สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

สุขภาพในช่องปากและลำคอ


แผลร้อนในใกล้บริเวณพื้นช่องปาก

แผลร้อนใน
(Canker sore,Aphthous ulcer)
สาเหตุ
เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี หรือการแพ้อาหารบางอย่าง เช่น ขอคโกแลต วัตถุกันเสียในอาหาร ในผู้หญิงอาจเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ระหว่างรอบเดือน เป็นแผลชนิดที่พบได้มากที่สุดของช่องปาก
อาการ
มักแสบร้อนบริเวณที่ขึ้นตุ่มแดงเล็กประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังจากนั้นตุ่มจะขยายขึ้น และแตกเป็นแผล ลักษณะกลมขอบแดง มีวงขาวขนาดไม่เกิน 1 ซ.ม.

แผลร้อนในบริเวณริมฝีปากด้านใน

เป็นได้ครั้งละ 1 แผล หรือมากกว่านั้น พบมากที่ด้สนในของริมฝีปาก ในผู้ที่เป็นรุนแรงอาจมีวงโตกว่า 1 ซ.ม. และพบได้ที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก บริเวณลิ้นไก่ อาจจะเป็นได้บ่อยทุก 1-2 เดือน มีอาการเจ็บเมื่อขยับ เวลาคุย หรือรับประทานอาหาร สร้างความรำคราญแก่ผู้ป่วย ปกติแผลจะหายเองใน 1-4 อาทิตย์ แล้วแต่ขนาด และตำแหน่งที่เป็นแผล หากมีการติดเชื้อจะอักเสบรุนแรงได้
การรักษา
ควรพิจารณาหาสาเหตุที่เป็น ร่วมกัยการให้ยาเพื่อลดอาการเจ็บ และการอักเสบ เช่นยาป้ายแผล ยาทาจำพวกสเตียรอยด์ชนิดอ่น และ ยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้ออ่อนๆ เช่น โพวิโดน - ไอโอดีน (Povidone iodine) หรือคลอเฮกซิดีน ส่วนผู้ป่วย  Beche's syndrome ต้องใช้สเตียรอยด์ ชนิดรับประทานร่วมกับ ยากดภูมิคุ้มกัน ภายใต้การดูแลของแพทย์


แผลร้อนในบริเวณริมฝีปากด้านใน

แผลร้อนในบริเวณริมฝีปากด้านใน

เป็นได้ครั้งละ 1 แผล หรือมากกว่านั้น พบมากที่ด้สนในของริมฝีปาก ในผู้ที่เป็นรุนแรงอาจมีวงโตกว่า 1 ซ.ม. และพบได้ที่ลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก บริเวณลิ้นไก่ อาจจะเป็นได้บ่อยทุก 1-2 เดือน มีอาการเจ็บเมื่อขยับ เวลาคุย หรือรับประทานอาหาร สร้างความรำคราญแก่ผู้ป่วย ปกติแผลจะหายเองใน 1-4 อาทิตย์ แล้วแต่ขนาด และตำแหน่งที่เป็นแผล หากมีการติดเชื้อจะอักเสบรุนแรงได้
การรักษา
ควรพิจารณาหาสาเหตุที่เป็น ร่วมกัยการให้ยาเพื่อลดอาการเจ็บ และการอักเสบ เช่นยาป้ายแผล ยาทาจำพวกสเตียรอยด์ชนิดอ่น และ ยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้ออ่อนๆ เช่น โพวิโดน - ไอโอดีน (Povidone iodine) หรือคลอเฮกซิดีน ส่วนผู้ป่วย  Beche's syndrome ต้องใช้สเตียรอยด์ ชนิดรับประทานร่วมกับ ยากดภูมิคุ้มกัน ภายใต้การดูแลของแพทย์

 


แผลชนิดไลเคน พลานัส ชนิดธรรมดา

แผลเรื้อรังชนิดไลเคน พลานัส
(Lichen Planus)
สาเหตุ
แผลชนิดนี้พบได้ทั้งที่ผิวหนังและช่องปาก อาจเกิดจากการขาดโพเลต หรือวิตามินบี หรือในผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิต เบาหวาน หรือ ไขข้ออักเสบ เป็นต้น แต่โดยมากมักไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการตอบสนอง ของระบบภูมิคุ้มกันต่อผิวหนัง และเยื่อบุช่องปาก
อาการ
มีได้ต่างๆกัน ตั้งแต่ระคายเคือง หรือแสบร้อนในช่องปาก


แผลไลเคน พลานัส ชนิดเป็นแผลถลอก

ดยเฉพาะเมื่อทานอาหารรสจัด ผู้ที่เป็นรุนแรงอาจจะเจ็บปวดมาก ลักษณะที่พบในช่องปาก อาจเป็นเส้นสีขาวนูน ร่วมกับเหงื่อก บางบริเวณมีสีแดงเป็นจ้ำ หรือมีรอยถลอกเป็นแผล มีเลือดออก พบมากที่กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น  เพดานปาก
การรักษา
เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง จึงรักษาหายขาดยาก หากเป็นไม่มาก ควรรับการตรวจเป็นระยะ และดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี ส่วนผู้ที่มีอาการปวดแสบปวดร้อน ควรได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์ชนิดทา มักต้องใช้ระยะเวลายาวจึงอาจพบมีเชื้อราได้ ควรใช้ยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อโรคอ่อนๆ เช่น โพวิเดน-ไอโอดีน (Povidone iodine) เป็นต้น ในผู้ที่มีอาการรุนแรง อาจจะต้องรับประทานสเตียรอยด์

แผลชนิดไลเคน พลานัส ชนิดเป็นแผลลึก


รอยแดงที่บริเวณเหงือกระหว่างซี่ฟันของ BMMP

เยื่อบุช่องปากอักเสบชนิด
บีนายด์ มิวคัส เมมเบรน เพมฟิกอยด์

(Benign Mucous Membrane
Pemphigoid , BMMP)
สาเหตุ
เป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งพบในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป มากกว่าผู้ชาย หรือคนวัยอื่นๆ พบมากบริเวณ เยื่อบุช่องปาก ตา ช่องทางเปิดอื่นๆ ของร่างกาย เช่น เยื่อบุช่องจมูก อวัยวะเพศ ทวารหนัก
อาการ
การอักเสบเรื้อรังที่ตา อาจกลายเป็นแผลทำให้ตาบอดได้ ส่วนในช่องปากไม่มีอันตรายมาก นอกจากทำให้เจ็บปวด และชักนำให้มีการติดเชื้อ และลุกลามไปยังอวัยวะอื่น พบมากที่เหงือก กระพุ้งแก้ม ลักษณะสีแดง และถลอกเป็นแผลได้ มักเป็นนานหลายเดือน แผลที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม หลังจากหายแล้วจะกลายเป็นรอยแผลเป็น ซึ่งเห็นได้ชัด หากเป็นในผู้ที่มีสุขภาพของช่องปากที่ไม่ดี เช่น มีหินปูน หรือครอบฟันที่ไม่ดีพอ จะส่งเสริมให้โรครุนแรงขึ้นได้
การวินิจฉัย
ยืนยันด้วยการตัดชิ้นเนื้อตรวจ
การรักษา
ดูแลสุขภาพช่องปาก และใช้าเตียรอยด์ เฉพาะชนิดที่ใช้ทา ในผู้ป่วยที่มีอาการมากๆ อาจจะต้องรับประทานสเตียรอยด์ร่วมกับ ยากดภูมิต้านทาน การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยา ฆ่าเชื้อโรคอ่อนๆ อาจจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและช่วย ให้แผลหายเร็วขึ้น


ลักษณะแผลและเนื้อเยื่อที่หลุดลอกจากอาการแพ้

แผลอิริทิมา มัลทิฟอร์เม
(Erythema Multiforme)
สาเหตุ
เป็นอาการเฉียบพลัน ซึ่งพบได้บ่อย ภายหลังได้รับยาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เช่น ยากันชัก ยาแก้อักเสบบางชนิด หรือสารที่ใช้เป็นวัตถุกันเสีย (Preservative) ในอาหาร นอกจากนี้แผลยังอาจเกิดขึ้นภายหลัง การติดเชื่อไวรัส เช่น เริม หรือพบในสตรีที่ตั้งครรภ์
อาการ
หากมีอาการที่ผิวหนังจะพบจุดแดงตรงกลาง และมีวงสีแดงล้อมรอบ ริมฝีปากบวมแดง อาจมีเลือดออกแล้วแห้งเป็นสะเก็ด ลักษณะในช่องปากอาจเกิดตามหลังการมีไข้ อ่อนเพลีย โดยเป็นผื่นแดง หรือตุ่มน้ำที่แตกเป็นแผล เจ็บปวดทำให้กลืนอาหารลำบาก
การรักษา
แม้จะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ แต่ควรสืบหาสาเหตุเพื่อป้องกัน ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ดูแลสุขภาพช่องปาก และใช้ยาบรรเทาอาการปวด รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อของแผล โดยให้ยาบ้วนปากที่ลดอาการปวด และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค

ลิ้นเป็นฝ้าขาวหนาตัวจากการติดเชื้อรา

บริเวณที้เป็นจุดขาว
ที่เพดานขูดแล้วหลุดออกได้

การติดเชื้อราในช่องปาก
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มีเชื้อราแคนดิดา เป็นเชื้อต้นเหตุ พบมากในผู้ที่รับการรักษาโรคอื่นๆ ด้วยยาปฎิชีวนะ ยากดภูมิต้านทาน หรือใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังพบได้มากในผู้ที่ใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี หรือทำความสะอาดไม่ทั่วถึง เป็นต้น
อาการ
อาจมีรอยแดง ที่เพดานลิ้น ข้างกระพุ้งแก้ม หรือมีแผ่นฝ้าขาวเหลืองคลุมเป็นจุด หรือปื้น ซึ่งอาจขูดถูออกได้ง่าย และมีรอยถลอกแดงข้างใต้ รายที่ทิ้งไว้นาน อาจมีตุ่มหรือติ่งนูนโตขึ้น ซึ่งอาจไม่มีอาการผิดปกติ หรือความรู้สึกเฝื่อน ชา ปวดแสบ ปวดร้อนได้
การวินิจฉัย
จากอาการที่พบ บางครั้งอาจต้องตรวจหาเชื้อ
การรักษา
ใช้ยาอมสำหรับเชื้อราชนิดเม็ดหรือน้ำ ในผู้ใส่ฟันปลอมอาจใช้ชนิดทา ร่วมกับแช่ฟันปลอมในน้ำยาบ้วนปาก ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ หากมีก้อนหรือตุ่มโตอาจต้องตัดเนื้อออก


เหงือกอักเสบที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
สาเหตุ
มักเกี่ยวข้องกับโรคเหงือกลแะฟันผุ ทำให้เหงือก แก้ม คางอักเสบ เป็นหนองได้
การรักษา
ผู้ป่วยควรรีบมาพบทันตแพทย์ เพื่อกำจัดสาเหตุ และรับการรักษาที่ถูกต้อง ร่วมกับรับยาปฎิชีวนะ และน้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ

การอักเสบบริเวณฟันคุดร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย


เริมบริเวณริมฝีปาก

การติดเชื้อไวรัสในช่องปาก
สาเหตุ
เริมเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเชื้อเฮอร์ปี ซิมเพลกซ์ ไวรัส (Cold Sore)
อาการ
พบได้บริเวณริมฝีปาก มักมีอาการระคาย คัน จากนั้นจะกลายเป็นตุ่ม นูนแดง ซึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นตุ่มใส เมื่อแตกออกจะกลายเป็น แผลอยู่ 2-3 วัน แล้วแห้งตกสะเก็ด ถ้าเป็นมากจะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวด เมื่อย นอกจากนี้ยังอาจพบแผลได้ทั่วไป ภายในช่องปาก
การวินิจฉัย
จากอาการที่เป็น
การรักษา
ใช้ยาต้านไวรัสชนิดทาตุ่มที่ริมฝีปาก ส่วนในช่องปากใช้ยาต้านไวรัส ชนิดรับประทาน ร่วมกับน้ำยาบ้วนปาก ที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื่อโรค

คำตอบเพื่อฟันดี
แผลและรอยโรคในช่องปาก
การรักษาอาการเจ็บคอโดยไม่ใช้ยาปฎิชีวนะ
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย