ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ปราสาทพนมรุ้ง
เป็นศาสนสถานในศิลปะสมัยลพบุรี ตั้งอยู่ในเขต อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ บนเขาพนมรุ้ง คำว่าพนมรุ้งอาจแปลได้ว่า ภูเขาใหญ่ ด้านหน้าของปราสาทอยู่ทางทิศตะวันออกที่ตระพักเขาชั้นล่างทางด้านทิศตะวันออกมีบันไดต้นทางที่จะขึ้นไปสู่ปราสาท กว้าง 22 เมตร เป็นชั้น ๆ สี่ชั้น ถัดบันไดขึ้นไปเป็นชาน มีฐานศิลาอย่างมีร่องน้ำมนต์ขนาดใหญ่ ขนาด 5 เมตร สำหรับตั้งรูปประติมาอยู่ริมชานซ้ายขวาข้างละหนึ่งฐาน ถัดจากฐานเป็นบันไดไปสู่เนินดินรูปสี่เหลี่ยม เข้าใจว่าเป็นฐานของพลับพลาหรือมณเฑียรเป็นรูปกากบาทขนาดกว้าง 5.5 เมตร ยาวจากทิศเหนือไปใต้ 40 เมตร จากตะวันออกไปตะวันตก 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานดินขนาด 150 x 150 เมตร
ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 และเป็นที่เคารพนับถือมาจนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18
มณเทียร มุมตะวันออกเฉียงเหนือมักเรียกกันว่าโรงช้างเผือก
เดิมคงเป็นศาสนสถานคงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16
ห่างจากมณเทียรตรงไปทางทิศตะวันตกประมาณ 50 เมตร
มีสระน้ำขนาดเล็กขนาดใหญ่อยู่สามสระขังน้ำได้ตลอดปี
ซากปรางค์อิฐสององค์
เพิ่งขุดพบใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออาจสร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15
หลังศิลปะขอมสมัยบาเค็งไม่นานนัก
ปรางค์น้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
คงสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 เพราะภาพสลักแสดงถึงศิลปะขอมสมัยคลัง (พ.ศ.1500
- 1550) และสมัยบาปวน (พ.ศ.1550 - 1650) ปะปนกันอยู่
ปรางค์องค์ใหญ่
และระเบียงที่ล้อมรอบ คงสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17
คือในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยบาปวนตอนปลายกับสมัยนครวัด
ถนนสะพานนาคราช
และบันไดศิลาหน้าปราสาททางทิศตะวันออก มีลักษณะตรงกับศิลปะขอมสมัยนครวัดตอนต้น
(พ.ศ.1650 - 1675)
วิหารสองหลัง อยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือหนึ่งหลัง
และตะวันออกเฉียงใต้หนึ่งหลัง คงจะก่อเพิ่มเติมขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด
มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอม ตรงกับศิลปะสมัยบายน (ราว พ.ศ.1700 - 1750)
ศาสนสถานบนเขตพนมรุ้ง เป็นเทวาลัยสำคัญ คงเป็นเพราะตั้งอยู่บนเส้นทางเดินที่สำคัญจากเมืองนครในอาณาจักรขอม มายังปราสาทตาเมืองธม อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ต่อชายแดนระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศไทย ปราสาทเมืองต่ำ อ.ประโคมชัย จ.บุรีรัมย์ ขึ้นไปยังปราสาทหินพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมาทางทิศเหนือนั่นเอง ปราสาทพนมรุ้งคงทิ้งร้างไปเมื่อชนชาติไทยเข้ามามีอำนาจ เพราะไม่เคยค้นพบพระพุทธรูป ณ ศาสนสถานแหล่งนี้เลย
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>