ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

พงศาวดาร

มีบทนิยามว่า "เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น" คำนี้เป็นคำเก่า ใช้สืบต่อมาเป็นเวลาช้านาน บรรดาหนังสือพงศาวดารหลายฉบับ มีพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลางประเสริฐ พงศาวดารฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาส พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ห้าของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1, 2, 3 และ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พงศาวดารโยนก และประชุมพงศาวดารภาคต่างๆ เป็นต้น

ต่อมาระหว่างปี พ.ศ.2469 - 2475 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เริ่มนิยมใช้คำประวัติศาสตร์แทนคำพงศาวดาร เพราะพงศาวดารนั้นโดยศัพท์ "เรื่องราวของพระอวตาร" หรือพระนารายณ์ซึ่งคนไทยเคลมเอาเป็นเกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดิน ประวัติศาสตร์ได้รับความนิยมกันทั่วไป ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย