ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>

สุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่น

กวีนิพนธ์ญี่ปุ่น: ความเชื่อมโยงระหว่าง”มนุษย์”กับ”ธรรมชาติ”

ถ้อยแถลงที่สำคัญเป็นอันดับแรกเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ญี่ปุ่นคือ ส่วนคำนำของ”หนังสือรวบรวมบทกวีต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณถึงสมัยใหม่(the Collection of Poems Ancient and Modern (Kokinwakshu, ca. 920). ในถ้อยความนั้นได้สะท้อนความรู้สึกเกี่ยวกับความเชื่อมโยงอันคุ้นเคยระหว่าง”มนุษย์”กับ”ธรรมชาติ” ที่พบในลัทธิชินโตและสุนทรียศาสตร์จีน

    กวีนิพนธ์คือปฏิกริยาซึ่งเป็นธรรมชาติอันหนึ่งต่อสิ่งที่กำลังขับเคลื่อนทางอารมณ์ความรู้สึกใชั่วขณะนั้นๆ โดยเฉพาะ”ธรรมชาติ”และ”ความรัก” ที่เป็นบริบทหลักทั้งคู่ต่อความรู้สึกอันลึกซึ้ง การเป็นมนุษย์คือสิ่งที่ถูกขับเคลื่อนโดยความงามของธรรมชาติ และเป็นการแสดงออกทางอามรณ์ความรู้สึกของคนๆ หนึ่ง และด้วยเหตุนี้ กวีนิพนธ์จึงเป็นธรรมชาติเท่าๆ กันกับเสียงร้องเพลงของนก การแสดงออกทางศิลปะทางด้านอารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นมาในฐานะการกลั่นกรองและเติมเต็มความเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติของเราให้สมปรารถนา

mono-no-aware อารมณ์ความรู้สึกต่อความเป็นอนิจจัง (impermanence) การเพ่งความสนใจไปที่ธรรมชาติ การยอมรับเกี่ยวกับภาวะเพียงแค่ชั่วคราวของสรรพสิ่ง ของความงาม และอุดมคติเกี่ยวกับความเงียบสงบ(tranquility) ได้ก่อรูปพื้นฐานอุดมคติต่างๆ ทางสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นจำนวนมากขึ้นมา ความคิดในด้านสุนทรียภาพในเชิงรากฐานที่สุดอาจเป็นเรื่องของ mono-no-aware,  กล่าวคือ “พลังกระตุ้นให้เกิดความรู้เศร้าหรือสงสารในสิ่งต่างๆ” (pathos of things). อันนี้ไปเกี่ยวพันกับอารมณ์ความรู้สึกอ่อนไหวอย่างรุนแรงต่อความเป็นอนิจจัง(impermanence – เปลี่ยนแปลง ไม่มั่นคง), ไม่ว่าในเรื่องของการจากลา หรือกระบวนการเปลี่ยนแปลงของอายุไปสู่วัยชราของตัวเองก็ตาม ชนิดหนึ่งของความเศร้าอันหวานชื่น(sweet sorrow) ซึ่งเกิดขึ้นจากการยืนยันถึงความงดงาม ในเวลาเดียวกันก็ยอมรับการจากไป อันประกอบด้วยความรู้สึกของการยอมรับ ผลแห่งความรู้สึกเศร้าที่มาจากการมองเห็นและการปรับให้สอดคล้องกับคุณภาพอันเป็นแก่นของชีวิต ด้วยเหตุนี้ “การตระหนักรู้”(aware) จึงหมายถึง เงื่อนไขในเชิงวัตถุวิสัยของความจริง และภาวะทางอารมณ์ของจิตใจ

Yugen (mysterious depth) ความจริง ที่ท้าทายและขัดขืนต่อแนวคิดของมนุษย์ Yugen (mysterious depth – ความลึกซึ้งอันลึกลับ) เป็นอุดมคติหนึ่งซึ่งโดดเด่นในสมัยกลางของญี่ปุ่นโดยเฉพาะ(ค.ศ.1186-1603) จำเพาะเมื่อสุนทรียศาสตร์ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเซน แม้ศัพท์คำว่า yugen จะได้รับการตีความในหลากหลายความหมายตลอดเวลานับศตวรรษ แต่โดยทั่วไปแล้ว หมายถึงความรุ่มรวยอันไม่สิ้นสุดของความจริง ที่ท้าทายและขัดขืนต่อแนวคิดของมนุษย์ (the inexhaustible richness of reality that defies human conception). โลกคือมิติหนึ่งของความลึกลับซับซ้อนที่พวกเราเพียงรู้สึกถึงได้อย่างอ้อมๆ หรือโดยสหัชญาน(ไม่ผ่านกระบวนการของเหตุผล)เท่านั้น (The world has a dimension of mystery that we can only indirectly feel or intuit)

    เนื่องมาจากความหมายเช่นนี้เกี่ยวกับความสงสัยและความลึกล้ำ บ่อยครั้งที่ yugen จึงถูกตราหรือให้คุณลักษณ์พิเศษโดยความรู้สึกหนึ่งของความโศกเศร้า การถวิลหาความสงบสำหรับความงามที่ไม่สามารถถูกคว้ามาได้อย่างเต็มที่ ดั่งเช่นนักกวี Fujiwara no Shunzei (ค.ศ.1114-1204) กล่าวถึง สหัชญานอันลึกซึ้งในภาวะ yugen สามารถรับรู้หรือเข้าถึงได้โดยผ่าน shikan, “ความสงบเยือกเย็นและความเข้าใจอย่างถ่องแท้”(tranquility and insight), รูปแบบหนึ่งของพุทธศาสตร์เกี่ยวกับการทำสมาธิ บนความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและไพศาล เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะพิเศษของโลก มันได้รับการนำเสนอในกวีนิพนธ์ด้วยภาพลักษณ์ต่างๆ ที่ส่งเสียงก้องกังวานอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความหมาย ซึ่งได้สรรค์สร้างบรรยากาศที่ไม่อาจนิยามมันขึ้นมาได้ เป็นบรรยากาศแห่งความคลุมเครือ

    สำหรับ Kamo no Chomei (ค.ศ.1155-1216) ได้พูดถึงความละเอียดอ่อนลึกซึ้งของศัพท์คำว่า yugen ว่าสามารถพบได้ในช่วงยามเย็นของฤดูใบไม้ร่วง เมื่อจ้องมองไปที่ความว่างของสีสันบนท้องฟ้าอันไร้ขีดจำกัด พวกเราถูกทำให้รู้สึกน้ำตาซึมโดยไม่อาจอธิบายได้

    hon’i (poetic essences) แก่นสารของกวีนิพนธ์ที่สัมพันธ์กับแก่นสารของธรรมชาติ แบบฉบับที่แตกต่างอีกอันหนึ่งของความคิดเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับทัศนะที่มีต่อธรรมชาติของคนญี่ปุ่นคือคำว่า hon’i (“poetic essences”- แก่นสารต่างๆ ของกวีนิพนธ์). พืชพันธุ์และสัตว์ต่างๆ เช่นเดียวกับฉากอันมีชื่อเสียงในธรรมชาติ ได้ถูกนำไปสัมพันธ์กับคุณภาพบางอย่างโดยเฉพาะ. ต้นไม้ นก และโดยเฉพาะทิวทัศน์ได้ถูกคิดคำนึงว่ามี”ธรรมชาติที่แท้จริง”(true nature)อันหนึ่ง ซึ่งกวีได้รับการคาดหวังว่าจับคว้ามาได้ และนำเสนอออกมาในกวีนิพนธ์ของพวกเขา ในกรณีส่วนใหญ่ คุณสมบัติเหล่านี้ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับเรื่องของฤดูกาลโดยเฉพาะด้วย

    แก่นสารของกวีนิพนธ์เกี่ยวกับนก chidori (plover - นกต้อยตีวิด), เป็นตัวอย่าง คือบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้รู้สึกหดหู่และซึมเศร้า ลักษณะร่วมกันอันนี้มีสาเหตุเนื่องมาจากเสียงที่ฟังดูเศร้าสร้อยของมัน และมาจากการถูกพบได้ตามชายฝั่ง อันเป็นสถานที่ที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลจากเมืองหลวง ด้วยเหตุนี้มันจึงเสนอภาพในทำนองเปล่าเปลี่ยว เหงาหงอย เนื่องมาจากความสัมพันธ์ของมันกับความเศร้าโศกและแนวโน้มของมันที่อยู่กันเป็นกลุ่มๆ ในช่วงฤดูหนาวอันไร้ผู้คน ในความอ้างว้าง มันเป็นภาพทิวทัศน์ของฤดูหนาวอันเยือกเย็น

    ขณะเดียวกันในโลกตะวันตกสมัยใหม่ อาจรู้สึกว่า สุนทรียภาพดังกล่าวได้สร้างข้อจำกัดเทียม(ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้น)บนการขานรับของพวกเราที่มีต่อธรรมชาติ แต่ในขนบจารีตญี่ปุ่น มันคือหนทางหนึ่งของการยอมรับแก่นสารของธรรมชาติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ และเป็นการบ่มเพาะความรู้สึกอ่อนไหว ซึ่งขานรับต่อความลึกซึ้ง ความละเอียดอ่อนของพวกเขา

sabi - wabi สุนทรียศาสตร์ของความพร่อง / ความไม่พอเพียง
สุนทรียภาพแบบชินโต: การแสดงถึงเอกภาพทั้งมวล
Mono no aware: การร่วมรู้สึกกับสิ่งต่างๆ - ความรู้สึกอ่อนไหวกับสิ่งที่ไม่จีรังคงทน
การละครของญี่ปุ่น Zeami
พิธีชงชา (Tea ceremony)
สวนญี่ปุ่น (Japanese gardens)
ด้านวรรณกรรม
สุนทรียศาสตร์ด้านการประพันธ์ญี่ปุ่นมีรากเหง้ามาจากลัทธิชินโตและพุทธศาสนา
กวีนิพนธ์ญี่ปุ่น: ความเชื่อมโยงระหว่าง”มนุษย์”กับ”ธรรมชาติ”
  

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย