ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประวัติการค้นพบ

การพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์

ยอดเขาเอเวอเรสต์ในเทือกเขาหิมาลัย ทางตอนเหนือของอินเดียนั้น ชาวธิเบต เนปาล และอินเดีย ต่างเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของทวยเทพในชั้นฟ้า เพราะมันมีความสูงถึง 29,002 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล อันเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จึงเป็นยอดเขาที่นักไต่เขาคนสำคัญ ๆ ของโลกจำนวนมากได้มาทำความยากลำบากนานาประการ จนบางครั้งถึงกับเอาชีวิตมาทิ้งไปเสียก็มี การสำรวจยอดเขานี้กระทำกันครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1921 โดยเริ่มสำรวจลักษณะของยอดเขา หนทางขึ้นเขา และตรวจสอบอุปสรรคต่าง ๆ อันน่าจะมีขึ้นเสียปีหนึ่งก่อน พอถึงปีต่อมาก็ทำการไต่เพื่อไปให้ถึงยอดเขาให้จงได้ แต่ปรากฏว่าไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะต้องพบกับทางขึ้นอันแสนลำบาก อากาสหนาวจัด และยังมีพายุหิมะพัดแรงอีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1924 นักสำรวจชาวอังกฤษสองคน ชื่อ มอลลอรี่ (Mallory) และเออร์วิน (Irvine) ได้ยกกองมาเพื่อพิชิตยอดเขานี้อีก ทั้งสองคนได้ไต่ขึ้นไปได้สูงสุด จนยังเหลืออีกไม่กี่ร้อยฟุนก็จะถึงยอดเขาอยู่แล้ว ก็พอดีมีพายุหิมะพัดมาอย่างแรกปกคลุมยอดเขาอยู่เป็นเวลาหลายวัน คนทั้งสองนั้นก็หายขึ้นไปโดยไม่ทราบว่าเขาขึ้นไปถึงยอดเขาหรือไม่ การสำรวจในปี ค.ศ. 1933 ก็พบความผิดหวัง เพราะเมื่อกองสำรวจขึ้นไปได้ไม่เท่าใด ก็ถูกพายุหิมะพัดกระหน่ำจนต้องถอยกลับลงมา แต่อย่างไรก็ตามในปีนี้ ได้มีการใช้เครื่องบินสำรวจข้ามยอดเขาเอเวอเรสต์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยถ่ายภาพยอดเขาได้ในระยะสูงเพียง 100 ฟุตเท่านั้น ครั้นถึงปี ค.ศ. 1934 นักไต่เขาคนหนึ่งชื่อ มัวรีซ วิลสัน (Maurice Wilson) ได้วางแผนการณ์ฝ่าอันตรายจะหาช่องทางขึ้นไปสู่ยอดเขานี้ให้ได้ และแผนการณ์ไต่เขาของเขาก็แปลกกว่าของคนอื่น ๆ คือ เขาจะใช้เครื่องบินเล็กบินขึ้นไปลงตรงบริเวณใกล้กับยอดเขา แล้วจึงค่อยไต่ขึ้นไปอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการประหยัดเวลาเดินทางได้มาก แต่บังเอิญเครื่องบินของเขาถูกรัฐบาลยึดเอาไปเสียก่อน ทำให้เขาต้องตั้งต้นไต่จากเชิงเขาขึ้นไป และก่อนที่จะทำการไต่ครั้งนี้เขาได้อดอาหาเสียก่อน 3 สัปดาห์ โดยเชื่อว่ามันจะทำให้เขามีความอดทนขึ้นได้มากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามเขาได้หายขึ้นไปบนยอดเขาสูงลิบโน้น โดยไม่มีร่องรอยว่าได้กลับลงมาแต่อย่างใด การสำรวจในครั้งต่อมา นักสำรวจได้พยายามขึ้นไปใกล้ยอด กาซออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจมีไม่พอ ถึงขนาดต้องหายใจเข้าออก 10 ครั้ง จึงมีกำลังก้าวขึ้นไปได้ก้าวหนึ่ง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าใครจะพบความสำเร็จในการขึ้นไปถึงยอดเขาได้ ล่วงมาจนถึงปี ค.ศ. 1953 คณะไต่เขาโดยการนำจอง พันตรี จอห์นฮันต์ (John Hunt) แห่งอังกฤษ เอ็ดมันด์ ฮิลลารี่ (Edmund Hillary) ชาวนิวซีแลนด์ และเทนซิง (Tensing) คนนำทางชาวเนปาล และเพียงสองคนหลังเท่านี้นที่ได้พบหนทางสำเร็จในการขึ้นไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ ยอดเขาสูงสุดในโลกได้เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 เป็นอันว่าความลี้ลับของยอดเยาสูงสุดในโลกไม่มีอีกต่อไปแล้วสำหรับสายตาของมนุษย์

ชาวโฟนิเชียน นักเดินเรือโบราณ
เนโค ผู้สำรวจชายฝั่งอาฟริกา
ฮานโน ผู้สำรวจฝั่งตะวันตกอาฟริกา
เฮโรโดตุส ผู้สำรวจภายในอาฟริกา
อเล็กซานเดอร์มหาราช กับอินเดีย
ไปธีอัส กับเกาะอังกฤษ
ชาติไวกิ้ง นักเดินเรือโบราณ
โปไลเนเชียน กับมหาสมุทรแปซิฟิค
มาร์โคโปโล
มาร์โคโปโล กับทะเลจีนใต้
เจ้าชายเฮนรี่ นาวิกบุรุษ
จวน เฟอร์นานเดซ์ กับทะเลทรายซาฮาร่า
ไดอัซ กับแหลมกู๊ดโฮป
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
จอห์น คาบอต พบนิวเฟาว์แลนด์
วาสโกดากามา กับอินเดีย
อเมริโกเวสปุชชี กับโลกใหม่
บัลบัว กับมหาสมุทรแปซิฟิค
หมู่เกาะเครื่องเทศ
มักเจนแลน เดินเรือรอบโลก
คอร์เตส กับอาณาจักรแอซเตค
อาณาจักรแห่งเอลดอราโด
ฝรั่งเศสใหม่ ในทวีปอเมริกา
อาณาจักรอินคา
ออเรลลานา ข้ามทวีปอเมริกาใต้
ซานเซลเลอร์ กับขั้วโลกเหนือ
เฮนรี่ ฮัดสัน พบอ่าวฮัดสัน
การสำรวลออสเตรเลีย ของทัสมัน
การสำรวจไซบีเรีย
เจมส์คุก สำรวจแปซิฟิค
แมคเคนซี ข้ามทวีปอเมริกาเหนือ
มังโกปาร์ค กับแม่น้ำไนเกอร์
ลิฟวิงสโตน กับทวีปอาฟริกา
เปียรี่ กับการค้นหาขั้วโลกเหนือ
อมุนต์เสน กับขั้วโลกใต้
คอนติกิ
การพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย