ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ตรีโกณมิติ
เป็นชื่อวิชาเกี่ยวกับการวัดรูปสามเหลี่ยมต่าง ๆ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างด้านมุม และพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ถ้ารูปสามเหลี่ยมนั้นอยู่บนระนาบ เรียกว่า ตรีโกณมิติระนาบ ถ้าอยู่บนผิวทรงกลมเรียกว่า ตรีโกณมิติทรงกลม ในวิชานี้ถือเอาอัตราส่วนของด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ในระนาบเป็นหลัก
เนื่องจากค่าของอัตราส่วนเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของมุนแหลม เราเรียกฟังก์ชั่นเหล่านี้ว่า ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ สำหรับมุมแหลม เนื่องจากหน่วยในการวัดมุมที่นิยมใช้มีอยู่สองหน่วยคือ วัดเป็นองศา และราเดียน เราอาจเปลี่ยนมุมจากหน่วยองศาเป็นราเดียน หรือตรงกันข้ามได้
การแก้รูปสามเหลี่ยมนี้เรานำไปใช้ประโยชน์ในการรังวัดที่ดิน หาส่วนสูงของภูเขา หาความกว้างของแม่น้ำ การสร้างทาง การสร้างอุโมงค์จากคนละข้างของภูเขา มาบรรจบกัน การหาระยะในแนวราบ และแนวดิ่งของวัตถุในที่สูงเมื่อการวัดระยะทางโดยตรงทำไม่ได้ ส่วนวิชาตรีโกณมิติทรงกลมนั้น มีประโยชน์มากในวิชาดาราศาสตร์
วิชาตรีโกณมิติเกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับวิชาเรขาคณิต คือในสมัยอิยิปต์ และบาบิโลน และเจริญขึ้นในสมัยกรีก ปโตเลมีค้นพบกฎเกณฑ์ทางตรีโกณมิติ โดยอาศัยการพิสูจน์ทางเรขาคณิต ชาวฮินดูและชาวอาหรับ นำเอาวิชาพีชคณิตมาใช้ในการคำนวณทางตรีโกณมิติ การพบลอการีทึมของ จอห์น เนเบียร์ (พ.ศ.2093 - 2160) ช่วยให้การคำนวณแก้รูปสามเหลี่ยมทำได้ง่ายขึ้น
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>