สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ประชาคมโลก (Global Community)

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

สถานการณ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

ดุจฤดี คงสุวรรณ์
วรรณะ รัตนพงษ์

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน) ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก

ประเทศนี้มีเกาะอยู่มากกว่า 13,000 แห่ง มีกลุ่มชนพื้นเมืองราว 300 กลุ่ม และมีภาษาที่ใช้ 365 ภาษา เมื่อถูกแย่งชิงมาจากอำนาจของดัชต์ในปี 1949 จังหวัดอาเจ๊ะในเกาะสุมาตราเหนือ และจังหวัดอีเรียนชยาก็เริ่มเรียกร้องอยากปกครองตัวเอง เช่นเดียวกับติมอร์ตะวันออก ซึ่งหลังจากที่โปรตุเกสได้ละทิ้งดินแดนนี้ออกไปในปี 1975 ก็ได้มีกองกำลังอื่นเคลื่อนเข้าไปควบคุมแทน และความรู้สึกเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในบอร์เนียวและแอมบอนด้วย หลังจากที่ชาวติมอร์ตะวันออกได้ลงคะแนนเสียงท่วมท้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1999 สนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช กลุ่มต่อต้านการแยกดินแดนซึ่งมีรัฐบาลจาการ์ตาหนุนหลังอยู่ก็เริ่มการโจมตี เป็นเหตุให้องค์การสหประชาชาติต้องส่งกองกำลังเข้ามาดูแลในช่วงที่ติมอร์ตะวันจะแยกตัวออกเป็นอิสระ

ประธานาธิบดีซูฮาร์โตซึ่งปกครองอินโดนีเซียมาเป็นเวลา 32 ปี ได้ส่งข้าราชการพลเรือนจากจาการ์ตาและกองทัพเพื่อปราบปรามฝ่ายกบฏแยกดินแดน รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียถือว่ารัฐเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการครอบครองที่ดินสืบทอดกันมาอย่างไรก็ตาม ภูมิภาคต่างๆ ต้องยอมแบ่งรายได้ส่วนใหญ่ไปจ่ายภาษีแก่รัฐบาล ซูฮาร์โตลาออกไปภายใต้แรงกดดันในปี 1998 ผู้ที่ขึ้นแท่นรับตำแหน่งแทนคือบีเจ ฮาบิบี ซึ่งรับปากที่จะนำประชาธิปไตยมาสู่อินโดนีเซีย แต่ฮาบีบีก็ถูกโหวตให้ออกจากตำแหน่งในปี 1999 ส่วนผู้นำคนใหม่ตั้งแต่ อับดุล ราห์มาน วาฮิด, เมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี และซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ต่างก็ต้องแบกรับภาระความยุ่งยากของประเทศมาโดยตลอด การสู้รบบนหมู่เกาะอินโดนีเซียนั้นวุ่นวายยุ่งเหยิงเพราะบรรดาผู้นำของกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านการแยกดินแดน รวมถึงความขัดแย้งทางศาสนา

ในช่วงหกปีที่ผ่านมา มีโบสถ์คริสต์มากกว่า 500 แห่งถูกเผาหรือเสียหายโดยฝีมือชาวมุสลิม ชาวคริสต์และมุสลิมต่างก็กล่าวหาว่าอีกฝ่ายเป็นผู้ก่อความรุนแรง ขณะที่ความพยายามในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก็คืบหน้าไปได้เล็กน้อยมาก ภายหลังการต่อสู้ที่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อไปมากมาย ติมอร์ตะวันออกก็ได้อิสรภาพใน ค.ศ.1999 แต่ความขัดแย้งในเกาะอื่นๆ ยังคงมีอยู่และได้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมากจนดูเหมือนว่าอินโดนีเซียจะใกล้ถึงจุดแห่งการแตกแยกเข้าไปทุกขณะ

อ่านต่อ >>>

» มนุษย์ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

» ภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมโลก

» สถานการณ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

» เศรษฐกิจโลก

» การเมืองระหว่างประเทศ

» ระบบกฎหมายของโลก

» สิทธิมนุษยชนในกระแสโลกาภิวัตน์

» เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง

» ประชาคมโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

» บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย