ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ทศบารมี
คือ บารมีสิบอย่าง คำว่า บารมี มีคำนิยามว่า "คุณความดี ที่ควรบำเพ็ญสิบอย่างคือ ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิรยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา คุณความดีที่บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เช่นว่า ชมพระบารมี, พระบารมีปกเกล้า, พ่ายแพ้แก่พระบารมี"
บารมี สิบอย่าง คือ
1.
ทาน คือ การให้ เสียสละ
2. ศีล คือ การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
หรือความประพฤติที่ดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย
3. เนกขัมมะ คือ การออกบวช หรือการปลีกตัวปลีกใจจากกาม
4. ปัญญา คือ ความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล
เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
5. วิริยะ คือ ความเพียร ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบุกบั่น
อุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไปไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
6. ขันติ คือ ความอดทน สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล
และแนวทางความประพฤติที่ตั้งไว้ เพื่อจุดประสงค์อันชอบ ไม่ลุอำนาจกิเลส
7. สัจจะ คือ ความจริง ได้แก่ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ
8. อธิษฐาน คือ ความตั้งใจมั่น การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว
วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่วแน่
9. เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่น
และเพื่อนร่วมโลกทั้งปวง มีความสุขความเจริญ
10. อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง สงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม
ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดี ยินร้าย หรือชอบชัง
การบำเพ็ญบารมี แบ่งออกเป็นสามระดับ ระดับต้นเรียกว่า บารมี ระดับกลางเรียกว่า อุปบารมี ระดับสูงสุดเรียกว่า ปรมัตถบารมี กิริยาที่บำเพ็ญบารมีธรรม เพื่อพระโพธิญาณนั้น ท่านจัดเป็นสามระดับคือ บารมี 10 อุปบารมี 10 ปรมัตถบารมี 10
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>