ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป>>
อิสราเอล
การอพยพ
(ก่อน.ค.ศ. 1550-1250)
หลักฐานการอพยพ
พวกยิวคิดอยู่เสมอว่าการอพยพออกจากประเทศอียิปต์เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของพวกเขา พระธรรมอพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี และเฉลยธรรมบัญญัติ พูดถึงข้อเท็จจริงที่พระเจ้าทรงนำพวกอิสราเอลออกมาจากแผ่นดินอียิปต์ บรรดาผู้เขียนประวัติศาสตร์อิสราเอลต่อจากเรื่องการอพยพ ตามที่ปรากฏในพระธรรมโยชูวา ผู้วินิจฉัย 1-2 ซามูเอล และ 1-2 พงศ์กษัตริย์ พูดถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนลูกหลานบรรพชนต้นตระกูลอิสราเอลให้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นชนชาติหนึ่งในโลกได้สำเร็จ พวกผู้เผยพระวจนะใหญ่ เช่น อิสยาห์ เยเรมีย์ เอเสเคียล และพวกผู้เผยพระเวจนะน้อย เตือนสติผู้ฟังให้รำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อตอนที่อิสราเอลอพยพออกจากอียิปต์ ผู้แต่งเพลงสดุดีหลายคนก็ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าในเรื่องเดียวกันนี้
แต่บันทึกของชาวอียิปต์กลับไม่ได้เอ่ยถึงเลย คงจะเป็นเพราะพวกเขาเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ได้ เรื่องนี้ทำให้ค่อนข้างยากที่จะแน่ใจได้ว่าการอพยพเกิดขึ้นจริงหรือไม่ นักวิชาการบางคนเห็นว่า เรื่องต่าง ๆ ในพระธรรมอพยพเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกอิสราเอล
นักวิชาการบางคนเห็นว่าเรื่องภูเขาซีนายไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการอพยพหรือการเดินทางเข้าสู่แผ่นดินพระสัญญาเลย แต่จากสิ่งที่เราศึกษาในพระคัมภีร์ และจากทัศนะคติที่สืบทอดกันมา เรื่องการอพยพออกจากอียิปต์ การทำพันธสัญญาที่ภูเขาซีนาย อิสราเอลพเนจรอยู่ในถิ่นทุรกันดาร และการเข้าสู่แผ่นดินพระสัญญา ล้วนเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกัน
โยเซฟขึ้นสู่อำนาจ
โยเซฟมีอำนาจในช่วงที่ราชวงศ์ฮีคสอสปกครองประเทศอียิปต์
กษัตริย์ราชวงศ์นี้เป็นชาวเซไมต์
เข้ามาในอียิปต์ครั้งแรกทางเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ก.ค.ศ. 1720
และยึดครองอียิปต์ได้ทั้งหมดประมาณ ก.ค.ศ. 1690
แล้วตั้งเมืองหลวงของตนขึ้นที่อาวาริสบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์
พวกเขาแผ่อำนาจไปถึงปาเลสไตน์
เนื่องจากคนพวกนี้มาจากเผ่าเดียวกันกับอิสราเอล
จึงเป็นธรรมดาที่จะยอมให้โยเซฟเป็นผู้นำ
อิสราเอลตกเป็นทาส
พวกฮิคสอสปกครองอียิปต์นานประมาณหนึ่งร้อยปี
แล้วพวกอียิปต์ที่อยู่ตอนบนของประเทศก็แยกตัวเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของฮิคสอส
จนในที่สุดก็สามารถยึดเมืองอาวาริสได้สำเร็จเมื่อประมาณ ก.ค.ศ. 1550
และขับไล่พวกฮิคสอสออกจากอียิปต์
กษัตริย์องค์ใหม่ที่ขึ้นครองราชย์ไม่รู้จักโยเซฟ
จึงเกิดการกดขี่ข่มเหงพวกอิสราเอลอย่างหนัก
การสร้างเมืองต่าง ๆ
เพื่อจะค้นดูว่าช่วงเวลาที่พวกอิสราเอลเป็นทาสในอียิปต์นานเท่าใด
เราต้องตรวจสอบจากหลักฐานการก่อสร้างหัวเมืองต่าง ๆ
เพื่อเก็บราชสมบัติของฟาโรห์ คือเมืองปิธม เมืองราอัมเสส (อพยพ 1:11)
ที่เมืองเบธชานในปาเลสไตน์มีหลักศิลาจารึกกล่าวถึงเรื่องราวในสมัยราอัมเสสที่
2 (ก.ค.ศ. 1290-1223)
พระองค์ทรงสร้างเมืองอาวาริสให้เป็นเมืองหลวงของพวกฮิคสอสสมัยโบราณ
จากแผนที่จะเห็นได้ว่าเมืองอาวาริสกับเมืองปิธมตั้งขนาบอยู่สองข้างโกเชนบริเวณที่พระคัมภีร์บอกว่าเป็นสถานที่ซึ่งอิสราเอลอาศัยอยู่
เผ่าต่าง ๆ ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร
โมเสสแต่งงานกับลูกสาวของเยโธรปุโรหิตของชาวมีเดียน (อพยพ 3:1)
อิสราเอลต่อสู้กับคนอามาเลข (อพยพ 17:8-13) และเดินอ้อมดินแดนของชาวโมอับ
(กดว. 21:10) ชาวมีเดียนกับอามาเลขเป็นชนเผ่าเร่ร่อน
ไม่มีที่อาศัยเป็นหลักแหล่ง
จึงไม่ได้ทิ้งหลักฐานอะไรไว้ให้นักโบราณคดีศึกษาประวัติศาสตร์สมัยโน้น
ดังนั้นจึงไม่มีหวังจะได้หลักฐานที่บ่งชี้ถึงเรื่องราวของการอพยพจากความรู้เกี่ยวกับคนพวกนี้
ปาเลสไตน์เปิดให้เผ่าต่าง ๆ เข้าไปตั้งหลักแหล่ง
ปาเลสไตน์เป็นสมรภูมิมาตลอดประวัติศาสตร์
บริเวณแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างอารยธรรมใหญ่ ๆ ในอียิปต์และเมโสโปเตเมีย
ต่อมาก็รวมทั้งเอเซียไมเนอร์และยุโรป
ไม่ว่าราชอาณาจักรใดที่เรืองอำนาจขึ้นมาในเอเซียตะวันตกเฉียงใต้สมัยโบราณ
พวกเขาต่างก็พยายามจะเข้าควบคุมปาเลสไตน์ไว้ให้ได้
เพราะที่นั่นมีประโยชน์สำหรับเป็นแนวป้องกันศัตรูของประเทศ
หรืออาจใช้เป็นที่ตั้งฐานทัพเพื่อโจมตีประเทศศัตรู
สมัยที่ฟาโรห์เมอร์เนปทาร์ปกครองอียิปต์ (ก.ค.ศ. 1223-1211) พระองค์ทรงชราภาพไม่สามารถควบคุมปาเลสไตน์ไว้ได้จึงเกิดการทำสงครามกัน ศิลาจารึกที่สร้างขึ้นหลังสงครามเสร็จสิ้นลงแล้วบันทึกไว้ว่า "อิสราเอลราบคาบลงแล้ว ไม่เหลือเชื้ออีกต่อไป" แสดงว่าในปี ก.ค.ศ. 1220 มีพวกอิสราเอลอยู่ในปาเลสไตน์แล้ว คนพวกนี้อาจจะเข้าไปอยู่ในปาเลสไตน์ก่อนรัชสมัยของฟาโรห์เมอร์เนปทาร์ คือเข้าไปอยู่ประมาณ ก.ค.ศ. 1240
เมืองต่าง ๆ ในปาเลสไตน์ที่ถูกทำลาย
อย่างที่เห็นแล้วว่าข้อมูลสำคัญต่าง ๆ
ได้มาจากซากวัสดุสิ่งของในชั้นดินต่าง ๆ ที่ปาเลสไตน์
นักโบราณคดีขุดค้นลงไปในชั้นดินพบว่ามีเมืองจำนวนมากถูกเผาทำลายประมาณปลายศตวรรษที่
13 ก.ค.ศ.
หลักฐานเหล่านี้เหมือนจะสนับสนุนเรื่องที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์
เพราะมีเมืองเดอร์บี (ยชว.10:38-39) ลาคีช (ยชว.10:31-32) ฮาโซร์ (ยชว.
11:10) อยู่ในจำนวนนั้น ถ้าเมืองเหล่านี้ถูกทำลายโดยพวกอิสราเอลแล้ว
ก็เท่ากับสนับสนุนข้อเสนอแนะที่บอกว่าเรื่องการอพยพออกจากอียิปต์เกิดขึ้นในศตวรรษที่
13 ก.ค.ศ.
เมืองเยรีโคและเมืองอัย
หลักฐานจากเมืองเยรีโคและเมืองอัยมีลักษณะแตกต่างกันมาก
แม้ว่าเมืองทั้งสองนี้จะมีความสำคัญในเรื่องการตั้งถิ่นฐานของพวกอิสราเอลในแผ่นดินคานาอันก็ตาม
แต่ไม่มีหลักฐานว่าอิสราเอลเผาเมืองนี้ในศตวรรษที่ 13
ดูเหมือนว่าเยรีโคจะถูกทำลายตอนต้นศตวรรษที่ 15 ก.ค.ศ.
และอีกครั้งประมาณก่อนกลางศตวรรษที่ 14 ก.ค.ศ. เล็กน้อย
ส่วนเมืองอัยถูกทำลายก่อนหน้าเมืองเยรีโคเสียอีก คือก่อนศตวรรษที่ 20
ก.ค.ศ. และไม่เคยมีผู้คนเข้าไปอาศัยในเมืองนี้อีกเลย
แต่ใกล้กับเมืองอัยมีเมืองเบธเอลตั้งอยู่ ห่างกันประมาณหนึ่งไมล์กว่า
ประชาชนอาจจะจำสองเมืองนี้สับสนกันได้ง่าย
วันเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นตามที่พระคัมภีร์ระบุไว้
หลักฐานส่วนใหญ่บ่งบอกว่าช่วงอพยพก่อนขึ้นในรัชสมัยของราอัมเสสที่ 2
(กคศ. 1290-1223) แต่หลักฐานบางชิ้นก็ไม่สนับสนุนทัศนะนี้
ผู้เขียนพระคัมภีร์หลายคนพยายามจะบอกว่าเรื่องอพยพเกิดขึ้นเมื่อใด
โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
ตามที่ปรากฏในพระธรรมอพยพ 12:40 บอกว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากที่โยเซฟและครอบครัวของท่านเข้าไปอาศัยอยู่ในอียิปต์แล้ว 430 ปีหรือประมาณปี ก.ค.ศ. 1260-1120
พระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์ 6:1 บอกว่าเรื่องการอพยพเกิดขึ้นก่อนวางรากสร้างพระวิหาร 480 ปี พระวิหารสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ก.ค.ศ. 958 เรื่องการอพยพจึงเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ก.ค.ศ. 1438 ซึ่งดูเหมือนว่าไกลเกินไป แต่คำว่า "480 ปี" อาจจะหมายถึง 12 ชั่วอายุคน เพราะอิสราเอลสมัยโน้นนับ 1 ชั่วอายุคนเท่ากับ 40 ปี แต่ตามความเป็นจริงแล้วหนึ่งชั่วอายุคนน่าจะเป็น 25 ปี มากกว่า ถ้าเช่นนั้น 12 ชั่วอายุคนก็เป็น 300 ปี ถ้าที่ผู้เขียนพระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์บอกไว้นั้นหมายถึง 12 ชั่วอายุคนจริงก็เป็นหลักฐานยืนยันว่าการอพยพเกิดขึ้นประมาณ ก.ค.ศ. 1258 ก็แสดงว่าเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 ก.ค.ศ.
พระคัมภีร์ตอนอื่นก็บอกปีที่อิสราเอลอพยพออกจากอียิปต์ไว้ด้วย เช่น ในปฐมกาล 15.12-16 บอกว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีก 4 ชั่วอายุคน หนึ่งชั่วอายุคนเท่ากับ 100 ปี กาลาเทีย 3.17 บอกว่าเกิดขึ้นหลังจากที่พระเจ้าทรงเรียกอับราฮัม 430 ปี แต่ทั้งสองตอนไม่สอดคล้องกับรายละเอียดที่เสนอไว้ในบทนี้
พระเจ้าทรงนำพวกอิสราเอลออกจากอียิปต์
เรื่องอพยพเป็นหัวใจความเชื่อของยิว พวกเขาใส่ใจจดจำเรื่องราวเมื่อครั้งที่พระเจ้าทรงนำคนอิสราเอลบรรพบุรุษของพวกเขาออกจากการเป็นทาสที่ประเทศอียิปต์ ความจริงแล้วประวัติศาสตร์ตอนนี้ยืนยันความเชื่อของพวกเขาว่า พระเจ้าทรงเลือกประชาชนชาวยิวให้รับใช้พระองค์เป็นพิเศษ พวกอิสราเอลเชื่อว่าพระเจ้าประทานกฎหมายแก่พวกบรรพบุรุษที่ภูเขาซีนาย
อิสราเอลเล่าเรื่องการอพยพมาตลอด นับตั้งแต่พวกเขาออกมาจากประเทศอียิปต์ แต่ไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เลย เรื่องนี้จึงกลายเป็นนิทานโบราณคดีที่หลากหลายอยู่ในความทรงจำของพวกอิสราเอล ในที่สุดก็ได้รวบรวมและเรียบเรียงเรื่องเหล่านั้นเขียนเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ของพวกเขา พวกผู้เผยพระวจนะและผู้แต่งเพลงสดุดีได้นำบางเรื่องมาใช้
พระเจ้าทรงเรียกโมเสส
ประวัติชีวิตตอนแรก ๆ ของโมเสสนั้นพระคัมภีร์เล่าไว้ชัดและตรงไปตรงมา
ท่านเกิดจากสตรีชาวฮีบรู (อพยพ 2:2) เติบโตในราชวังของอียิปต์ (อพยพ 2:10)
ลี้ภัยไปอยู่กับชาวมีเดียนเพราะฆ่าชายชาวอียิปต์คนหนึ่งตายด้วยความโกรธ
(อพยพ 2:11-15)
เราจะเห็นได้ว่าตอนที่พระเจ้าทรงเรียกท่านให้ช่วยอิสราเอลพ้นจากการเป็นทาสนั้น
ท่านเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสม
เพราะได้รับอิทธิพลความเมตตาจากสตรีชาวอิสราเอล
มีสติปัญญาที่เรียนรู้มาจากราชสำนักอียิปต์
และเรียนรู้ชีวิตสมบุกสมบันในทะเลทรายที่ชาวมีเดียนถ่ายทอดให้
โมเสสได้พบพระเจ้าในทะเลทราย ที่พุ่มไม้ลุกโชนด้วยไฟ แต่มิได้ไหม้โทรมไป (อพยพ 3:2) หมายสำคัญนี้ทำให้โมเสสเชื่อว่าพระเจ้าทรงบัญชาท่านให้ไปเฝ้าฟาโรห์และขอให้ปล่อยพวกอิสราเอลจากการเป็นทาส โมเสสรู้สึกว่าท่านต้องมีคำพูดที่มีอำนาจจึงจะหนุนใจอิสราเอลและโน้มน้าวพระทัยฟาโรห์ให้ยอมทำตามได้ พระเจ้าบอกให้ท่านทราบว่าพระองค์ทรงพระนามว่า "เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น" (อพยพ 3:14,6:3) หรือชื่อในภาษาฮีบรูว่า "ยาห์เวห์" พระนามนี้พวกอิสราเอลถือว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในบรรดาพระนามที่พวกเขาใช้เรียกพระเจ้า เป็นพระนามที่ทรงสำแดงแก่โมเสสเป็นคนแรก ที่ภูเขาซีนาย (อพยพ 3:1 เรียกชื่อสถานที่นั้นว่าภูเขาโฮเรบ ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภูเขาซีนาย )
พระเจ้ายังประทานหมายสำคัญให้โมเสสเพื่อพิสูจน์ว่า ท่านได้รับสิทธิอำนาจจากพระองค์ คือไม้เท้าที่กลายเป็นงู (อพยพ 4:3) และมือที่กลายเป็นโรคเรื้อน (อพยพ4:6)
ภัยพิบัติต่างๆ
ฟาโรห์ไม่เต็มพระทัยปล่อยพวกอิสราเอลให้เป็นอิสระ
พระธรรมอพยพบันทึกเรื่องภัยพิบัติสิบประการที่เกิดขึ้นเพื่อบังคับให้ฟาโรห์ยอมปล่อยพวกอิสราเอลไป
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนี้เป็นการอัศจรรย์ของพระเจ้าเพราะมีภัยพิบัติเกิดขึ้นหลายอย่างติดต่อกันอย่างกระชั้นชิด
และโมเสสสามารถทำนายล่วงหน้าได้ทุกครั้ง บางทีชาว
อียิปต์อาจเชื่อว่าภัยพิบัติดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะเทพเจ้าโกรธ
แต่โมเสสบอกว่าเป็นเพราะพระเจ้าของพวกทาสอิสราเอลพิโรธ
และฟาโรห์จะต้องยอมปล่อยพวกทาสให้เป็นอิสระ
การข้ามทะเลแดง
ตามที่ปรากฏในพระธรรมอพยพบทที่ 14 พวกอิสราเอลกำลังหนีมาถึงจุดอับ
ข้างหน้าเป็นทะเลข้างหลังเป็นกองทหารอียิปต์ที่ไล่ตามมา
แต่พวกอิสราเอลก็รอดได้โดยการอัศจรรย์ ส่วนทหารอียิปต์จมน้ำตาย
พระธรรมอพยพบทที่ 14:21
บันทึกเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้อิสราเอลสามารถข้ามทะเลไปได้ไว้ต่างกันสองอย่างคือ
บอกว่า "ลมทิศตะวันออกพัดโหมไล่น้ำทะเลตลอดคืน ทำให้กลายเป็นดินแห้ง"
"น้ำแยกออกจากกัน" ข้อต่อไปบอกว่าอิสราเอลพากันเดินบนดินแห้งกลางทะเล "ส่วนน้ำนั้นตั้งเหมือนกำแพงสำหรับเขาทั้งทางขวาและทางซ้าย"
สำนวนแรกค่อนข้างจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติมากกว่า สำนวนที่สองพูดถึงเรื่องการอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นเพราะโมเสสยื่นมือออกไปเหนือทะเล นักวิชาการหลายคนคิดว่าเรื่องที่สองเขียนขึ้นหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปนานมาก และเขียนเป็นคำประพันธ์ทำให้เรื่องดูเหมือนเป็นการอัศจรรย์ซึ่งเป็นวิธีถวายเกียรติพระเจ้าอย่างหนึ่ง นักวิชาการหลายคนมีความรู้สึกอันเกิดจากประสบการณ์ว่า "พระเจ้าทรงใช้พลังทางธรรมชาติทำให้พระประสงค์ของพระองค์บรรลุถึงความสำเร็จ"
อาหารและน้ำในทะเลทราย
โมเสสเคยอยู่ในทะเลทรายมาแล้วหลายปี
ท่านดำรงชีพด้วยการเป็นคนเลี้ยงแกะให้เยโธรพ่อตา
ความรู้เรื่องหนองน้ำในทะเลทราย (oases)
เป็นประโยชน์มากสำหรับการเดินทางผ่านบริเวณที่ท่านเคยรู้จัก
ท่านมีวิธีทำน้ำขมให้จืดสนิท (อพยพ 15:23-25) และวิธีที่น้ำไหลออกจากหิน
(อพยพ 17:1-6) โมเสสยังสอนพวกอิสราเอลให้กินมานาเป็นอาหาร คำว่า "มานา"
แปลว่า "นี่อะไรหนอ" (อพยพ 16:14-15)
นอกจากนั้นโมเสสยังสัญญาว่าพวกอิสราเอลจะได้กินเนื้อนกคุ่มอีกด้วย (อพยพ
16:13 กันดารวิถี 11:31-32)
ภูเขาซีนาย
โมเสสนำประชาชนไปที่ภูเขาซีนาย ตรงที่ท่านได้พบพระเจ้าครั้งแรก
ตามตำนานเชื่อว่าภูเขาซีนายอยู่ทางตอนใต้ของบริเวณที่ปัจจุบันนี้เรียกว่าคาบสมุทรซีนาย
นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่าภูเขาซีนายคงจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเลยเอซีโอน-เกเบอร์
เพราะตรงนั้นเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของพวกมีเดียน
โมเสสเองก็แต่งงานกับหญิงชาวมีเดียนด้วย
แต่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า ภูเขาลูกนี้อยู่ที่คาบสมุทรซีนาย
เพราะที่นั่นมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ง่าย
และชาวมีเดียนเป็นชนเผ่าแร่ร่อนไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง
จึงเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะย้ายจากถิ่นฐานเดิมเพื่อเสาะหาแหล่งอาหารให้ฝูงสัตว์ของตน
พันธสัญญาที่ภูเขาซีนาย
เหตุการณ์ที่ภูเขาซีนายเป็นเหตุการณ์ที่อธิบายให้ชัดเจนยากที่สุด
มีคำถามสำคัญ ๆ ชุดหนึ่งซึ่งไม่สามารถหาคำตอบที่ทำให้แน่ใจได้
ประการที่ 1
เราอาจจะถามว่าโมเสสต้องการอะไรจึงนำประชาชนไปที่ภูเขาซีนาย
ทำไมท่านจึงนำประชาชนอิสราเอลไปยังที่ ๆ พระเจ้าตรัสกับท่านจากพุ่มไม้ไฟ
คำตอบข้อที่ 1
ท่านหวังจะให้พวกอิสราเอลได้รับประสบการณ์กับพระเจ้าโดยตรงเหมือนกับท่านแต่ประชาชนก็ไม่กล้ารับการสำแดงของพระเจ้าเพราะพวกเขากลัวพระเจ้า
จึงทรงประทานพระบัญญัติให้แทน
พระบัญญัตินี้แสดงให้ประชาชนรู้จักพระประสงค์ของพระเจ้าทางอ้อมโดยผ่านโมเสส
คำตอบข้อที่ 2
ในพระธรรมอพยพมีอยู่สองตอนที่คาดว่าโมเสสคือคนกลางระหว่างพระเจ้ากับประชาชน
คือ อพยพ 19:9 และ 19;20-21
ความเชื่อที่ว่าโมเสสได้รับเลือกให้มีความสัมพันธ์พิเศษกับพระเจ้านี้ทำให้พวกอิสราเอลพอใจก็อาจจะเป็นไปได้ เพราะดูเหมือนจะใช้เป็นข้อแก้ตัวได้ว่า ที่พวกเขารู้จักพระเจ้านั้นก็เพราะได้ยินมาจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง ถ้าพวกเขายอมรับว่าโมเสสคือผู้เตรียมทางให้พวกเขาทุกคนมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าโดยตรงก็จะรู้สึกระอายใจที่หันหน้าหนีการทรงเรียกจากเบื้องบน แต่เมื่อไม่ยอมรับความคิดเห็นนี้ก็จะสามารถอ้างได้ว่าพวกตนได้ทำตามแผนการที่พระเจ้าทรงวางไว้แล้ว
พระบัญญัติและพันธสัญญา
เมื่อศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับประชาชนอิสราเอลตามที่ปรากฏอยู่ในพระธรรมอพยพแล้ว เราจะพบว่ามีข้อคิดเห็นที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1. พระบัญญัติ
2. พันธสัญญา
บัญญัติสิบประการมาจากสมัยที่อิสราเอลอยู่ที่ภูเขาซีนาย พระบัญญัติสิบประการในพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ 5:6-21 ต่างกับในพระธรรมอพยพ 20:17 อาจเพราะเขียนขึ้นในสมัยหลัง นักเขียนสมัยหลังพยายามจะแสดงกฎพื้นฐานนี้ในลักษณะที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในสมัยของตนมากที่สุด
พระบัญญัติสิบประการเป็นสื่อที่ช่วยให้ประชาชนอิสราเอลรู้จักและเข้าใจพระประสงค์ของพระเจ้า บัญญัติเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญยิ่งของการทำพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับประชาชนของพระองค์
บรรพชนต้นตระกูลอิสราเอล
การอพยพ
อิสราเอล 12 เผ่า
กษัตริย์องค์แรกๆ ของอิสราเอล
สองราชอาณาจักร
สมัยจักรวรรดิอัสซีเรียเรืองอำนาจ
สมัยจักรวรรดิบาบิโลนเรืองอำนาจ
สมัยจักรวรรดิเปอร์เซียเรืองอำนาจ
สมัยจักรวรรดิกรีกเรืองอำนาจ
สมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ