สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
กะเหรี่ยง
โครงสร้างทางสังคม
ภาษา
ภาษกะเหรี่ยงจัดอยู่ในตระกูลภาษจีน-ธิเบต ดังแผนภูมิ
ลักษณะเด่นๆ ของภาษากะเหรี่ยงที่แตกต่างจากภาษาไทย ได้แก่ โครงสร้างพยางค์ เสียงพยัญชนะ และเสียงสระ รวมทั้งเสียงวรรณยุกต์ซึ่งในบางถิ่นจะมีลักษณะน้ำเสียงเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย
โครงสร้างพยางค์ ภาษากะเหรี่ยงสะกอไม่มีพยัญชนะสะกด ในบางถิ่นอาจพบว่ามีพยัญชนะสะกดบ้าง แต่ก็เป็นจำนวนน้อยมาก ด้วยเหตุนี้เมื่อคนกะเหรี่ยงเรียนพูดภาษาไทย จะพบว่ามีปัญหาในการออกเสียงและการได้ยินพยัญชนะสะกดของภาษาไทย เช่นคำว่า กัก กัด กับ เป็นต้น
เสียงพยัญชนะและเสียงสระบางเสียง เสียงพยัญชนะของภาษากะเหรี่ยงสะกอที่แตกต่างจากภาษาไทยอย่างเด่นชัด คือเสียงกลุ่มเสียดแทรก ได้แก่ เสียงเสียดแทรกระหว่างฟัน เส้นเสียงไม่สั่น ออกเสียงเหมือนเสียงต้นในภาษาอังกฤษว่า Think
เสียงเสียดแทรกที่เพดานอ่อน เส้นเสียงไม่สั่น /X/
เสียงเสียดแทรกที่เพดานอ่อน เส้นเสียงสั่น /Y/
เสียงเสียดแทรกที่เพดานแข็ง เส้นเสียงสั่น /J/ (Puttachart 1983)
ภาษากะเหรี่ยงในบางที่บางถิ่น พบเสียงเสียดแทรกอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏในภาษา ได้แก่ เสียงเสียดแทรก ที่ใช้ปลายลิ้น และปุ่มเหงือก เส้นเสียงสั่น /Z/ และมีเสียงเสียดแทรก ที่ใช้ฟันบนและริมฝีปาก เส้นเสียงสั่น /V/ ภาษากะเหรี่ยงสะกอมีพยัญชนะเสียงควบกล้ำ ที่ภาษาไทยไม่มี ได้แก่ เสียง ย/ j/ และเสียงเสียดแทรกที่โคนลิ้น เส้นเสียงสั่น ฬ /Y/ ในคำว่า แพยะ /phje3/ เรียนเก่ง และ เฬ /Ye2/ ดี,สวยตามลำดับ ลักษณะเด่นของเสียงสระที่แตกต่างจากภาษาไทยคือ ไม่มีความแตกต่างของสระสั้นยาวที่นัยสำคัญทำให้คำมีความหมายเปลี่ยนไป และไม่มีสระประสม (สุริยา รัตนกุล และคณะ 2529)
โครงสร้างเสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ในภาษากะเหรี่ยงสะกอบางถิ่น เช่น ที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่ามีลักษณะน้ำเสียง 3 ลักษณะ ปรากฏร่วมกับเสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงลมแทรก (Breathy) เสียงต่ำลึก (creaky) และเสียงบีบเส้นเสียง (giottalized) ลักษณะน้ำเสียงเหล่านี้ เมื่อเกิดร่วมกับระดับเสียงสูงต่ำทำให้เกิดวรรณยุกต์ 6 วรรณยุกต์ ดังต่อไปนี้
- วรรณยุกต์กลางในคำว่า /wa1/ white
- วรรณยุกต์สูงมีลมแทรก ในคำว่า /wa2/ to flap
- วรรณยุกต์ต่ำมีลมแทรก ในคำว่า /wa3/ husband
- วรรณยุกต์ต่ำลึก ในคำว่า /wa4/ to scratch
- วรรณยุกต์สูงบีบเส้นเสียง ในคำว่า /wa5/ bamboo,to pass under
- วรรณยุกต์ต่ำบีบเส้นเสียง ในคำว่า /wa6/ round,circle (puttachart 1983;55)
นอกจากภาษากะเหรี่ยงที่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงสะกอส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยเหนือได้ เนื่องจากกะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาสูงกว่าพวกอื่นและรับการพัฒนาได้เร็วกว่าพวกอื่น (สุริยา รัตนกุล และคณะ 2529)
กะเหรี่ยง
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการอพยพจากประเทศจีน
ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชนชาติไทย
ชนชาติกะเหรี่ยงในประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์
ลักษณะบุคคลกะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย
ประชากร
โครงสร้างทางสังคม
ครอบครัว
หมู่บ้าน
ระบบคุณธรรมและจริยธรรม
ประเพณีและข้อห้าม
ศาสนาและพิธีกรรม
ระบบเศรษฐกิจ
การปกครอง
ตำนานชนเผ่า
บรรณานุกรม
กะเหรี่ยงในประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์ของกะเหรี่ยงในประเทศไทย