ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป>>
อิสราเอล
สองราชอาณาจักร
(ประมาณ ก่อน.ค.ศ. 922-802)
ยุคทองของชาติเล็ก
ในรัชสมัยของดาวิดและซาโลมอน อิสราเอลครองความเป็นใหญ่ในปาเลสไตน์ และดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนได้นานกว่าครึ่งศตวรรษ ชาติเล็กที่อยู่ใกล้เคียงยอมสวามิภักดิ์ต่ออิสราเอลซึ่งมีความเป็นปึกแผ่น แต่เมือซาโลมอนสิ้นพระชนม์ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เกิดการปฏิวัติจนทำให้อิสราเอลแตกเป็นสองราชอาณาจักรเหนือใต้ ราชอาณาจักรทางเหนือเรียกว่า "อิสราเอล" มีดินแดนกว้างใหญ่ ประกอบด้วย 10 เผ่า ราชอาณาจักรทางใต้เรียกว่า "ยูดาห์" ความแตกแยกนี้ทำให้อิสราเอลไม่สามารถรักษาอำนาจในการปกครองเพื่อนบ้านได้อีกต่อไป
ประเทศที่เคยอยูใต้ปกครองของอิสราเอลต่างก็ได้รับเอกราช เมื่อฟิลิสเตียได้รับเอกราช ชาติอื่นๆ เช่นอัมโมน โมอับ และเอโดมก็พลอยได้รับเอกราชไปด้วย ไม่มีชาติใดมีอำนาจพอควบคุมชาติอื่น จึงเป็นยุคทองของชาติเล็กชาติน้อย ชาติเหล่านี้ทะเลาะเบาะแว้งเรื่องเขตแดนและแย่งชิงหัวเมืองตามชายแดนกันเป็นประจำ แต่บางครั้งก็จับมือกันต่อสู้กับประเทศที่เป็นศัตรูร่วมของตน เอกภาพเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อถูกศัตรูภายนอกอันได้แก่อียิปต์และอัสซีเรียบุกรุก
อียิปต์
อียิปต์เป็นชาติแรกที่บุกโจมตีชาติเล็กชาติน้อยเหล่านี้ ในปี ก.ค.ศ.
918 ฟาโรห์ชิชักที่ 1 เริ่มเข้ายึดครองปาเลสไตน์
ชิชักบุกเข้าไปในอิสราเอลด้วยพลังมหาศาล ทำลายเมืองต่างๆ
ของปาเลสไตน์ถึง150 แห่ง
พระองค์โจมตีเมืองเชเคมเมืองหลวงของอาณาจักรฝ่ายเหนือ
จนต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเปนูเอลแทน (1พงศ์กษัตริย์12.25)
อียิปต์ยกทัพมาโจมตีอย่างรวดเร็วและก็ถอนทัพอย่างรวดเร็วเช่นกัน
อัสซีเรีย
ภายใต้การนำของกษัตริย์หลายองค์ อัสซีเรียยกทัพมาโจมตีชาติต่างๆ
ที่อยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
และประสบความสำเร็จหลายครั้ง หนึ่งในบรรดากษัตริย์เหล่านั้นได้แก่อาเชอร์
นาเซอร์ปัลที่ 2 ซึ่งครองราชสมบัติในปี ก.ค.ศ. 883-853
พระองค์โจมตีซีเรียและเมืองต่างๆ
ของพวกฟีนิเซียที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
แชลมาเนเสอร์ที่3โอรสขอพระองค์ก็โจมตีชาติเล็กชาติน้อยหลายครั้ง
ทำให้อิสราเอล ซีเรีย
และฮามัธต้องผนึกกำลังเพื่อป้องกันตนเองโดยทำสงครามกันที่ การ์การ์ (Qar
Qar) ในปี ก.ค.ศ. 853 อัสซีเรียอ้างว่าได้ชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่
ปี ก.ค.ศ. 802 อาดัดนิรานิ กษัตริย์อัสซีเรียยกทัพมารบซีเรีย และบังคับซีเรียให้ยอมจำนน หลังจากนั้นซีเรียก็ไม่เข้มแข็งพอที่จะมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในปาเลสไตน์อีกเลย อัสซีเรียเข้ามาแทรกแซงยูดาห์และอิสราเอลอยู่ระยะหนึ่ง
อิสราเอลกับยูดาห์
ตอนนี้เราจะศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของอิสราเอลและยูดาห์ในช่วงที่กษัตริย์ ซาโลมอนสิ้นพระชนม์ (ก.ค.ศ. 922) เหตุการณ์เหล่านั้นส่วนใหญ่จะพบในพระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์( 1 พงศ์กษัตริย์ 12: 1-2 )
การปฏิวัติ
(1พงศ์กษัตริย์ 12.1-2)
การเก็บภาษีอย่างหนักและการเกณฑ์แรงงานที่กษัตริย์ซาโลมอนนำมาบังคับใช้
ทำให้ประชาชนไม่พอใจ ตอนที่กษัตริย์ซาโลมอนยังทรงพระชนม์อยู่
ผู้เผยพระวจนะอาหิยาห์เคยสนับสนุนเยโรโบอัมให้ทำการปฏิวัติมาแล้วแต่ก็ล้มเหลว
เมื่อซาโลมอนสิ้นพระชนม์ลง
เรโหโบอัมราชโอรสได้เป็นกษัตริย์ปกครองประเทศอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มเมืองหลวงซึ่งอยู่ท่ามกลางประชาชนทางภาคใต้
ประชาชนทางภาคเหนือต้องการให้ลดภาษีและทำให้ชีวิตของพวกตนสะดวกสบายขึ้นบ้าง
จึงขอให้เรโหโบอัมเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้
พระองค์เชื่อบรรดาที่ปรึกษาของพระองค์ซึ่งเป็นกลุ่มคนหนุ่มที่แนะนำไม่ให้ยอมทำตามคำของร้องของประชาชน
เวลานั้นเยโรโบอัมซึ่งลี้ภัยไปอยู่อียิปต์ได้กลับมาอิสราเอลแล้ว
ประชาชนทางภาคเหนือจึงก่อการปฏิวัติแยกออกไปปกครองตนเอง
โดยเลือกเยโรโบอัมให้เป็นกษัตริย์ของตน
อิทธิพลของผู้เผยพระวจนะ
ได้เห็นแล้วว่า
ผู้เผยพระวจนะอาหิยาห์เป็นผู้สนับสนุนเยโรโบอัมให้เป็นกษัตริย์
และมีผู้เผยพระวจนะอีกท่านหนึ่งที่เคยเตือนไม่ให้เรโหโบอัมปกครองประชาชนทางภาคเหนือโดยวิธีบีบบังคับ
ดังนั้นผู้เผยพระวจนะ
จึงเริ่มมีอิทธิพลในราชอาณาจักรอิสราเอลที่อยู่ทางเหนือ
ประชาชนอิสราเอลเองก็เชื่อว่าพระเจ้าทรงเลือกกษัตริย์โดยผ่านทางผู้เผยพระวจนะ
กษัตริย์องค์ต่อๆ
มาจึงต้องได้รับการรับรองจากผู้เผยพระวจนะว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ในการครองราชสมบัติของตน
และประชาชนเองก็คาดหวังว่าผู้เผยพระวจนะคือผู้ที่รู้ว่าใครควรเป็นกษัตริย์ของพวกเขา
ราชอาณาจักรอิสราเอลที่ตั้งขึ้นใหม่
ราชอาณาจักรยูดาห์เล็กกว่าราชอาณาจักรอิสราเอล
ยูดาห์มีกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง
มีพระวิหารและมีกษัตริย์เป็นคนในราชวงศ์ดาวิด
จึงง่ายที่เรโหโบอัมและกษัตริย์ยูดาห์องค์ต่อ ๆ
มาจะรักษาสถานภาพของรัฐยูดาห์ไว้ได้
ภาระของเยโรโบอัมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิสราเอลยากกว่านั้นมาก เพราะพระองค์ต้องเลือกเมืองหลวงที่เหมาะสม เริ่มแรกพระองค์ทรงปกครองราชอาณาจักรอยู่ที่เมืองเชเคม (1พงศ์กษัตริย์ 12: 25)เมื่อฟาโรห์ยกทัพเข้ามาโจมตีปาเลสไตน์ในปี ก.ค.ศ. 918 ดูเหมือนว่าเยโรโบอัมจะต้องย้ายราชสำนักของพระองค์ข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปอยู่ที่เปนูเอลเพื่อความปลอดภัย (1พงศ์กษัตริย์ 12:25) ภายหลังก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองทีรซาห์ (1พงศ์กษัตริย์ 14: 17) จนกระทั่งกษัตริย์อมรีขึ้นครองราชย์จึงย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงสะมาเรีย เป็นแห่งสุดท้าย (1 พงศ์กษัตริย์ 16: 24 ,29 )
สถานนมัสการแห่งชาติก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เยโรโบอัมต้องเผชิญ เพราะหีบพันธสัญญาประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม ประชาชนอิสราเอลคุ้นเคยกับการเดินทางจาริกแสวงหาบุญไปนมัสการที่พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม แต่กรุงเยรูซาเล็มอันเป็นราชธานีที่กษัตริย์ดาวิดทรงสถาปนาขึ้นอยู่ในเขตแดนของราชอาณาจักรยูดาห์ เยโรโบอัมซึ่งปกครองราชอาณาจักรฝ่ายเหนือจะยอมให้พลเมืองของตนใช้กรุงเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลางนมัสการต่อไปไม่ได้ พระองค์จึงสร้างประเพณีนี้ใหม่ขึ้นในอิสราเอล โดยเลือกเมืองเบธเอลและเมืองดาน เป็นศุนย์กลางการนมัสการแทน และทรงสร้างรูปทองคำไว้ด้วย (1พงศ์กษัตริย์ 12:26-33 )
ประชาชนในราชอาณาจักรอิสราเอลเอารูปวัวทองคำนี้ไปผูกพันกับประเพณีขอความอุดมสมบูรณ์ที่คนนับถือศาสนาอื่นสมัยนั้นทำกันอย่างแพร่หลายในปาเลสไตน์ และประชาชนจำนวนมากในราชอาณาจักรฝ่ายเหนือก็เป็นคนเชื้อสายคานาอันซึ่งเคยนมัสการเช่นนั้นมาก่อน ผู้เขียนพระธรรมพงศ์กษัตริย์ตำหนิเยโรโบอัมซ้ำแล้วซ้ำอีกที่สร้างรูปวัวทองคำนี้ แล้วสนับสนุนประชาชนให้หลงผิดไปนมัสการแบบนอกลู่นอกทาง (1พงศ์กษัตริย์ 13:34, 15:30, 34 2พงศ์กษัตริย์ 10: 29,13:6, 14: 24, 17.22 ) แม้แต่ผู้เผยพระวจนะอาหิยาห์ผู้เลือกและสนับสนุนเยโรโบอัมขึ้นเป็นกษัตริย์ก็ไม่ยอมรับพระองค์ (1พงศ์กษัตริย์ 14:1-16)
ความขัดแย้งระหว่างยูดาห์กับอิสราเอล
กษัตริย์ดาวิดทรงเลือกเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงเพราะตั้งอยู่ระหว่างดินแดนสองฝ่ายที่อยู่ในความปกครองของพระองค์
เมื่ออิสราเอลแยกตัวเป็นอิสระจากราชวงศ์ดาวิดแล้วกรุงเยรูซาเล็มจึงตกอยู่ในอันตราย
เมืองที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนย่อมถูกโจมตีได้ง่าย
และกษัตริย์เรโหโบอัมได้ยึดดินแดนของเผ่าเบนยามินซึ่งเคยเป็นของฝ่ายเหนือ
รวมเข้าเป็นของอาณาจักรฝ่ายยูดาห์
สองราชอาณาจักรนี้ทะเลาะกันตลอดด้วยเรื่องสิทธิในการปกครองเผ่าเบนยามิน (1พงศ์กษัตริย์ 14:30) นาดับโอรสของเยโรโบอัมแห่งอิสราเอลถูกบาอาชาปลงพระชนม์และขึ้นครองราชแทน (1พงศ์กษัตริย์ 15.27-28) บาอาชาพยายามจะปลดปล่อยเผ่าเบนยามินออกจากการปกครองของยูดาห์ซึ่งกษัตริย์อาสาปกครองอยู่ โดยยึดเมืองรามาห์ในดินแดนของเผ่าเบนยามินแล้วใช้เป็นศูนย์บัญชาการทางทหารเพื่อเข้าไปแทรกแซงยูดาห์ กษัตริย์อาสาจึงติดสินบนกษัตริยซีเรียให้โจมตีเมืองต่างๆที่อยู่ทางภาคเหนือของราชอาณาจักรอิสราเอล ให้บาอาชาทิ้งเมืองรามาห์เคลื่อนทัพไปที่ภาคเหนือแทน แล้วกษัตริย์อาสาก็สร้างป้อมปราการขึ้นที่เกบาและมิสปาห์ในดินแดนของเบนยามินเพื่อป้องกันเยรูซาเล็มไม่ให้ถูกแทรกแซงอีก (1พงศ์กษัตริย์15:16-22) กษัตริย์ของอิสราเอลองค์หลังๆพยายามจะเป็นมิตรกับยูดาห์
การปกครองของราชวงศ์อมรี
กษัตริย์อมรี
เรื่องราวของพระองค์อยู่ในพระธรรม (1พงศ์กษัตริย์16.15 เป็นต้นไป
)พระธรรมพงศ์กษัตริย์พูดถึงอมรีไว้ไม่มาก ทั้งๆ
ที่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่สำคัญองค์หนึ่งของอิสราเอล
พระองค์เป็นผู้เลือกเมืองสะมาเรียเป็นเมืองหลวง
และสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน
ทรงจัดอาหับราชโอรสของพระองค์อภิเษกสมรสกับเยเซเบลเจ้าหญิงแห่งฟีนิเซีย
(1พงศ์กษัตริย์ 16.31)
พระองค์สามารถข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปควบคุมโมอับได้ เมชากษัตริย์องค์หนึ่งของชาวโมอับบันทึกไว้บนศิลาจารึกว่า "อมรีกษัตริย์ของอิสราเอล สร้างความเดือดร้อนให้แก่โมอับหลายปี เพราะเทพเคโมชของชาวโมอับพิโรธแผ่นดินของพระองค์"
กษัตริย์อาหับ
อาหับเป็นโอรสของอมรี (1พงศ์กษัตริย์ 16.28)
พระองค์อนุญาตให้ประชาชนเข้าร่วมพิธีขอความอุดมสมบูรณ์ได้ตามใจชอบ
ทำให้คนเชื้อสายคานาอันในราชอาณาจักรพอใจการปกครองของพระองค์
การนมัสการพระบาอัลจึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย
เป็นเหตุให้พระเจ้าทรงเรียกผู้เผยพระวจนะเอลียาห์ให้มากล่าวโทษประชาชนที่นมัสการพระเทียมเท็จว่า
"ท่านทั้งหลายจะขยักขย่อนอยู่ระหว่างสองฝ่ายนี้นานสักเท่าใด
ถ้าพระเยโฮวาทรงเป็นพระเจ้า จงติดตามพระองค์
ถ้าพระบาอัลเป็นก็จงตามท่านไปเถิด (1พงศ์กษัตริย์ 18.21)
เรื่องเอลียาห์ท้าทายกษัตริย์อาหับและประชาชนอิสราเอลอยู่ในพระธรรม
1พงศ์กษัตริย์บทที่ 17-21
ราชวงค์อมรีหมดอำนาจ
ก่อนอาหับจะสิ้นพระชนม์ในสนามรบ
พระองค์มีความขัดแย้งกับเข้าไปมีส่วนขัดแย้งกับซีเรีย
เบนฮาดัดกษัตริย์แห่งซีเรียจึงยกทัพเข้ายึดเมืองราโมท-กิเลอาดทางเหนือของอิสราเอล
อาหับยกทัพไปต่อสู้ เยโฮชาฟัทกษัตริย์แห่งยูดาห์ยกทัพไปช่วย
แต่อาหับถูกปลงพระชนม์ในสนามรบ อาหัสยาห์โอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อ
ไม่นานก็ประสบอุบัติเหตุสิ้นพระชนม์ (2พงศ์กษัตริย์1.2)
เยโฮรัมโอรสอีกองค์หนึ่งของอาหับขึ้นครองราชย์ต่อ
รัชสมัยของเยโฮรัมเต็มด้วยการทำสงคราม
พระองค์พยายามจะเข้าควบคุมโมอับแต่ก็ล้มเหลว
และยังทำสงครามกับซีเรียต่อไปจนได้รับบาดเจ็บสาหัสในสนามรบ
ผู้เผยพระวจนะเอลีชาฉวยโอกาสขจัดอำนาจของราชวงศ์อมรีและจัดการเจิมเยฮูซึ่งเป็นแม่ทัพคนหนึ่งขึ้นเป็นกษัตริย์ เยฮูปลงพระชนม์เยโฮรัมแล้วขึ้นครองราชย์แทน
ราชอาณาจักรยูดาห์กับราชวงศ์อมรี
กษัตริย์ของยูดาห์สามองค์แรกขัดแย้งกับกษัตริย์ของอิสราเอลเพื่อแย่งกันครอบครองแผ่นดินของเผ่าเบนยามิน
แต่อมรีกับราชวงศ์ต้องการเป็นมิตรกับยูดาห์
การที่อาธาลิยาห์ธิดาของกษัตริย์อาหับอภิเษกกับเยโฮรัมโอรสของเยโฮชาฟัทแห่งยูดาห์
จึงเป็นเครื่องหมายของการสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีของทั้งสองราชอาณาจักร
แต่เยโฮรัมอยู่ใต้อิทธิพลของมเหสีอาธาลิยาห์เช่นเดียวกับที่อาหับแห่งอิสราเอลอยู่ใต้อิทธิพลของพระนางเยเซเบล
พระองค์จึงสนับสนุนให้มีการนมัสการพระบาอัลในยูดาห์
แม้แต่ในกรุงเยรูซาเล็มก็ไม่เว้น
เนื่องจากเยโฮรัมสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ดาวิด
พวกผู้เผยพระวจนะจึงไม่ต่อต้านพระองค์อย่างดุเดือดเท่ากับที่ต่อต้านกษัตริย์อาหับแห่งอิสราเอล
ขณะที่ราชอาณาจักรอิสราเอลกำลังเดือดร้อนเพราะโมอับก่อการกบฏ ในราชอาณาจักรยูดาห์เองก็เดือดร้อนเพราะเอโดมกบฎเช่นกัน (2 พงศ์กษัตริย์ 8.20) เมื่อเยโฮรัมแห่งยูดาห์สิ้นพระชนม์ อาหัสยาห์ราชโอรสจึงขึ้นเป็นกษัตริย์แทนได้ไม่กี่เดือน แม่ทัพเยฮูก็ก่อการปฏิวัติขึ้นในราชอาณาจักรอิสราเอลและปลงพระชนม์กษัตริย์โยรัมแห่งอิสราเอลและกษัตริย์อาหัสยาห์แห่งยูดาห์ซึ่งไปเยี่ยมโยรัมที่กำลังบาดเจ็บด้วย (2พงศ์กษัตริย์ 9.27-28) จึงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับยูดาห์ขึ้นอีก
ยุคแห่งความอ่อนแอ
การปฎิวัติของเยฮูทำลายราชวงศ์อมรีและความสงบสุขที่ประเทศต่างๆนิยมชมชอบการปกครองของราชวงศ์อมรี
ยูดาห์ตัดความสัมพันธ์กับอิสราเอล
ส่วนฟีนิเซียก็หันมาสู้กับอิสราเอลเพราะเยฮูปลงพระชนม์พระนางเยเซเบลซึ่งเป็นเจ้าหญิงองค์หนึ่งของพวกเขา
(2พงศ์กษัตริย์ 9.30-34)
เวลาเดียวกันอัสซีเรียก็ได้บุกปาเลสไตน์และบังคับให้อิสราเอลส่งส่วย
เยฮูสูญเสียอำนาจในการควบคุมดินแดนทั้งหมดที่อยู่ทางฟากโน้นของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งอิสราเอลเคยอ้างว่าเป็นของตน
(2พงศ์กษัตริย์ 10.32.33)
สถานการณ์ในยูดาห์ก็มีความวุ่นวายเช่นเดียวกัน โดยซีเรียยกทัพมาโจมตีเมืองกัทในราชอาณาจักรยูดาห์และต้องการจะโจมตีเยรูซาเล็มต่อไป แต่ก็ถอยทัพกลับไปเมื่อยูดาห์ยอมเอาทองคำจำนวนมากถวายเป็นเครื่องบรรณการ (2พงศ์กษัตริย์ 12.17-18, 24.23-24) เมื่อซีเรียอ่อนกำลังประชาชนทั้งในยูดาห์และอิสราเอลก็มีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ปัญหาสามประการของประชาชนของพระเจ้า
ปัญหาเกี่ยวกับกษัตริย์
สำหรับอิสราเอลแล้วการแต่งตั้งกษัตริย์เป็นเรื่องทางศาสนา
กษัตริย์มีหน้าที่ทำตามพระเจตนาของพระเจ้าและชักนำประชาชนให้เชื่อฟังพระองค์
กษัตริย์สามองค์ที่ประชาชนยอมรับว่าพระเจ้าทรงเลือกให้ปกครองพวกตนคือ ซาอูล
ดาวิด และซาโลมอน แต่ไม่มีองค์ใดปกครองด้วยความบริสุทธิ
ยุติธรรมและด้วยความฉลาด
หลังจากที่ซาโลมอนสิ้นพระชนม์แล้ว ประชาชนอยากได้กษัตริย์ที่ปกครองประเทศอย่งมีประสิทธิภาพ และทำในสิ่งที่พระเจ้าพอพระทัย มีปัญหาว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก เรโหโบอัมอ้างสิทธิในการปกครองประเทศเพราะพระองค์เกิดในราชวงศ์ดาวิด เยโรโบอัมอ้างว่าพระองค์ได้รับเลือกจากผู้เผยพระวจนะ นี่คือข้อแตกต่างทางเทววิทยาเรื่อง "พระเจ้าทรงเลือกษัตริย์ด้วยวิธีไหน"
ประชาชนในราชอาณาจักรยูดาห์เชื่อว่าหน้าที่อย่างหนึ่งของกษัตริย์คือการให้กำเนิดบุตรชายเพื่อสืบราชบัลลังก์ และเชื่อด้วยว่าราชวงศ์ดาวิดเท่านั้นที่มีสิทธิปกครองราชอาณาจักรของพระเจ้า แต่ประชาชนในราชอาณาจักรอิสราเอลเชื่อว่า ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ต้องเป็นผู้ใหญ่แล้ว และมีผู้เผยพระวจนะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลว่าผู้ใดมีคุณสมบัติที่จำเป็นและเหมาะสมในการปกครองราชอาณาจักรของพระเจ้า
ประชาชนในราชอาณาจักรทั้งสองกำลังขับเคี่ยวกับปัญหาว่า "อะไรทำให้คนเป็นกษัตริย์ที่ดีได้" เพราะชาติกำเนิด (เช่นเกิดในราชวงศ์ดาวิด) หรือเพราะผลของการดำเนินชีวิตของผู้นั้นกันแน่ (มีผู้เผยพระวจนะตรวจสอบความเหมาะสม) ประชาชนยอมรับและเห็นความสำคัญของอิทธิพลทั้งสองนี้ โดยตัวมันเองแล้วอิทธิพลไม่สามารถสร้างกษัตริย์ที่ดีพร้อมได้ ผู้ที่เกิดมาเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ดาวิดอาจจะกลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลชั่วร้ายได้ เช่น เยโฮรัม ( 2 พงศ์กษัตริย์ 10:30-31 ) หรือคนที่ผู้เผยพระวจนะเลือกเพราะมีบุคลิกและความสามารถดีก็อาจจะสร้างความผิดหวังให้ได้ เช่น กษัตริย์เยฮูแห่งอิสราเอล (2พงศ์กษัตริย์ 10.30-31)
ปัญหาเกี่ยวกับพระบาอัล
ความขัดแย้งด้านศาสนาที่รุนแรงที่สุดในช่วงนี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระบาอัล
ผู้เผยพระวจนะเอลียาห์กลายเป็นบุคคลสำคัญในพระธรรมพงศ์กษัตริย์
เพราะท่านต่อสู้กับการนมัสการพระบาอัลอย่างเต็มที่โดยไม่เกรงกลัว
คำว่า " บาอัล " เป็นภาษาฮีบรูแปลว่า " เจ้านาย " หรือ เจ้าของ เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ซึ่งมีอยู่หลายองค์ด้วยกัน เรียกชื่อต่างกันไปตามเขตแดนที่แต่ละองค์เป็นใหญ่ เช่น บาอัลเปโอร์ เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งเมืองเปโอร์ เชื่อกันว่าเทพเจ้าเหล่านี้เป็นผู้ดูแลและควบคุมพืชผล ฝูงสัตว์และมนุษย์ที่อยู่ในท้องที่หรือในอาณาเขตของใครของมันให้เกิดลูกดก เทพเหล่านี้จะสิ้นชีพในฤดูแล้ง และเป็นขึ้นมาใหม่ในฤดูฝน เป็นวิธีอธิบายว่าทำไมต้นพืชจึงเหี่ยวเฉาตายในฤดูร้อนและเป็นขึ้นมาใหม่ในฤดูฝน
การนมัสการพระบาอัลมีอันตรายสำหรับอิสราเอล 2 ประการ คือ
มันอาจจะทำให้พวกเขาหันเหไปจากการปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น
หรือ
อย่างน้อยก็ทำให้หลงเข้าใจผิดว่าพระเจ้าเป็นเพียงภาพปรากฏอีกลักษณะหนึ่งของพระบาอัลก็ได้
ผู้เผยพระวจนะเอลียาห์ทำทุกสิ่งเพื่อพิสูจน์ว่าพระบาอัลไร้อำนาจ มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดความแห้งแล้งหรือฝนจะตกเมื่อใดก็ได้ ขณะที่เอลียาห์สำแดงฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า ก็ต้องเผชิญกับความพิโรธ และการต่อต้านของพระนางเยเซเบล พระนางมีอำนาจในราชอาณาจักรอิสราเอล เอลียาห์จึงถูกบีบบังคับให้หนีไปหลบภัย
เอลียาห์ได้รับประสบการณ์ที่ภูเขาซีนาย (โฮเรบ) พระเจ้าทรงสำแดงแก่ท่านอย่างชัดเจนที่สุดด้วย "เสียงเบา ๆ " (1 พงศ์กษัตริย์ 19:11-12 ) คนที่ขานรับสียงที่พระเจ้าตรัสกับตนในใจจะรู้ว่า พระองค์ทรงมีฤทธิ์อำนาจ สามารถทำให้พระราชประสงค์ของพระองค์สำเร็จได้ทุกประการ แม้พระนางเยเซเบลก็ไม่อาจจะเอาชนะพระเจ้า
ปัญหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ตอนนี้เราใช้พระธรรมสิบสามเล่มแรกของพันธสัญญาเดิมมาแล้วสิบสองเล่ม
เพื่อศึกษาประวัติของอิสราเอล
เราต้องตระหนักว่าไม่มีเล่มใดในสิบสองเล่มนี้เขียนขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์เหล่านั้น
ผู้คนในสมัยซึ่งเรากำลังศึกษาอยู่นี้ไม่มีใครได้อ่านเลยแม้แต่เล่มเดียว
หลายเรื่องที่อยู่ในพระธรรมสิบสองเล่มนี้เป็นเรื่องที่พวกเขารู้และจดจำไว้แล้วเล่าสืบปากกันไป
ยังไม่มีใครสักคนที่พยายามนำมาเรียบเรียงให้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ของอิสราเอล
สมัยนั้นบางเรื่องในพระธรรมบางเล่มที่อยู่ในลักษณะของบันทึกประจำวัน ผู้เขียนเพียงแต่บันทึกเป็นเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิตของสองราชอาณาจักรไว้โดยไม่ได้แสดงว่าเรื่องใดอยู่ตอนใดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล เช่น มีบันทึกเรื่องการสร้างพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม ที่แน่ๆ จะต้องมีผู้บันทึกเรื่องราวของผู้เผยพระวจนะเอลียาห์ ทั้งในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และหลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปไม่นาน ผู้บันทึกเพียงแต่สนใจเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาครั้งสำคัญ และเรื่องของเอลียาห์ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของเรื่องเท่านั้น
ช่วงนี้เป็นครั้งแรก ที่มีผู้พยายามทำเค้าโครงของเรื่องต่าง ๆ ที่พระเจ้าทรงติดต่อกับอิสราเอลนักวิชาการหลายคนพูดถึงเอกสารที่พวกเขาเรียก เอกสาร"ย" (J) เพราะเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในราชอาณาจักรยูดาห์ และเรียกพระเจ้าว่า "ยาห์เวห์" (เยโฮวาห์) เอกสารนี้บันทึกประวัติศาสตร์ของอิสราเอลตั้งแต่งอับราฮัมจนถึงสมัยพิชิตปาเลสไตน์ เพื่อแสดงว่าพระสัญญาที่พระเจ้าประทานแก่อับราฮัมสำเร็จเป็นความจริงในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลได้อย่างไร แม้ว่าเอกสารที่ว่านี้ปัจจุบันไม่มีแล้ว แต่เรารู้ว่าพวกนักเขียนพระธรรมหลายเล่มในพันธสัญญาเดิมนำมาใช้บางส่วน
ผู้เขียนเอกสาร "ย" อาจมีกำลังใจเขียนเอกสารนี้ขึ้นมาเพราะรู้ว่าในรัชสมัยดาวิดอิสราเอลเคยรุ่งเรืองมาแล้ว แต่พอถึงสมัยของผู้เขียน "ย" ราชอาณาจักรได้แตกออกเป็นสองฝ่าย ความยิ่งใหญ่ที่เคยมีมาในอดีตกาลก็เลือนหายไปแทบจะหมด ในอดีตพระเจ้าทรงกระทำเพื่ออิสราเอลมาแล้ว และที่ทรงกระทำผ่านทางอิสราเอลมาก็มากต่อมาก มีคำถามว่าเดี๋ยวนี้พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์อะไร ผู้เขียน "ย" ไม่ได้พยายามตอบคำถามนี้ คงจะตั้งคำถามในหนังสือเพื่อให้ประชาชนรู้สึกตัวว่า พวกเขาไม่รู้ว่าพระเจ้าทรงมีแผนการอะไรสำหรับคนในสมัยของท่าน นักเทศน์และนักเขียนรุ่นหลังจะต้องคิดถึงแผนการของพระเจ้าที่ทรงกระทำเพื่ออิสราเอลต่อไป โดยถามว่า "ทำไมพระเจ้าจึงสร้างประชาชนของพระองค์ขึ้นมา และประทานแผ่นดินพระสัญญาให้แก่พวกเขา"
บรรพชนต้นตระกูลอิสราเอล
การอพยพ
อิสราเอล 12 เผ่า
กษัตริย์องค์แรกๆ ของอิสราเอล
สองราชอาณาจักร
สมัยจักรวรรดิอัสซีเรียเรืองอำนาจ
สมัยจักรวรรดิบาบิโลนเรืองอำนาจ
สมัยจักรวรรดิเปอร์เซียเรืองอำนาจ
สมัยจักรวรรดิกรีกเรืองอำนาจ
สมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ