ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประวัติการค้นพบ

เจ้าชายเฮนรี่ นาวิกบุรุษ

ในคริสตศตวรรษที่ 14 การออกสำรวจเส้นทางเดินเรือค้าขายจากยุโรปมาอินเดียและภาคตะวันออก เป็นความใฝ่ฝันกันมากของนักเดินเรือและนักการค้าทั้งหลาย เพราะทางตะวันออกเป็นแหล่งสินค้ามีค่าต่าง ๆ มากมาย ถ้าใครนำเรือมาถึงได้ก็ร่ำรวยมหาศาลเท่านั้น และในสมัยนั้นประเทศปอร์ตุเกสกับสเปนมีการแข่งขันกันในทางการเดินเรือสำรวจค้นคว้า ในราชสำนักของพระเจ้ายอห์น แห่งปอร์ตุเกสมีการถกเถียงกันมากถึงการคิดหาช่องทางนำเรือมาค้าขายกับอินเดียให้ได้ หลายคนให้ความคิดว่าถ้าได้นำเรือวิ่งลงมาทางใต้เลียบฝั่งของทวีปอาฟริกาต่อไปแล้วคงมีหนทางไปสู่อินเดียได้ แต่ความคิดนี้ถูกพระเจ้ายอห์นค้านว่า “จะนำเรือล่องใต้ ให้ไปออกอินเดียรึ? เป็นไปไม่ได้หรอก เพราะทุกคนรู้ดีว่ายิ่งนำเรือลงไปทางใต้มากเท่าใด อากาศจะร้อนยิ่งขึ้นทุกที จนในที่สุดก็จะไปถึงทะเลเดือดที่ไม่มีชีวิตใด ๆ ผ่านไปได้” เจ้าชายเฮนรี่ซึ่งเป็นราชโอรสของพระองค์ ได้ยินเรื่องทะเลเดือดนี้ด้วยเหมือนกัน และหาเชื่อว่าจะเป็นความจริงไม่ พระองค์จึงรับสั่งให้นักเดินเรือคนสำคัญ ๆ เข้าเฝ้า และให้หาหนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่ต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้มาให้พระองค์ดู แต่ต่อมาพระองค์ก็เปิดโรงเรียนสอนวิชาการเดินเรือและการต่อเรือขึ้น เจ้าชายสั่งสอนให้นักศึกษาของพระองค์ว่าโลกนี้กลม และฝึกหัดให้รู้จักใช้เข็มทิศ ตลอดจนสอนให้รู้จักการต่อเรือที่มีเสาใบ 3 เสาขึ้นใช้ เมื่อนักเรียนเดินเรือเหล่านี้เรียนจบแล้ว พระองค์ก็ส่งผู้ที่ฉลาดที่สุดให้เป็นผู้ควบคุมการเดินเรือไปสำรวจฝั่งทวีปอาฟริกา ทางมหาสมุทรอัตลันติคตอนใต้เพื่อหาเส้นทางเดินเรือไปอินเดียให้ได้ เป็นเวลาหลายปี ที่เจ้าชายเฮนรี่อบรมสั่งสอนนักเดินเรือของพระองค์แล้วส่งให้ไปสำรวจทางเรือ นักเดินเรือเหล่านั้นได้สำรวจทำแผนที่ฝั่งของทวีปอาฟริกาลงไปทางใต้ถึง 2,000 ไมล์ จนถึงกับไปตั้งรกรากทำการค้าอยู่ที่หมู่เกาะปอร์โต ซานโต มาเดรา และค้นพบหมู่เกาะอาโซเรส ในมหาสมุทรอัตลันติค กับหมู่เกาะเคปเวเดนอกฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอาฟริกาอีกด้วย การส่งเสริมการเดินเรือค้นคว้าของเจ้าชายเฮนรี่อย่างจริงจังนี้เอง ทำให้ปอร์ตุเกสมีอำนาจทางเรือมากที่สุดในเวลานั้น และพระองค์ก็ได้รับสมญานามว่า “เจ้าชายเฮนรี่ นาวิกบุรุษ” พระองค์ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 1460 และแนวความคิดทางการเดินเรือค้นคว้าของพระองค์ได้ถูกถ่ายทอดยังนักเดินเรือรุ่นต่อมา จนทำให้โคลัมบัสพบทวีปอาฟริกา และวาสโกดากามาพบทางไปสู่อินเดียทางเรือได้ในที่สุด

ชาวโฟนิเชียน นักเดินเรือโบราณ
เนโค ผู้สำรวจชายฝั่งอาฟริกา
ฮานโน ผู้สำรวจฝั่งตะวันตกอาฟริกา
เฮโรโดตุส ผู้สำรวจภายในอาฟริกา
อเล็กซานเดอร์มหาราช กับอินเดีย
ไปธีอัส กับเกาะอังกฤษ
ชาติไวกิ้ง นักเดินเรือโบราณ
โปไลเนเชียน กับมหาสมุทรแปซิฟิค
มาร์โคโปโล
มาร์โคโปโล กับทะเลจีนใต้
เจ้าชายเฮนรี่ นาวิกบุรุษ
จวน เฟอร์นานเดซ์ กับทะเลทรายซาฮาร่า
ไดอัซ กับแหลมกู๊ดโฮป
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
จอห์น คาบอต พบนิวเฟาว์แลนด์
วาสโกดากามา กับอินเดีย
อเมริโกเวสปุชชี กับโลกใหม่
บัลบัว กับมหาสมุทรแปซิฟิค
หมู่เกาะเครื่องเทศ
มักเจนแลน เดินเรือรอบโลก
คอร์เตส กับอาณาจักรแอซเตค
อาณาจักรแห่งเอลดอราโด
ฝรั่งเศสใหม่ ในทวีปอเมริกา
อาณาจักรอินคา
ออเรลลานา ข้ามทวีปอเมริกาใต้
ซานเซลเลอร์ กับขั้วโลกเหนือ
เฮนรี่ ฮัดสัน พบอ่าวฮัดสัน
การสำรวลออสเตรเลีย ของทัสมัน
การสำรวจไซบีเรีย
เจมส์คุก สำรวจแปซิฟิค
แมคเคนซี ข้ามทวีปอเมริกาเหนือ
มังโกปาร์ค กับแม่น้ำไนเกอร์
ลิฟวิงสโตน กับทวีปอาฟริกา
เปียรี่ กับการค้นหาขั้วโลกเหนือ
อมุนต์เสน กับขั้วโลกใต้
คอนติกิ
การพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย