ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
นิครนถ์
เป็นชื่อของนักบวชลัทธินอกศาสนาลัทธิหนึ่ง ในอินเดียสมัยพุทธกาล มีนาฏบุตรเป็นเจ้าลัทธิ เรื่องราวของนักบวชพวกนี้ มีปรากฎอยู่ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย คำนิครนถ์ เป็นภาษาสันสกฤต ในภาษาบาลีใช้ว่า "นิคัณฐะ" แปลว่า ไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัดหรือเครื่องผูกพัน
ต่อมาเมื่อนิครนถ์ นาฏบุตร ดับขันธุ์แล้วไม่นาน พวกนิครนถ์ได้แตกออกเป็นสองนิกายคือนิกายทิคัมพร แปลว่าพวกนุ่งห่มทิศคือไม่นุ่งผ้า กับนิกายเศวตัมพร แปลว่าพวกวนุ่งขาวห่มขาว
สาระสำคัญของลัทธินิครนถ์นี้ตรงกับลัทธิสำคัญลัทธิหนึ่งในจำนวนลัทธิเดียรถีย์สามลัทธิคือ ลัทธิที่ตรัสว่า "มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรือไม่สุข ไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ทำไว้ แล้วแต่กาลก่อนเป็นเหตุ"
ในปัจจุบันนักบวชพวกนิครนถ์ ยังมีอยู่แพร่หลายในอินเดีย เรียกกันว่า นักบวชเชน
และเรียกนาฎบุตรว่ามหาวีระ เมื่อนิครนถ์ นาฏบัตร ดับขันธ์ลง
สางวกทั้งหลายได้ประชุมหารือกันว่าสาระสำคัญของลัทธินี้เป็นอย่างไร
สาวกฝ่ายหนึ่งบอกว่าเป็นสัสตทิฐิ อีกฝ่ายหนึ่งแย้งว่าเป็นอุจเฉททิฐิ
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>