยบรรพบุรุษของชาวเยอรมันในปัจจุบัน) (สมเด็จพระสันตะปาปาองค์สุดท้ายก่อนหน้าพระองค์ที่มาจากดินแดนที่อยู่ในเขตเยอรมนีปัจจุบัน คือสมเด็จพระสันตะปาปาวิกเตอร์ที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งในปี 1055-1057) การเลือกตั้งพระสันตะปาปาคราวนี้ใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น และมีการลงคะแนนทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งพระสันตะปาปาครั้งที่ผ่านๆ มา

อ่านต่อ หน้าถัดไป >>>

ประวัติความเป็นมาของศาสนาและผู้ก่อตั้งศาสนา
กำเนิดและวิวัฒนาการของนิกายที่สำคัญในศาสนาคริสต์
องค์ประกอบของคริสต์ศาสนา
ศาสนธรรมในศาสนาคริสต์
หลักคำสอนของศาสนาคริสต์
หลักคำสอนสำคัญ
เรื่องบาปกำเนิด
ศาสนบุคคลในศาสนาคริสต์
คริสต์ศาสนปราชญ์
ศีลศักดิ์สิทธิ์วิถีชีวิตของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
พิธีกรรมและแนวความเชื่อของนิกายออร์ธอด็อกซ์
พิธีกรรมของนิกายโปรเตสแตนต์
วันสำคัญทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
วันสำคัญคริสตศาสนา นิกายโปรเตสแตนท์
วันสำคัญของคริสต์ศาสนาทุกนิกาย
ปัสกา
อัสสัมชัญ
ศาสนสถานที่สำคัญในศาสนาคริสต์
คาทอลิก กับ โปรเตสแตนท์ต่างกันตรงไหน
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย