ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

อารยธรรมมนุษย์

อารยธรรมสมัยใหม่ด้านเศรษฐกิจและการปฏิวัติอุตสาหกรรม

สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 1

พัฒนาการของเทคโนโลยี : มีการประดิษฐ์นาฬิกาลูกตุ้ม เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องปั๊มอากาศ เครื่องปั่นด้าย และการพัฒนาการเทคโนโลยีนี้ทำให้จำเป็นต้องเกิดวิธีการแบบโรงงาน เช่นเครื่องโยนไหมในอิตาลี สภาพโรงงานอุตสาหกรรมในยุคนี้จะเห็นได้จากบันทึกของ เดเนียล เดอโฟ นักเขียนชาวอังกฤษ ได้บันทึกว่าบริเวณฝั่งแม่น้ำเทมส์ มีการตีทองเหลืองทำภาชนะเครื่องใช้ ทำงานด้วยแรงดันไอน้ำ ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาไปสู่สมัยของเครื่องจักร

  • การปฏิวัติการค้า : มีผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดชนชั้นพ่อค้านายทุน ซึ่งคอยแสวงหาโอกาสหาผลกำไรการลงทุน และต่อมามีการดำเนินไปด้วยหลักการของระบบพาณิชย์นิยม หลักการได้แก่ 1.สนับสนุนการผลิตเพื่อการส่งออกและบริโภคเองภายในประเทศ 2.ห้ามการนำสินค้าเข้า โดยตั้งอัตราภาษีศุลการสูงและผลิตสินค้าใช้เอง 3.สนับสนุนให้มีการส่งสินค้าออกอย่างเสรี นโยบายพาณิชย์นิยมจึงช่วยเพิ่มการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก และเพื่อรักษาสมดุลของการค้า
  • การพัฒนาด้านเกษตรกรรม : การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการเกษตรกรรม และเทคนิคการผลิต
  • การพัฒนาเครื่องจักรขั้นพื้นฐานเพื่อการอุตสาหกรรม : การทำโรงงานอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการถ่านไม้เพื่อการหลอมเหล็กมากขึ้น ทำให้เกิดการทำลายป่าไม้จำนวนมากในยุโรปตะวันตก ต่อมาได้ค้นพบถ่านโค้กในการหลอมเหล็ก การจะได้ถ่านโค้กมานั้นต้องมีการทำเหมืองถ่านหิน แต่อุปสรรคในการทำเหมืองแร่คือการสะสมน้ำในเหมือง จึงต้องหาทางสร้างเครื่องจักรและแหล่งพลังงานใหม่เพื่อเป็นตัวเดินเครื่องปั๊มน้ำ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบเครื่องจักรไอน้ำ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นในประเทศอังกฤษ

  • ความได้เปรียบของการปฏิวัติการค้า : อังกฤษอยู่ในช่วงยุคทอง เนื่องจากอังกฤษค่อนข้างจะมีความรุ่งเรือง มีอำนาจมากในยุโรปและมีอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเล และเป็นอาณานิคมที่ให้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา
  • ความเป็นประเทศทุนนิยมชั้นนำ : อังกฤษเป็นชาติที่มั่งคั่ง มีเงินทุนมาก มีการพัฒนาระบบธุรกิจรวมหุ้น และบังมีระบบธนาคารที่มีประสิทธิภาพ มีการก่อตั้งธนาคารแห่งชาติอังกฤษขึ้น สภาพทางการเมืองและสังคมที่ได้เปรียบ : ถึงแม้จะยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ แต่ก็มีความเป็นเสรีภาพมากกว่าประเทศอื่นในทวีปยุโรป โดยยึดตามแนวคิดของจอห์น ล็อค การค้าในอาณานิคมยังใช้หลักการพาณิชย์นิยม
  • ความได้เปรียบของอังกฤษด้านอื่น : อากาศชื้นของอังกฤษช่วยให้การทอผ้าทำได้ดี เส้นด้ายไม่เปื่อยขาดหรือเปราะเมื่อนำเข้าเครื่องจักร สมาคมช่างและการค้าในอังกฤษที่มีมาตั้งแต่สมัยกลางไม่เข้มงวดทำให้การควบคุมการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ และอังกฤษมีการกระจายรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การขายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 1

  • การสร้างเครื่องจักรไอน้ำ : การใช้เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการทอผ้า ลีโอนาร์โด ดา วินชี ได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขเครื่องจักรไอน้ำแต่ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้ จนธอมัส นิวคอเมน ได้ดัดแปลงเครื่องจักรไอน้ำมาเป็นเครื่องปั๊มน้ำได้สำเร็จ และต่อมาเจมส์ วัตต์ ได้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและจดทะเบียนลิขสิทธิ์ ส่วนเครื่องทอผ้าเจมส์ ฮาร์กรีฟส์ ได้สร้างขึ้นมาและริชาร์ด อาร์คไรท์ ได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
  • เครื่องจักรไอน้ำมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเหตุและผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะเครื่องจักรไอน้ำทำให้อุตสาหกรรมขยายตัว เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ทำให้การผลิตถ่านหินเหมืองแร่เหล็กมีความสำคัญมากขึ้น นำไปสู่การปฏิวัติการคมนาคม ช่วยให้ผลผลิตจากสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ประเทศอุตสาหกรรมเจริญมั่งคั่ง เป็นต้น
  • กำเนิดระบบโรงงาน : ผู้ให้กำเนินโรงงานที่แท้จริงคือ ริชาร์ด อาร์คไรท์
  • การพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก : เหล็ก ถ่านหิน และเหล็กกล้า จอห์น วิลคินสันได้ประสบความสำเร็จในการนำเหล็กมาทำกระบอก
  • การพัฒนาการคมนาคมขนส่ง : ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น เช่น การสร้างถนนและคลอง มีการสร้างรถไฟ เรือกลไฟ และโทรเลข
  • การพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม : มีการปลูกพืชหมุนเวียน มีการใช้ปุ๋ยเคมี มีการนำเครื่องมือใหม่ๆมาใช้

 

สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2

  • การประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง : นิโคลัส ออตโต ได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์แบบสันดาปภายในได้เป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรก นำไปสู่ยุคที่เรียกว่า “ยุคแห่งเครื่องยนต์”
  • การขยายตัวและความก้าวหน้าของการผลิตสารสังเคราะห์ทางเคมี : มีผลิตผลอื่นเช่น แอนไพริน น้ำตาลเทียม
  • การปฏิวัติการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร : การประดิษฐ์เครื่องยนต์แบบกระบอกสูบ นำไปสู่พัฒนาการของการประดิษฐ์รถยนต์
  • การเติบโตและพัฒนาการของระบบทุนนิยมแบบใหม่ : ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการคือ
    1.การควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมโดยมีธนาคารเป็นผู้ลงทุนร่วมกับบริษัทประกันภัย
    2.การก่อตัวและการรวมตัวเพื่อลงหุ้นขนาดใหญ่
    3.การแยกผู้ลงทุนออกจากผู้ดำเนินการ  
    4.การเติบโตของบริษัทแบบโฮลดิ้ง คอมปานี

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2

  • การเติบโตของประชากร
  • การเติบโตของสังคมเมือง
  • การเติบโตของชนชั้นกลาง : เกิดชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมากร
  • การเติบโตของชนชั้นกรรมากร : กลุ่มคนที่เลี้ยงชีพด้วยค่าจ้างแรงงาน
  • ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ

ชนชั้นกรรมากรเกิดและขยายตัวมากขึ้นในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เนื่องจากการที่ชนบทถูกลดบทบาทลง การผลิตในครัวเรือนและการผลิตแบบหัตถกรรมเสื่อมลง ทำให้เกิดระบบโรงงานขึ้นแทนที่ โดยประชากรในชนบทเข้ามารวมตัวในเมือง และกลายเป็นแรงงานรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม

 แนวความคิดชาตินิยม

ลัทธิชาตินิยมคือ ความรู้สึกผูกพันของคนที่มีความรู้สึกอุทิศตนเพื่อชาติ เกิดจากเหตุการณ์ การปฏิวัติฝรั่งเศส

 แนวความคิดเสรีนิยม

หลักการเสรีนิยม ยกยย่องสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดของจอห์น ล็อค และนักคิดสมัยภูมิธรรม ที่ได้สนับสนุนให้มีการปกครองด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ แนวความคิดเสรีนิยมให้ความสำคัญกับหลัก 3 ประการ คือ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ

 ลัทธิสังคมนิยม

นักคิดคนสำคัญ ได้แก่ อังรี เดอ แซง-ซิมง, ชาร์ลส์ ฟูริเยน์, หลุยส์ บลัง, โรเบิร์ต โอเวนส์ คาร์ล มาร์กซ์ อธิบายสังคมด้วยข้อเท็จจริงดังนี้ เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่ง, ใช้วิพากษ์วิธี, มีการต่อสู้ทางชนชั้น, มูลค่าส่วนเกิน, มีวิวัฒนาการของสังคม แนวความคิดสังคมนิยมแบบมาร์กซิสต์ มีความสำคัญคือ 1.ช่วยให้มนุษย์เข้าใจระเบียบสังคมแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติแบบเสรีนิยม 2.ข่วยกระตุ้นจิตสำนึกของคนและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม 3.การนำไปสู่การปฏิวัติ

 ยุคสมัยของมวลชน

  • ด้านการเมือง : มีการปฏิรูประบอบประชาธิปไตย ปฏิรูปรัฐสภาและการเลือกตั้ง สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อมวลชน ของมวลชน โดยมวลชน
  • ด้านสังคม : มีความพยายามจะยกฐานะความเป็นอยู่ของมวลชนโดยส่วนรวม ส่วนหนึ่งด้วยการจัดรัฐสวัสดิการ มีการออกพรบ.ประกันสังคมเป็นครั้งแรกที่เยอรนี, ส่งเสริมการศึกษาให้แก่มวลชน, อนุญาตให้มีการก่อตั้งสหภาพแรงงาน เป็นต้น
  • ด้านเศรษฐกิจ : การจัดระบบสหกรณ์ของ โรเบิร์ต มีการพัฒนาระบอบทุนนิยมโดยรัฐมีนโยบายเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลไกทางเศรษฐกิจมากขึ้น

» แนวคิดเกี่ยวกับอารยธรรม

» อารยธรรมตะวันออกสมัยโบราณ

» อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ

» อารยธรรมยุคกลางตะวันตก

» อารยธรรมยุคกลางตะวันออก

» อารยธรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

» พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์

» อารยธรรมสมัยใหม่ด้านแนวคิดทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลง

» อารยธรรมสมัยใหม่ด้านเศรษฐกิจและการปฏิวัติอุตสาหกรรม

» จักรวรรดินิยมและผลกระทบ

» สงครามโลก บทเรียนสำหรับมนุษยชาติ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย