ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

หน้า 3

มาตรา 47 ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำ หรือ ปกครองรักษาทรัพย์สิ่งใด ๆ ของทหาร ถ้าและมันบังอาจเอาของอื่น ปลอมหรือปนกับทรัพย์สิ่งนั้น ๆ ให้เสื่อมลงก็ดี หรือมันปล่อยให้ผู้อื่นกระทำ เช่นนั้นโดยมันรู้เห็นเป็นใจด้วยก็ดี ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปจนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ร้อยบาทขึ้นไปจนถึง สองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง และทหารคนใดท่านใช้ให้มีหน้าที่จัดซื้อหรือทำ หรือปกครองรักษา สิ่งใด ๆ ของทหาร ถ้าและมันบังอาจจ่ายทรัพย์สิ่งใด ๆ ที่มันรู้อยู่ว่ามีของอื่น ปลอมหรือปนเช่นว่ามาแล้วก็ดี หรือมันปล่อยให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้นแล้วมันไม่รีบ ร้องเรียนต่อผู้ใหญ่ที่เหนือมันก็ดี ท่านว่ามันมีความผิด ต้องระวางโทษเช่นว่า มาในมาตรานี้แล้วนั้นดุจกัน

[มาตรา 47 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2507 โดยแก้คำว่า ทหารบก ทหารเรือ เป็น ทหาร]

มาตรา 48 ในเวลาสงคราม ถ้าผู้ใดกระทำการปราศจาก ความเมตตาแก่คนที่ถูกอาวุธบาดเจ็บ หรือแก่คนที่ป่วยเจ็บในกองทัพฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดก็ดี หรือกระทำการปล้นทรัพย์แย่งทรัพย์อย่างใด ๆ ที่ท่านบัญญัติไว้ใน มาตรา 249 ถึงมาตรา 259 และมาตรา 288 ถึงมาตรา 303 แห่งประมวล กฎหมายลักษณะอาญานั้น ท่านให้เพิ่มโทษมันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่ ท่านบัญญัติไว้สำหรับความเช่นนั้นขึ้นด้วยอีกกึ่งหนึ่ง

มาตรา 49 ในเวลาสงคราม ถ้าผู้ใดใช้ธงกาชาดหรือเครื่องหมาย กาชาดโดยผิดข้อบังคับแห่งหนังสือสัญญานานาประเทศ ซึ่งทำที่เมืองเยนีวา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก 125 ท่านว่ามันมีความผิดต้องด้วย อาญาซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 128 แห่งประมวลกฎหมายลักษณะอาญา

[มาตรา 49 แก้ไขโดยประมวลกฎหมายอาญาทหาร แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2469 โดยแก้คำว่า กากะบาทแดง เป็น กาชาด]

มาตรา 50 ผู้ใดเป็นทหาร ถ้ามันกระทำผิดในเวลาที่ท่านใช้ให้ เป็นยามรักษาการ หรืออยู่ยามประจำที่ หรือให้กระทำการอย่างใด ๆ ที่มี ศาสตราวุธของหลวงประจำตัวโดยความผิดที่ท่านบัญญัติไว้ในมาตราต่าง ๆ แห่งกฎหมายลักษณะอาญาดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

มาตรา 98 ถึงมาตรา 100 ความผิดในฐานประทุษร้ายต่อ พระบรมราชตระกูล มาตรา 102 ถึงมาตรา 104 ความผิดฐานกบฎภายในพระราช อาณาจักร

มาตรา 105 ถึงมาตรา 108 ความผิดฐานกบฎภายนอกพระราช อาณาจักร

มาตรา 112 ถึงมาตรา 115 ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับ ต่างประเทศ

มาตรา 116 ถึงมาตรา 128 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

มาตรา 151 ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาล

มาตรา 154 ความผิดฐานช่วยผู้อื่นให้พ้นอาชญาอันควรรับโทษตาม กฎหมาย

มาตรา 165 ถึงมาตรา 169 ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง

มาตรา 177 ถึงมาตรา 182 ความผิดฐานสมคบกันเป็นอั้งยี่และ เป็นซ่องโจรผู้ร้าย

มาตรา 183 และมาตรา 184 ความผิดฐานก่อการจลาจล

มาตรา 185 ถึงมาตรา 201 ความผิดฐานกระทำให้เกิด ภยันตรายแก่สาธารณชนฐานกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสะดวก ในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกัน และฐานกระทำให้สาธารณชน ปราศจากความสุขสบาย

มาตรา 253 ความผิดฐานเกี่ยวข้องในที่วิวาทต่อสู้กันซึ่งมีผู้ถึงแก่ ความตาย

มาตรา 254 ถึงมาตรา 259 ความผิดฐานประทุษร้ายแก่ร่างกาย

มาตรา 268 ถึงมาตรา 277 ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสีย อิสรภาพ

มาตรา 288 ถึงมาตรา 296 ความผิดฐานลักทรัพย์

มาตรา 297 ถึงมาตรา 302 ความผิดฐานวิ่งราว ฐานชิงทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ และฐานสลัด

มาตรา 303 ความผิดฐานกรรโชก

มาตรา 327 ถึงมาตรา 330 ความผิดฐานบุกรุก ท่านว่ามันผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่ท่านบัญญัติไว้สำหรับความ ผิดเช่นนั้น และให้เพิ่มโทษขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง

[มาตรา 50 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ.2476]

มาตรา 51 [ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ.2476]

มาตรา 52 เมื่อความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ใน มาตรา 20, 22, 27 (2 หรือ 3), 29 (2 หรือ 3), 30 (2 หรือ 3), 31 (2 หรือ 3), 32, 33, 36 (2 หรือ 3), 37, 38 (2 หรือ 3), 39, 41, 42 (2 หรือ 3), 43 (2 หรือ 3), 46 (2 3 หรือ 4), หรือ 47 แห่งประมวลกฎหมายอาญาทหารนี้ได้กระทำลงด้วยความประสงค์ ที่จะบ่อนให้สมรรถภาพของกรมกองทหารเสื่อมทรามลงไซร้ ท่านให้เพิ่มโทษ ผู้กระทำผิดดังต่อไปนี้ ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุก ตลอดชีวิตไซร้ ท่านให้เพิ่มขึ้นเป็นโทษอย่างสูงสุดถึงประหารชีวิต ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงจำคุกมี กำหนดยี่สิบปีไซร้ ท่านให้เพิ่มขึ้นเป็นโทษจำคุกไว้จนตลอดชีวิตเป็นอย่างสูงสุด ถ้าระวางโทษอย่างสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงจำคุกมี กำหนดเวลาอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ท่านให้เพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษ ที่ได้วางไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ

เมื่อความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ในวรรคต้นนี้ ได้กระทำ ไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่จะล้างล้มรัฐบาลก็ดี หรือจะให้เปลี่ยนประเพณี การเมือง หรือเศรษฐกิจแห่งพระราชอาณาจักรด้วยใช้กำลังบังคับหรือกระทำร้าย ก็ดี ท่านว่ามันผู้กระทำมีความผิดต้องระวางโทษถึงประหารชีวิตหรือจำคุกมันไว้จน ตลอดชีวิต

[มาตรา 52 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ.2470]

---------------------

ประมวลกฎหมายอาญาทหารแก้ไขเพิ่มเติม พระพุทธศักราช 2469

[รก.2469/-/501/3 ตุลาคม 2469]

---------------------

พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาทหาร พุทธศักราช 2470

[รก.2470/-/173/5 กันยายน 2470]

---------------------

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาทหาร พุทธศักราช 2473

[รก.2473/-/120/3 สิงหาคม 2473]

---------------------

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาทหาร พุทธศักราช 2476

[รก.2476/-/536/10 กันยายน 2476]

---------------------

พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาทหาร พุทธศักราช 2477

[รก.2478/-/321/5 พฤษภาคม 2478]

---------------------

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาทหาร พุทธศักราช 2476

[รก.2476/49/665/30 มีนาคม 2486]

---------------------

พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาทหาร พุทธศักราช 2486 พุทธศักราช 2486

[รก.2486/47/1335/14 กันยายน 2486]

---------------------

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาทหาร (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2487

[รก.2487/63/929/10 ตุลาคม 2487]

---------------------

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาทหาร (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2507

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้สอดคล้อง กับประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2505 และเพื่อให้ศาลทหารมีอำนาจลงโทษบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรได้

[รก.2507/111/678/24 พฤศจิกายน 2507]

« ย้อนกลับ |

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย