สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

คนภูเขา

มูเซอ

         พวกมูเซอ เข้ามาในเขตไทยทางด้านอำเภอแม่จัน เชียงแสน เชียงของ จังหวัดเชียงราย และทางอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทางตอนเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มูเซอจะกระจายอยู่ใน 3 จังหวัดนี้ มีเพียงส่วนน้อยที่ลงมาจากจังหวัดตาก
                มูเซอแยกออกเป็น 4 สาขา ที่มีจำนวนมากและรู้จักกันมากคือ มูเซอดำ มูเซอแดง พวกมูเซอ 2 สาขานี้ มีธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกันมาก แต่ด้านนิสัยใจคอต่างกันไปคนละอย่าง มูเซอดำ จะมีความเป็นอยู่ดีกว่ามูเซอแดง และมีความขยันขันแข็งมากกว่าด้วย ส่วนมูเซอแดง มีนิสัยเฉื่อยชา ในท้องที่อำเภอแม่จัน พวกมูเซอแดงถูกเกลี้ยงกล่อมจากพรรคพวกส่วนใหญ่ในพม่า จนชวนกันอพยพข้ามเขตไปเกือบหมดแล้ว โดยถูกหลอกว่าจะช่วยให้มูเซอมีแว่นแคว้นเป็นของตัวเอง ระหว่างพรมแดนไทยกับพม่า และส่วนหนึ่งของรัฐฉานตอนใต้ จึงมีชนเผ่านี้อยู่อย่างหนาแน่น
               มูเซอดำ อยู่ที่ดอยโจะโละ และดอยป่าคา ไปไหนมาไหนจะมี เป๊อะ ติดตัวไปด้วยเสมอ (เป๊อะ คือกระบุงเล็กๆ ติดอยู่รอบหลังม้า พาหนะของพวกมูเซอดำ) สำหรับไว้ใส่ของ
               ชื่อมูเซอ ภาษาอังกฤษเรียกว่า ลาฮู และพวกมูเซอดำ คือลาฮูนา มูเซอแดงเรียกว่า ลาฮูยี คำว่ามูเซอเป็นคำพม่าเรียกชาวเผ่านี้ (Mussuh) แปลว่า นายพราน และพวกมูเซอนี้ก็ชำนาญในการล่าสัตว์สมชื่อ เก่งในการใช้หน้าไม้มากกว่าเผ่าอื่น
              เผ่ามูเซอเป็นเผ่าที่ยากจนที่สุด ซอมซ่อที่สุด และเร่ร่อนพเนจร แต่ก็มีน้ำใจงดงาม แม้ภายนอกจะดูป่าเถื่อนก็ตาม   ธรรมดามูเซอโดยมาก จะปลูกที่อยู่เป็นกระท่อมเล็กๆ เพื่อว่าถ้ามีคนตายหรือคนเจ็บป่วย หรือทำไร่ไถนาไม่ได้ผล ก็จะพากันย้ายหมู่บ้านไปที่อื่นได้ง่าย ตามประเพณีของมูเซอ ด้วยเหตุนี้ชาวเขาเผ่านี้จึงกระจัดกระจายกันอยู่ตามภูเขาในเขต 3 จังหวัด ตาก เชียงใหม่ เชียงราย
               การแต่งกายของมูเซอดำและมูเซอแดงคล้ายๆกัน ต่างกันที่มูเซอแดง ชอบขลิบชายแขนเสื้อ บ่า ชายเอว ด้วยผ้าสีแดงสด ภาษษที่พูดก็คล้ายกันมาก พวกนี้มีความเชื่อแปลกๆ เช่น บางคนเชื่อว่าถ้าใครได้ยินเสียงเขียดร้องตัวเขาจะต้องตาย บางคนถือไม่ยอมนอนค้างในที่ราบ ต้องขึ้นไปนอนบนเขา
               พวกมูเซอโดยมากไม่ชอบอาบน้ำ ธรรมดาอาบน้ำกันปีละครั้ง คือในเทศกาล กินวอ(งานปีใหม่) โดยจะขัดถูเนื้อตัวกันเป็นการใหญ่ ถูจนสบู่หมดก้อนเลยทีเดียว แต่ก็มีมูเซอบางคนหันมาอาบน้ำกันบางแล้ว ส่วนเหตุผลของการที่ไม่ชอบอาบน้ำก็คือ เขากลัวผีน้ำเหมือนพวกอีก้อ ซึ่งเชื่อว่าการอาบน้ำบ่อยๆ ผีน้ำที่แอบอยู่จะเข้าสิงทำให้เจ็บป่วย มูเซอรำดาบเก่งและสวยงามมาก แต่ไม่ยอมทำให้ดูง่ายๆ เพราะกลัวผิดผี   พวกมูเซอจะปลูกบ้านอยู่บนดอยสูง เพราะถือว่าผู้ที่อยู่สูงจะเหนือกว่าผู้ที่อยู่ในที่ต่ำ บ้านมูเซอจะสร้างด้วยไม้ไผ่ เสาไม้จริง หลังคาแฝก หน้าบ้านมีนอกชาน มีเตาไฟก่อไว้กลางบ้านหรือมุมบ้าน สำหรับสุมไฟในหน้าหนาวและหุงต้มด้วย ตามบ้านต่างๆมักจะมีหมาดุร้ายอยู่เสมอ
              ที่กลางลานใหญ่มีรั้วล้อม มีที่เต้นรำ ตามหมู่บ้านบางแห่งปลูกเป็นโรงเต้นรำ โดยใช้ฟากไม้ไผ่ปูซ้อน 3-4 ชั้น เพราะจังหวะเต้นรำของมูเซอเป็นจังหวะกระทืบ และกระแทก
              หมอผีหนือพระผู้ยิ่งใหญ่ของหฒุ่บ้านเรียกว่า ปู่จอง และหัวหน้าปู่จองเรียกว่า ปู่จองหลวง  น้ำดื่มน้ำใช้ จะเอากระบอกไปตักจากลำธารซึ่งไกลมาก เพราะพวกนี้กลัวน้ำ จึงปลูกบ้านห่างแหล่งน้ำนั่นเอง อาวุธคือหน้าไม้ ทำแบบเรียบๆไม่มีลวดลาย แต่แข็งและมีกำลังยิงได้แม่นมาก ชายมูเซอมักจะมีชื่อนำหน้าด้วยคำว่า จะ ส่วนผู้หญิงจะนำหน้าด้วย นะ
               สาวชาวมูเซอดำ มักจะใส่เสื้อผ่าอก แม้ในหน้าหนาวก็จะใส่กันแบบนี้ทั้งชายหญิง และชอบประดับด้วยกำไลมือ กำไลคออันโตๆ พวกนี้ใส่กำไลเงินกันแล้วไม่ค่อยถอด ยิ่งรวยยิ่งใส่หลายอัน ชายมูเซอชอบเที่ยวข้ามถิ่น และไม่ค่อยรักชอบสาวหมู่บ้านตนเอง อาจจะเพราะเคยเห็นกันมาตั้งแต่เด็กแล้ว เขามักจะไปเกี้ยวสาวตามหมู่บ้านไกลๆ โดยวิธีร้องเพลง หรือเป่าใบไม้ไผ่เป็นสัญญาณเรียกให้ผู้หญิงมาหาตน ในตอนกลางคืนก็จะเรียกคู่รักมา และพาไปหลับนอนในป่า แล้วก็จะมีการสู่ขอ โดยฝ่ายชายจะให้ไก่ หรือหมูมาแลกกับเจ้าสาว พิธีแต่งงานคือ บ่าวสาวนั่งคู่กัน ผู้ใหญ่จะมัดมือทั้งคู่ แปลว่าให้อยู่ด้วยกันตลอดไป
              งานกินวอ มีใกล้ๆกับตรุษจีน ใครที่เข้าหมู่บ้านนี้ตอนมีงานจะออกไปไม่ได้จนกว่างานจะเลิก โดยมากจะมี 4 วัน แล้วแต่กำหนดวันตามความสะดวกของแต่ละหมู่บ้าน และจะไม่มีการทำงาน มีแต่เต้นรำและกินเลี้ยง แต่งตัวเต็มยศ และอาบน้ำ ในงานนี้จะมีการเลือกคู่ด้วย มูเซอหนุ่มบางคนก็ถือโอกาสไปจีบสาวหมู่บ้านอื่นด้วย
              พวกมูเซอบางหมู่บ้าน หนุ่มสาวจะร้องเพลงเกี้ยวกันจนสว่าง ถ้าสาวชอบก็จะทำเป็นขโมยของหนี เพื่อล่อให้หนุ่มตามไปในที่ลับตา.

» เย้า

» มูเซอ

» แม้ว

» สิบสองปันนา

» มานาว

» ไทยลื้อ

» กะเหรี่ยง

» ข่าก้อ

» อีก้อ

» ผีตองเหลือง

» ว้า

» ลาวโซ่ง

» ลีซอ

» ข่า

» แข่เย้า

» บทเพลงกล่อมลูก ชาวเหนือ- ชาวอีสาน- ชาวเขา

***ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเก่าตั้งแต่เมื่อปี 2512 ปัจจุบันนี้วัฒนธรรมประเพณีและการแต่งกาย อาจเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย