ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

สุนทรียศาสตร์อินเดีย

รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม (โครงการจัดตั้ง ACT: Art Criticism & Theory)
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นาฏยศาสตร์ของภารตะมุนี และในคัมภีร์อุปนิษัท

นาฏยศาสตร์ของภารตะมุนี(Bharata Muni's Natya Sastra) (ตำราเกี่ยวกับทฤษฎีและการปฏิบัติทางการละคร - Treatise on dramaturgy) (ได้รับการเขียนขึ้นในช่วงระหว่าง 2 ศตวรรษก่อนคริสตศักราช จนถึงคริสตศตวรรษที่ 2) ถือเป็นงานเขียนชิ้นแรกในทางทฤษฎีการละคร ผลงานชิ้นดังกล่าวอ้างถึงมนุษยเริ่มรู้สึกทุกข์ทรมานจากความหยิ่งทะนง และชีวิตที่เปี่ยมสุขต้องกลับกลายเป็นความทุกข์ทรมานอย่างเต็มที่ พระพรหมได้สร้างสรรค์การละครขึ้นด้วย - ดนตรี บทกวี และการร่ายรำประกอบกัน – เพื่อยกระดับมนุษยชาติขึ้นสู่เรื่องทางศีลธรรมและจิตวิญญานโดยวิธีการทางสุนทรีย์ (รส – rasa) (Bharata, 2003)

 จากภารตะ(Bharata) เรื่องอารมณ์ความรู้สึก (รส - rasa, หมายถึง “รสนิยม” หรือ “รสชาติ”-"flavor" or "relish") ได้ถูกรับรู้ในฐานะหัวใจหรือแก่นของการละครและศิลปกรรมทั้งมวล ด้วยเหตุนี้“รส”จึงหมายถึงความรู้สึกที่นักกวีคนหนึ่งถ่ายทอดสู่ผู้อ่านที่เป็นไปอย่างสอดคล้องกัน, มีรสนิยมทางสุนทรีย์คล้ายๆ กัน หรือมีความปลาบปลื้มพึงใจทางสุนทรีย์ลงรอยกัน (Gupta)

    “รส” ความปลาบปลื้มพึงใจทางสุนทรีย์เคล้าคลอไปกับความรู้สึกซาบซึ้งในการร่ายรำและการละคร ได้รับการกล่าวถึงในคัมภีร์อุปนิษัท(Upanishads), และบางครั้งถูกอ้างในเชิงเปรียบเทียบได้กับ”ความเข้าใจหรือเข้าถึงถึงความจริงระดับอันติมะ[ความจริงสูงสุด](Tripurari, p. 10). ความแตกต่างระหว่าง”รสทางสุนทรีย์”(aesthetic rasa) กับ “การเข้าถึงพรหมมันเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของสิ่งสมบูรณ์”(Brahman realization of the form of the Absolute) กลายเป็นประเด็นปัญหาทางปรัชญาที่สำคัญ . “รส-ลีลา”ของพระกฤษณะ (การร่ายรำด้วยความรักของพระองค์กับพระนางราธา - Krishna's rasa-lila [his love dance with Radha]) คือคำตอบหนึ่งของปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ และน้อมนำสู่การพัฒนาทางปรัชญาเกี่ยวกับประเภทต่างๆ ของความรัก (Tipurari, p. 37)



    การร่ายรำนี้ ได้รับการอรรถาธิบายครั้งแรกใน”ภควตะบูรณะ”(Bhagavata Purana) (ราวศตวรรษที่ 10) และอยู่ในรูปของร้อยกรองในศตวรรษที่ 12 ที่ได้ให้แรงบันดาลใจในงานจิตรกรรมและบทกวีต่างๆ (เรียกรวมกันว่า ragamala (ราก้ามาลา) - มาลัยท่วงทำนอง); ซึ่งได้สร้างเนื้อในสำหรับสุนทรียะแห่งการอุทิศตนที่เรียกว่า”ภักดีรส”(bhakti rasa) อันเป็นที่นิยมชมชอบใน Vedanti (เวทานติ)[Tripurari].

    นับเนื่องวันเวลาจากศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา “มาลัยท่วงทำนอง”(the ragamala) (พวงร้อยของท่วงทำนอง - garland of ragas) คือภาพชุดงานจิตรกรรม บ่อยครั้งประกอบด้วยบทกวี ที่ขานเป็นท่วงทำนองเพลง เป็นดนตรีทางโลกที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกต่างๆ โดยเฉพาะรสนิยม (rasa). งานจิตรกรรมเขียนภาพวีรบุรุษหรือวีรสตรีหรือพระผู้เป็นเจ้า โดยการคล้องจองชื่อและสัญลักษณ์ ในฉากของความรักประสานสอดคล้องไปกับวันเวลา ฤดูกาล และวิธีการทางสุนทรีย์. แม้ความเข้าใจภายในกรอบของศาสนาฮินดู, “รส-ลีลา”จะไกลโพ้นออกไป แต่ในราชวงศ์โมกุล คือบรรดาชนชั้นสูงมุสลิม ได้มีการมอบหมายให้เขียนภาพต่างๆ เกี่ยวกับ “รส-ลีลา”นี้ด้วย

    ด้านดนตรีในอินเดีย มีขนบจารีตทางสุนทรีย์มายาวนานในทำนองเดียวกัน สามเวทได้ปฏิบัติกับดนตรีในฐานะศิลปะชั้นเลิศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาปรัชญาเมธีอินเดียได้ให้ความสนใจในสุนทรียศาสตร์ทางด้านเสียง(Malik), ดนตรีและการร่ายรำ(Mittal; Iravati), และรวมไปถึงท่วงทำนองบทสวดและการเล่าเรื่อง (Kaushal).

****แหล่งอ้างอิงทางวิชาการ (บางส่วน) http://en.wikipedia.org/wiki/Aesthetics#Indian_aesthetics
http://science.jrank.org/pages/8188/Aesthetics-in-Asia-India.html

ระสะ : รสชาติทางอารมณ์ความรู้สึกที่ฝังอยู่ในผลงานศิลปะ
นาฎยศาสตร์: คัมภีร์พระเวทอันดับห้า (ยุคเสื่อม)
ทฤษฎีรส พัฒนาขึ้นโดยนักสนุทรียศาสตร์แคชเมียร์
รส-ธวานิหรือข้อเสนอแนะเชิงบทกวี
ความสำคัญของ”รส” ศูนย์กลางเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ”กามะ-กาม”
นาฏยศาสตร์ของภารตะมุนี และในคัมภีร์อุปนิษัท
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย